วิเวก ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความสงัด ความปลีกออก เป็นความสงัดกาย สงัดใจ และสงบ อุปธิ (กิเลสอย่างหยาบที่ทำให้สร้างกรรมทางกาย วาจา) ทั้งปวง

วิเวก 3 แก้ไข

  • กายวิเวก ความสงัดกาย ได้แก่การอยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี การอยู่ในสถานที่ไม่วุ่นวายก็ดี
  • จิตตวิเวก ความสงัดใจ ได้แก่การทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ หมายเอาจิตแห่งผู้มีสมาธิและสติ
  • อุปธิวิเวก ความสงัดจากกิเลสอันเป็นเหตุสร้างกรรม ได้แก่ธรรมอันเป็นที่สงบระงับอุปธิทั้งปวง (หมายเอาผู้ฝึกฝนทางปัญญา จนเอาชนะกิเลส อนุสัยและสังโยชน์อันเป็นเหตุสร้างกรรมทางกาย วาจา(อุปธิ)

กายวิเวกนั้น บางทีพระพุทธเจ้าอาจไม่ได้สรรเสริญการอยู่ในป่าห่างไกลเพียงผู้เดียว เนื่องจาก ทรงห้ามพระอุบาลีเมื่อครั้งทูลขอเข้าไปในป่าเพียงผู้เดียว ทรงให้เหตุผลว่า การอยู่ป่าเพียงผู้เดียว มีโทษ2ประการ คือ 1.กลัวจนฟุ้งซ่าน 2.ไม่ประพฤติสำรวมเพราะไม่มีใครเห็น เนื่องจากพระองค์ทรงตั้งชุมชนสงฆ์ขึ้นมา เพื่อให้ช่วยเหลือกันเป็นกัลยาณมิตรกันในการบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีกัลยามิตรเลยมีแต่ปาปมิตร ทรงสรรเสริญการไปผู้เดียวดุจนอแรดประเสริฐกว่า ซึ่งในเรื่องนี้มีการสันนิษฐานว่า อาจเพราะทรงทราบว่าพระอุบาลีจะเป็นเอกทัคคะผู้ทรงพระวินัย จึงทรงห้ามเพื่อให้พระอุบาลีอยู่ท่ามกลางกลุ่มสงฆ์เพื่อให้เข้าใจหลักวินัย

อุปธิวิเวกหมายถึงสังขารุเปกขาญาณ อันมีความหมายว่า การวางเฉยในการปรุงแต่งทั้งหลาย อธิบายว่า สิ่งทั้งหลายมีปกติวุ่นวาย เช่น สัตว์ทั้งหลายก็ต่างเข่นฆ่ากินกันเป็นอาหารจากสัตว์ที่มีกำลังมากกว่า เเต่เพราะมนุษย์ใช้ศีลธรรมบ้าง ใช้ระบบการปกครองบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย จึงทำให้สังคมเหมือนเป็นปกติ แต่เมื่อเกิดความวุ่นวายโกลาหลขึ้น ก็เรื่องปกติ เพราะธรรมดาสภาวะดั้งเดิมของสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายนั้นวุ่นวายโกลาหล และการสงบใจท่ามกลางความวุ่นวายได้ คืออุปธิวิเวก เช่น นิทานธรรมบท ที่กล่าวถึงพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งอยู่ในป่า เจริญจิตภาวนาจนจิตใจสงบจนคิดว่าบรรลุธรรมแล้ว จึงออกจากป่าเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่เมื่อเข้าเมืองมาเจอความวุ่นวาย จิตใจมีกลับแต่ความวุ่นวายและเต็มไปด้วยอารมณ์ต่างๆ จึงทราบว่าตนเองยังไม่บรรลุธรรม เพราะยังมีอาสวะกิเลสคืออนุสัยกิเลส เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมี วิเวก 5 มีความหมายอย่างเดียวกับ นิโรธ 5

อ้างอิง แก้ไข