ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ หรือ เอกซเพรสชันนิซึม[1] (อังกฤษ: expressionism) คือขบวนการทางวัฒนธรรมที่เริ่มขึ้นในเยอรมนีเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่เป็นปฏิกิริยาต่อปฏิฐานนิยม (positivism) และขบวนการศิลปะอื่น ๆ เช่น ธรรมชาตินิยม (naturalism) และลัทธิประทับใจ (impressionism)[2] วัตถุประสงค์ของขบวนการนี้ก็เพื่อการแสวงหาความหมายของ "ความรู้สึกมีชีวิตชีวา" (being alive)[3] และประสบการณ์ทางอารมณ์แทนความเป็นจริงทางวัตถุ[3][4] แนวโน้มของศิลปินกลุ่มนี้จะบิดเบือนความเป็นจริงเพื่อที่จะแสดงผลที่มีต่ออารมณ์ และเป็นศิลปะอัตวิสัย (subjective art form) ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ปรากฏในงานศิลปะหลายรูปหลายแบบซึ่งได้แก่ จิตรกรรม วรรณกรรม การละคร ภาพยนตร์ สถาปัตยกรรม และการดนตรี และมักจะเป็นคำที่มีนัยยะถึงอารมณ์รุนแรงภายใน (angst) โดยทั่วไปแล้วจิตรกรเช่น มัททีอัส กรือเนวัลด์ และเอลเกรโก ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจิตรกรแนวสำแดงพลังอารมณ์ แม้ว่าจะเป็นคำที่มักจะใช้กับงานศิลปะของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ตาม

หอไอน์สไตน์ ชิ้นงานสถาปัตยกรรมแนวสำแดงพลังอารมณ์ที่พ็อทซ์ดัมในเยอรมนี

อ้างอิง แก้

  1. ""ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-22.
  2. Garzanti, Aldo (1974) [1972]. Enciclopedia Garzanti della letteratura (ภาษาอิตาลี). Milan: Guido Villa. p. 963. page 241
  3. 3.0 3.1 Victorino Tejera, 1966, pages 85,140, Art and Human Intelligence, Vision Press Limited, London
  4. The Oxford Illustratd Dictionary, 1976 edition, page 294

ดูเพิ่ม แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมแนวสำแดงพลังอารมณ์