วีรบุรุษนองเลือด

วีรบุรุษนองเลือด (อังกฤษ: Heroic bloodshed) เป็นประเภทของภาพยนตร์แอกชันโดยเฉพาะภาพยนตร์ฮ่องกง ที่มีลักษณะเฉพาะคือ ฉากแอกชันที่น่าจดจำและน่าทึ่ง หรือฉากที่ให้ความรู้สึกซาบซึ้ง เช่น มิตรภาพระหว่างเพื่อน หรือความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง, การหักเหลี่ยมเฉือนมุม, ภารกิจหน้าที่, เกียรติยศ, การไถ่ตัว หรือความรุนแรง[1][2] โดยคำ ๆ นี้ได้ถูกนิยามขึ้นโดย ริก เบเกอร์ บรรณาธิการนิตยสารอีสเทิร์นฮีโรส์ ในปลายยุคทศวรรษที่ 1980 [3] โดยเฉพาะอย่างในแนวของภาพยนตร์ของผู้กำกับฯ เช่น จอห์น วู, ริงโก แลม หรือจอห์นนี โท โดยให้คำนิยามไว้ว่า "ภาพยนตร์แอกชันฮ่องกงที่มีฉากดวลปืนหรือแกงค์นอกกฎหมายมากกว่ากังฟู" ในยุคทศวรรษที่ 1980 จอห์น วู ได้วางแนวทางให้กับภาพยนตร์ประเภทนี้ ด้วยการที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก กับ A Better Tomorrow (1986) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของภาพยนตร์ประเภทนี้ และมีภาคต่อมาอีกถึง 2 ภาค คือ A Better Tomorrow II (1987), A Better Tomorrow III (1989) และรวมไปถึงภาพยนตร์เรื่องอื่น เช่น Bullet in the Head (1990) เป็นต้น [4] [5] [6]

วีรบุรุษนองเลือดยังคงได้รับความนิยมและสร้างต่อเนื่องมาจนถึงยุคทศวรรษที่ 1990 และครอบคลุมไปจนถึงภาพยนตร์ดรามา หรือซีรีส์ เช่น The Bund (1980), A Moment of Romance (1990) ซึ่งก็ประสบความสำเร็จและมีการสร้างภาคต่ออีกหลายภาคด้วยกัน, Young and Dangerous และ Shanghai Grand ในปี 1996 ทั้งคู่, A Hero Never Dies (1998) และยังส่งอิทธิพลต่อไปยังภาพยนตร์ต่างประเทศรวมถึงภาพยนตร์ฮอลลีวูดด้วย เช่น Reservoir Dogs (1992) ผลงานสร้างชื่อของเควนติน แทแรนติโน, Léon: The Professional (1994) ภาพยนตร์สัญชาติฝรั่งเศสของลุก แบซง, Face/Off (1997), The Replacement Killers (1998) เป็นต้น หรือแม้แต่ในช่วงนี้ภาพยนตร์ไทยก็ยังได้รับอิทธิพลมาด้วย คือ 2499 อันธพาลครองเมือง (1997) ของนนทรีย์ นิมิตรบุตร ซึ่งได้ใช้แนวทางของจอห์น วู[7] และหลังจากปี 2000 ไปแล้ว ภาพยนตร์ในแนววีรบุรุษนองเลือดก็ยังคงมีการสร้างต่อเนื่องมา เช่น Double Tap (2000) และที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก คือ Infernal Affairs (2002) จนมีการสร้างภาคต่อมาอีก 2 ภาค คือ Infernal Affairs II และInfernal Affairs III ในปี 2003 ทั้งคู่[8][9][8]

วีรบุรุษนองเลือดมักจะจบลงด้วยความตกต่ำหรือโศกนาฏกรรมของตัวละครเอกในเรื่องทั้งที่ต้องตายหรือถูกจับโดยตำรวจหรือต้องกลายมาเป็นผู้พิการไร้ความสามารถอย่างที่สุด

ตัวอย่างของภาพยนตร์/ ซีรีส์ในแนวนี้

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Fitzgerald, Martin (2000). Hong Kong's Heroic Bloodshed. Pocket Essentials. ISBN 1-903047-07-2.
  2. Davies, Steven Paul (2001). A-Z of Cult Films and Film-Makers. Batsford. p. 26. ISBN 0-7134-8704-6.
  3. Logan, Bey (1996). Hong Kong Action Cinema. Overlook Press. p. 191. ISBN 0-87951-663-1.
  4. Stokes, Lisa Odham; Michael Hoover (1999). City on Fire: Hong Kong Cinema. Verso. p. 333. ISBN 1-85984-716-1.
  5. Morton, Lisa (2001). The Cinema of Tsui Hark. McFarland. ISBN 0-7864-0990-8.
  6. Morton, Lisa (2001). The Cinema of Tsui Hark. McFarland. p. 62. ISBN 0-7864-0990-8.
  7. เกษตรศิริ, ชาญวิทย์ (2555). กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554. กรุงเทพมหานคร: โพสต์บุ๊คส์. ISBN 9789742280703.
  8. 8.0 8.1 Volodzko, David (13 June 2015). "30 Years Later, This Chinese Film Still Echoes in Hollywood". The Diplomat.
  9. Fang, Karen (2004). John Woo's A Better Tomorrow: Autobiographical Stories by Modern Chinese Women Writers (ภาษาอังกฤษ). Hong Kong University Press. p. 85. ISBN 9789622096523.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้