วุฒิสภาเบลเยียม
วุฒิสภา (ฝรั่งเศส: Sénat; ดัตช์: ; เยอรมัน: Senat) เป็นหนึ่งในสองสภาในรัฐสภากลางเบลเยียมโดยจัดเป็นสภาสูง[1] ส่วนอีกสภาหนึ่งได้แก่สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง)
วุฒิสภา | |
---|---|
ประเภท | |
ประเภท | เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภากลางเบลเยียม |
ผู้บริหาร | |
ประธานวุฒิสภา | สเตฟานี โดซ, โอเปิน เฟเอลเด ตั้งแต่ 13 ตุลาคม 2020 |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 60 ที่นั่ง |
กลุ่มการเมือง | ฝ่ายรัฐบาล (37)
ฝ่ายค้าน (23)
|
การเลือกตั้ง | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 |
ที่ประชุม | |
ปาแลเดอลานาซียง กรุงบรัสเซลส์ | |
เว็บไซต์ | |
www |
วุฒิสภาได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1831 ในครั้งแรกนั้นมีจำนวนสมาชิกเท่ากันกับสภาผู้แทนราษฎร โดยได้ผ่านการปฏิรูปสำคัญใน ค.ศ. 1993 และ ค.ศ. 2014 ซึ่งในครั้งล่าสุดนั้นเป็นวุฒิสภาสมัยแรกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งทางตรง โดยประกอบด้วยสมาชิกจากสรรหาจากรัฐบาลแคว้นและประชาคมของเบลเยียมจำนวน 50 ที่นั่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาส่วนแรกอีกจำนวน 10 ที่นั่ง วุฒิสภานั้นถือเป็นสภาอันเป็นตัวแทนของประชาคมและจังหวัดต่าง ๆ ในเบลเยียมซึ่งใช้เป็นกลไกหลักในการอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาและประเด็นต่าง ๆ ระหว่างประชาคมกับรัฐบาลกลาง ในปัจจุบันวุฒิสภามีบทบาทด้านนิติบัญญัติน้อยลงในรัฐสภากลาง แต่ก็ยังเป็นโครงสร้างสำคัญในรัฐธรรมนูญควบคู่กับสภาผู้แทนราษฎรในการตรากฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐบาลกลาง โดยตั้งแต่ ค.ศ. 2014 เป็นต้นมา มีการประชุมสภาประมาณ 10 ครั้งต่อปี
องค์ประกอบ
แก้ภาพรวม
แก้1831–1892 | 1894-1898 | 1900–1919 | 1921–1991 | 1995–2010 | ตั้งแต่ 2014 | |
---|---|---|---|---|---|---|
|
51 (1831) – 101 (1946) – 106 (1949 ถึง 1991) (จำนวนกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดจากจำนวนประชากร โดยใช้จนถึงปี 1949) |
40 (25 ด + 15 ฝ) | — | |||
|
38 เขต (สองรอบ) |
21 เขต (สัดส่วนตามประชากร) |
มีคณะผู้เลือกตั้งดัตช์ 1 คณะ + ฝรั่งเศส 1 คณะ (ตามสัดส่วนประชากร) | |||
|
— | 26 (1894) – 27 (1919) (ตามจำนวนประชากรของจังหวัดนั้น ๆ) |
40 (1921) – 52 (1991) (ตามจำนวนประชากรของจังหวัดนั้น ๆ) |
— | ||
|
— | 20 (1921) – 26 (1991) (กึ่งหนึ่งของจำนวนวุฒิสภาที่สรรหาโดยสภาประชาคม) |
10 (6 ด + 4 ฝ) | |||
|
— | 21 (10 ด + 10 ฝ + 1 ย) | 50 (29 ด + 20 ฝ + 1 ย) | |||
จำนวนทั้งหมด (คน) * ไม่รวมสมาชิกวุฒิสภาโดยสิทธิ (ถ้ามี) |
51–76 * | 102–120 * | 153–184 * | 71 * | 60 |
โครงสร้างในปัจจุบัน
แก้ตั้งแต่การปฏิรูปครั้งล่าสุดใน ค.ศ. 2014 สมาชิกวุฒิสภาเบลเยียมประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 60 คน โดย 50 คนมาจากการสรรหาโดยสภาประชาคม/สภาแคว้น และอีก 10 คน มาจากการสรรหาของสมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากประชาคม/แคว้น
แก้ตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 เป็นต้นมา สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 50 คน มาจากการแต่งตั้งของสภาประชาคม/สภาแคว้นของเบลเยียม
- 29 คน จากการแต่งตั้งของสภาเฟลมิชหรือจากกลุ่มผู้ใช้ภาษาดัตช์ในสภาแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์
- 10 คน จากการแต่งตั้งของสภาประชาคมฝรั่งเศส (ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดของสภาวอลลูนและสมาชิกหลายคนในกลุ่มผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในสภาแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์
- 8 คน จากการแต่งตั้งของสภาวอลลูน
- 2 คน จากการแต่งตั้งของกลุ่มผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในสภาแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์
- 1 คน จากการแต่งตั้งของสภาประชาคมผู้พูดภาษาเยอรมัน
สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากเลือกตั้งโดยสมาชิกวุฒิสภา
แก้สมาชิกวุฒิสภาอีก 10 ที่นั่งมาจากการสรรหาโดยสมาชิกวุฒิสภาด้วยกันเอง ประกอบด้วย 6 ที่นั่งจากกลุ่มภาษาดัตช์ และ 4 ที่นั่งจากกลุ่มภาษาฝรั่งเศส โดยแบ่งตามสัดส่วนที่นั่งตามสังกัดพรรคในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด
สมาชิกวุฒิสภาประเภทนี้ได้เริ่มใช้ครั้งแรกใน ค.ศ. 1921 โดยระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้เหล่าสมาชิกวุฒิสภาสามารถสรรหาผู้เชี่ยวชาญหรือตัวแทนองค์กรสำคัญมาเป็นสมาชิก วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพในการอภิปรายและนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตาม กลุ่มการเมืองหลักได้ใช้ประโยชน์ในการแต่งตั้งสมาชิกคนสำคัญของพรรคที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในวุฒิสภาแทน
บทบาทหน้าที่
แก้วุฒิสภามีบทบาทหน้าที่ดังนี้
- ด้านนิติบัญญัติ วุฒิสภาร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญในการกลั่นกรองและตรากฎหมายในการปกครองประเทศ โดยการผ่านกฎหมายนั้นใช้เกณฑ์ต่างกันในแต่ละประเภท เช่น เสียงข้างมากแบบพิเศษ ซึ่งจะต้องใช้เสียงจำนวนสองในสามของวุฒิสภา และจะต้องได้เสียงส่วนใหญ่ในแต่ละกลุ่มภาษา
- ด้านรายงาน วุฒิสภาสามารถเรียกดูรายงานสำคัญโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปกครองหรือกฎหมายในระดับประชาคมและแคว้น
- ด้านผลประโยชน์ทับซ้อน โดยมีหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลด้านผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างสภาประชาคมกับแคว้นในระบบการปกครอง
- ด้านองค์กรระหว่างประเทศ โดยวุฒิสภามีหน้าที่ส่งตัวแทนเข้าประชุมในองค์กรระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ
- ด้านการแต่งตั้งตุลาการ โดยวุฒิสภามีหน้าที่ในการแต่งตั้งตุลาการในระดับศาลสูง (ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุด)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Introduction in Belgian Parliamentary History". The Belgian Senate. สืบค้นเมื่อ 2007-06-21.