ฟรีดริช นีทเชอ
ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม นีทเชอ (เยอรมัน: Friedrich Wilhelm Nietzsche) เป็นนักปรัชญา, นักวิจารณ์วัฒนธรรม, คีตกวี, นักกวี, ปราชญ์ภาษากรีกและละติน และนักนิรุกติศาสตร์ชาวเยอรมัน ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อปรัชญาตะวันตกและองค์ปัญญายุคใหม่อย่างล้นหลาม เขาเริ่มทำงานเป็นนักนิรุกติศาสตร์คลาสสิกก่อนจะผันตัวมาเป็นนักปรัชญา นีทเชอเป็นอาจารย์นิรุกติศาสตร์ที่อายุน้อยที่สุดของมหาวิทยาลัยบาเซิลในปีค.ศ. 1869 ด้วยวัยเพียง 24 ปี[1] เขาลาออกในปีค.ศ. 1879 ด้วยปัญหาสุขภาพเรื้อรัง[2] ต่อมาในปีค.ศ. 1889 นีทเซอในวัย 44 ทุกข์ทรมานจากอาการป่วยจนสภาพจิตใจย่ำแย่ ตั้งแต่นั้นมาเขาก็ใช้ชีวิตภายใต้การดูแลของมารดาและพี่สาวจนเขาเสียชีวิตในปีค.ศ. 1900[3]
ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม นีทเชอ Friedrich Wilhelm Nietzsche | |
---|---|
เกิด | ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม นีทเชอ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1844 ราชอาณาจักรปรัสเซีย |
เสียชีวิต | 25 สิงหาคม ค.ศ. 1900 ไวมาร์,ซัคเซิน จักรวรรดิเยอรมัน | (55 ปี)
อาชีพ | นักปรัชญา, นักเขียน |
สัญชาติ | เยอรมัน |
แนว | นวนิยาย, เรื่องสั้น, บทความ |
หัวข้อ | ปรัชญา, ศาสนา |
แนวร่วมในทางวรรณคดี | อัตถิภาวนิยม |
ผลงานที่สำคัญ | คือพจนาซาราทุสตรา |
ลายมือชื่อ |
เขาเกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1844 ในหมู่บ้านเริคเคิน (Röcken) ใกล้กับเมืองไลพ์ซิช ในมณฑลซัคเซิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย เป็นบุตรคนโตของคาร์ล ลูทวิช นีทเซอ (Carl Ludwig Nietzsche) บาทหลวงนิกายลูเทอแรน กับนางฟรันซิสคา เออเลอร์ (Franziska Oehler) บิดามารดาตั้งชื่อเขาตามพระนามของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 แห่งปรัสเซีย ซึ่งมีวันคล้ายวันประสูติตรงกับวันที่เด็กชายนีทเชอเกิด[4] เขายังมีน้องอีกสองคนชื่อเอลีซาเบ็ท (Elisabeth) และลูทวิช โยเซฟ (Ludwig Joseph) บิดาของเขาเสียชีวิตในปี 1849 ส่วนน้องชายคนเล็กเสียชีวิตในอีกหกเดือนให้หลังบิดา[5] สมาชิกที่เหลืออยู่จึงย้ายไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายแม่ที่เมืองนามบวร์ค (Naumburg)
ผลงานของนีทเซอครอบคลุมอยู่ในหลายศาสตร์วิชา ทั้งศิลปศาสตร์, ปรัชญา, ประวัติศาสตร์, ศาสนา, โศกนาฏกรรม, วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ งานเขียนของเขามีทั้งบทโจมตีเชิงปรัชญา, บทกวี และบทวิจารณ์วัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็แฝงไปด้วยคำคมและคำเสียดสี บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจของนีทเชอในช่วงแรกคือเหล่านักปรัชญาแถวหน้าทั้งหลายของยุคนั้น เช่นอาร์ทัวร์ โชเพินเฮาเออร์, ริชชาร์ท วากเนอร์ และโยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ เป็นต้น[6] งานด้านปรัชญาชิ้นเด่นของนีทเชอมีทั้งบทวิจารณ์สุดโต่งของความเที่ยงแท้ในแบบมุมมองนิยม (Perspectivism), บทวิจารณ์เชิงวงศ์ตระกูลของศาสนาและศีลธรรมชาวคริสต์ (Christian morality) ตลอดจนทฤษฎีศีลธรรมของนาย–บ่าว (Master–slave morality)[7] นีทเชอยังเป็นเจ้าของวลีสุดคมคายที่ว่า "พระเจ้าตายแล้ว" ("Gott ist tot") เขามองว่าสังคมยุคใหม่ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนโดยหลักธรรมคำสอนอีกแล้ว แต่เป็นวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม แม้แต่ศีลธรรมก็เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ผลงาน
แก้- The Birth of Tragedy (1872)
- On Truth and Lies in a Nonmoral Sense (1873)
- Untimely Meditations (1876)
- Human, All Too Human (1878; เพิ่มเติม 1879, 1880)
- Daybreak (1881)
- The Gay Science (1882)
- คือพจนาซาราทุสตรา Thus Spoke Zarathustra (1883–1885)
- Beyond Good and Evil (1886)
- On the Genealogy of Morality (1887)
- The Case of Wagner (1888)
- Twilight of the Idols (1888)
- The Antichrist (1888)
- Ecce Homo (1888)
- Nietzsche contra Wagner (1888)
- The Will to Power (ต้นฉบับยังไม่ได้ตีพิมพ์)
อ้างอิง
แก้- ↑ Anderson, R. Lanier (17 March 2017). "Friedrich Nietzsche". Stanford Encyclopedia of Philosophy. Metaphysics Research Lab, Stanford University.
- ↑ Brobjer, Thomas. Nietzsche's philosophical context: an intellectual biography, p. 42. University of Illinois Press, 2008.
- ↑ Robert Matthews (4 May 2003), "'Madness' of Nietzsche was cancer not syphilis", The Daily Telegraph.
- ↑ Kaufmann 1974, p. 22.
- ↑ Wicks, Robert (2014). Zalta, Edward N. (บ.ก.). Friedrich Nietzsche (Winter 2014 ed.).
- ↑ Dale Wilkerson. "Friedrich Nietzsche". Internet Encyclopedia of Philosophy. ISSN 2161-0002. Retrieved 9 April 2018.
- ↑ "Friedrich Nietzsche," by Dale Wilkerson, The Internet Encyclopedia of Philosophy, ISSN 2161-0002, http://www.iep.utm.edu/nietzch/[ลิงก์เสีย]. 14 October 2015.