สงครามนางฟ้า
สงครามนางฟ้า เป็นละครโทรทัศน์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมทางอินเทอร์เน็ต ในชื่อ "ชีวิตรันทด เรื่องจริงผ่านคอม" ของ แอร์กี่ (นามปากกา) โดยเขียนขึ้นจากชีวิตจริงของตนเอง ซึ่งเคยเป็นแอร์โฮสเตส โดยสะท้อนให้เห็นเบื้องหลังของเหล่าบรรดาแอร์โฮสเตสและสจ๊วต ว่าเป็นอย่างไร
สงครามนางฟ้า | |
---|---|
![]() | |
สร้างโดย | เอ็กแซ็กท์-ซีเนริโอ |
เขียนโดย | "แอร์กี่" (เจ้าของบทเดิม) ฐา-นวดี สถิตยุทธการ (บทโทรทัศน์) |
กำกับโดย | นิพนธ์ ผิวเณร |
แสดงนำ | สหรัถ สังคปรีชา ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ |
ธีมเปิด | ผู้หญิงอ่อนแอ โดย นุกนิก เดอะ สตาร์ |
ธีมปิด | พรุ่งนี้ โดย มาลีวัลย์ เจมีน่า |
จำนวนตอน | 34 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | ถกลเกียรติ วีรวรรณ |
ความยาวตอน | 60 นาที/ตอน |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 5 |
ออกอากาศ | 8 มกราคม พ.ศ. 2551 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2551 |
ถกลเกียรติ วีรวรรณ ได้นำวรรณกรรมนี้มาสร้างเป็นละคร ผลิตโดย เอ็กแซ็กท์-ซีเนริโอ บทโทรทัศน์โดย ฐานวดี สถิตยุทธการ กำกับการแสดงโดย นิพนธ์ ผิวเณร โดยได้นักแสดงมากฝีมือ อาทิ สหรัถ สังคปรีชา, น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์, ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์, วราพรรณ หงุ่ยตระกูล, อภิษฎา เครือคงคา, ปานวาด เหมมณี, กวินรัฏฐ์ ยศอมรสุนทร, อภิชาติ หาลำเจียก, ภัสสร บุณยเกียรติ, มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ ออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี ทางTV5 HD1 ในเวลาหลังข่าวภาคค่ำ ออกอากาศวันแรก 8 มกราคม พ.ศ. 2551 ตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551 (นำมาออกอากาศอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เวลาก่อนเที่ยง)
รายชื่อนักแสดง แก้ไข
ปี | พ.ศ. 2551 |
---|---|
สถานีออกอากาศ | ช่อง 5 |
ผู้จัดละคร | เอ็กแซ็กท์-ซีเนริโอ |
บทประพันธ์ | แอร์กี่ |
บทโทรทัศน์ | ฐา-นวดี สถิตยุทธการ ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ |
ผู้กำกับการแสดง | นิพนธ์ ผิวเณร วิศเวศ บูรณวิทยวุฒิ |
นักแสดง | รับบท |
สหรัถ สังคปรีชา | อิน |
ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ | หนิง |
น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ | ริน |
กวินรัฏฐ์ ยศอมรสุนทร | หนุ่ย |
ปานวาด เหมมณี | เชอรี่ |
อภิษฎา เครือคงคา | หน่อย |
มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ | จิ๋ม |
ธิตินันท์ สุวรรณศักดิ์ | หมอมาร์ค |
ภัทรา มั่นวิริยะกุล | กิ๊บ |
วราพรรณ หงุ่ยตระกูล | จี๊ด |
ภัสสร บุณยเกียรติ | แน่งน้อย (แม่ของหนิง,หน่อย) |
อภิชาติ หาลำเจียก | พ่อหนุ่ย |
รสริน จันทรา | แม่ของริน |
วรนันท์ จันทรัศมี | แนน |
ปริยา วงษ์ระเบียบ | แอร์โฮสเตส |
กัญญารัตน์ พิมพ์สวัสดิ์ | แอร์โฮสเตส |
ด.ญ.สุพิชชา มงคลจิตตานนท์ | น้องหนอน |
จริญญา หาญณรงค์ | หัวหน้า |
ด.ญ. นัดตะวัน ศักดิ์ศิริ | ริน (วัยเด็ก) |
ปฏิกิริยาภายหลังออกอากาศ แก้ไข
หลังจากละครออกอากาศได้ไม่นาน ก็เกิดปฏิกิริยาตอบกลับจากสังคมหลายภาคส่วน โดยเริ่มจากการสหภาพการบินไทยในส่วนของแอร์โฮสเตสและสจ๊วต ออกมาเปิดเผยว่า ละครเรื่องนี้สร้างขึ้นมาด้วยความไม่จริง ทำให้ภาพลักษณ์ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องเสียหาย เพราะเนื้อเรื่องมีแต่เรื่องชิงรักหักสวาทอย่างผิดศีลธรรมและเครื่องแบบของแอร์โฮสเตสก็นุ่งสั้นเกินไป ขอให้ทางผู้สร้างคือ เอ็กแซ็กท์ เปลี่ยนแปลงบทและเครื่องแต่งกายด้วย
ในส่วนของผู้ที่ใช้ชื่อว่า "แอร์กี่" ที่เป็นเจ้าของเนื้อเรื่องเดิมทางอินเทอร์เน็ต ก็มีการเปิดเผยจากหลายบุคคลที่เชื่อว่าตนเป็นตัวละครในเรื่อง เช่น เชอรี่ หรือ กิ๊บ ต่างก็ออกมาเปิดเผยว่าเรื่องจริงนั้นไม่เหมือนกับในละครหรือบทประพันธ์ดั้งเดิม ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ออกมาแฉกันว่าใครเป็นใคร กลายเป็นที่สนใจของสังคมทั้งในโลกไซเบอร์และสังคมจริง ๆ อยู่พักหนึ่ง
ความนิยมในจีน แก้ไข
ในปลายปี พ.ศ. 2553 ถึงต้นปี พ.ศ. 2554 ละครโทรทัศน์เรื่องนี้ได้ถูกแพร่ภาพออกอากาศที่ประเทศจีน และได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งพร้อมกับละครโทรทัศน์เรื่องอื่น ๆ ส่งผลให้นักแสดง อย่าง ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ ที่รับบท หนิง ได้กลายเป็นนักแสดงยอดนิยมของที่นั่นอีกด้วย[1]
รางวัล แก้ไข
- สยามดารา สตาร์ปาร์ตี้ 2008
- ได้รับรางวัลละครฮือฮาแห่งปี
- สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2008 ครั้งที่ 7
- 1 ใน 5 รางวัลผู้กำกับละครยอดเยี่ยม
รางวัลผู้แสดง แก้ไข
- สยามดารา สตาร์ปาร์ตี้ 2008
- 1 ใน 5 รางวัลร้ายได้ใจ (ปานวาด เหมมณี)
- ท็อปอวอร์ด 2008
- 1 ใน 5 รางวัลดาราสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ปานวาด เหมมณี)
- คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 6
- 1 ใน 5 รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์)
- ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (นิธิชัย ยศอมรสุนทร)
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 23
- 1 ใน 5 รางวัลนักแสดงนำชายดีเด่น (ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์)
เพลงประกอบละคร แก้ไข
- เพลง ผู้หญิงอ่อนแอ (เพลงเปิด) ร้องโดย นุกนิก ฐิตินันท์ สุขสม
- เพลง พรุ่งนี้ (เพลงปิด) ร้องโดย มาลีวัลย์ เจมีน่า