ศกรณ์ มงคลสุข
ศาสตราจารย์ ศกรณ์ มงคลสุข เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ มีผลงานวิจัยด้านการตรวจหาพยาธิใบไม้ตับ และการศึกษาพันธุกรรมของบักเตรีที่ก่อให้เกิดโรคในพืช ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2541
ศกรณ์ มงคลสุข | |
---|---|
เกิด | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 กรุงเทพมหานคร |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์ ศกรณ์ มงคลสุข เกิดวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 4 คน ของ ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข และ นางยุพิน มงคลสุข ศาสตราจารย์ ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางสาว จรัสพร (รังษีวงศ์) มีบุตรชาย 1 คน คือ นาย ยศกร มงคลสุข
การศึกษา
แก้- สำเร็จการศึกษาชั้นประถม และมัธยมศึกษา จากโรงเรียน Birkenhead ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2520-2523 - ปริญญาตรี เกียรตินิยม อันดับสอง สาขาเภสัชวิทยา King's College มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2524 - ปริญญาโท สาขาชีวเคมี King's College มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2528 - ปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2528-2530 - ทำงานวิจัยในระดับการศึกษาหลังปริญญาเอก ณ Laboratory of Biochemistry, National Cancer Institute, National Institute of Health ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
แก้ตำแหน่งวิชาการ
- พ.ศ. 2530 - เริ่มเข้ารับราชการ เป็นอาจารย์ประจำ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2534 - ได้รับการแต่งตั้ง เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2534 - ได้รับการแต่งตั้ง เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
ตำแหน่งบริหาร
- พ.ศ. 2550 - รองคณบดีฝ่ายสหสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2550 - คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2550)
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่าง ๆ
- พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน - คณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ
- พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน - กรรมการของ The International Center for Environmental and Industrial Toxicology (ICEIT) สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
เกียรติคุณและรางวัล
แก้- พ.ศ. 2524 - รางวัล Sigma Prize สำหรับ Best Overall Performance in Biochemistry, Chelsea College, University of London, ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2528 - Fogarty Postdoctoral Fellowship จาก National Institute of Health ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2534 - รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2540 - รางวัลทุนพัฒนาวิชาชีพนักวิจัย จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- พ.ศ. 2540 - รางวัล Taguchi Prize ประเภทนักวิจัยดีเด่น จากสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2541 - รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2545 - เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
ผลงานวิจัย
แก้ศาสตราจารย์ ดร.ศกรณ์ มงคลสุขได้ศึกษาและพัฒนาวิธีตรวจหาพยาธิ Opisthorchis viverrini ซึ่งเป็นปรสิตที่ก่อให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับ โดยใช้ DNA probe โดยได้ทำการศึกษา Highly Repeated DNA Sequence และ Ribosomal RNA Gene ซึ่งมีจำนวนชุดสูงใน Genome ของ O. viverrini เป็นเป้าหมายที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็น DNA probe ซึ่งคาดว่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการตรวจหาพยาธิใบไม้ตับ และเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ
งานวิจัยต่อมา ได้มุ่งความสนใจศึกษากลไกการก่อโรคในพืชโดยแบคทีเรีย Xanthomonas โดยอาศัยหลักการที่ว่า ความเข้าใจกลไกขั้นพื้นฐานของการก่อให้เกิดโรคโดยแบคทีเรียนี้ เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการป้องกันการระบาดของโรคในพืชได้ Xanthomonas เป็นแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดโรคในพืชเศรษฐกิจ ของประเทศไทยหลายชนิด เช่น ข้าว ถั่ว ส้ม ปฏิกิริยาแรกอย่างหนึ่งที่พืชตอบสนองต่อการรุกรานของเชื้อโรคคือ การสร้าง Reactive Oxygen Species (ROS) เช่น Hydrogen Peroxide, Organic Peroxide และ Superoxide งานวิจัยได้เน้นการศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับกลไกซึ่ง Xanthomanas ใช้ป้องกันตัวเองจาก ROS ศาสตราจารย์ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข ได้ประสบความสำเร็จในการค้นพบว่า เมื่อ Xanthomanas ถูกกระตุ้นด้วยสารที่ทำให้เกิด Oxidative Stress ในปริมาณต่ำ เชื้อนี้จะสร้างเอนไซม์ต่าง ๆ ในระดับสูง เพื่อทำลาย ROS นอกจากนั้น เพื่ออธิบายกลไกที่เกิดขึ้นเหล่านี้ในระดับโมเลกุล สามารถแยกยีนที่สร้างเอนไซม์ซึ่งมีหน้าที่ทำลาย ROS คือ Catalase และ Alkyl Hydroperoxide Reductase เอนไซม์ทั้งสองมีบทบาทสำคัญยิ่ง ด้วยเหตุนี้การเข้าใจถึงวิธีควบคุมการทำงานของยีนทั้งสอง จึงเป็นความรู้พื้นฐานในการอธิบายระบบการป้องกันตัวเองของ Xanthomanas จาก Oxidative Stress และได้แยกยีน oxyR ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระบบการป้องกัน Oxidative Stress และได้ศึกษาถึงโครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีน oxyR ด้วย
นอกจากนี้ ยังได้ค้นพบยีนซึ่งทำให้แบคทีเรียสามารถต้านทานต่อสาร Organic Peroxide การศึกษาโครงสร้างของยีนในระดับเบสและกรดอะมิโน พบว่าเป็นโปรตีนชนิดใหม่ซึ่งยังไม่มีรายงานมาก่อนในสิ่งมีชีวิตใด ๆ ซึ่งผลงานวิจัยนี้จะสามารถนำไปประยุกต์เพื่อพัฒนาวิธีการป้องกันการระบาดของโรคพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ต่อไป
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2561 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาวิทยาศาสตร์[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๖๑, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๕, ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
- รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2541 : รองศาสตราจารย์ ดร. อภิชาต สุขสำราญ,
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข. [กรุงเทพฯ] : มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2541.