วิมานหนาม (อังกฤษ: The Paradise of Thorn) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวดราม่า ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2567 สร้างโดย จอกว้างฟิล์ม ร่วมกับใจ สตูดิโอ ในเครือเอสเอฟ ซีเนม่า จัดจำหน่ายโดย จีดีเอช กำกับภาพยนตร์โดย นฤเบศ กูโน อำนวยการสร้างโดย วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ และจิระ มะลิกุล นำแสดงโดย วรกมล ชาเตอร์ และ อิงฟ้า วราหะ ร่วมด้วย พงศกร เมตตาริกานนท์ สีดา พัวพิมล และหฤษฎ์ บัวย้อย โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากความไม่เท่าเทียมในสังคมไทย และประเด็นเรื่องการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกันที่พึ่งได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาไทยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567

วิมานหนาม
กำกับนฤเบศ กูโน
อำนวยการสร้างวรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์
จิระ มะลิกุล
นักแสดงนำวรกมล ชาเตอร์
อิงฟ้า วราหะ
พงศกร เมตตาริกานนท์
สีดา พัวพิมล
หฤษฎ์ บัวย้อย
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายจีดีเอช
วันฉาย22 สิงหาคม 2567 (2567-08-22)
ประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย

เรื่องย่อ

แก้

เรื่องราวของ ทองคำ (วรกมล ชาเตอร์) กับ เสกสรร (พงศกร เมตตาริกานนท์) คู่รักเกย์ที่ต่างอุทิศตนเพื่อทำงานอย่างขยันขันแข็งจนมีบ้าน ที่ดิน และไร่ทุเรียนขนาดใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งทั้งคู่คาดหวังว่าจะใช้สถานที่แห่งนี้ เป็นวิมานแห่งความสุขของเขาทั้งสอง แต่แล้วเหตุการณ์ก็พลิกผันกลายเป็นโศกนาฏกรรมเมื่อเสกสรรเสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน รวมถึงทองคำยังได้รู้ถึงความเป็นจริงของกฎหมายประเทศไทยที่ไม่รับรองการใช้ชีวิตคู่ของคนเพศเดียวกัน ทำให้ทรัพย์สินทั้งหมดที่เขาหามาร่วมกับเสกสรร รวมถึงบ้าน ที่ดิน และไร่ทุเรียน ต้องตกเป็นของ นางแสง (สีดา พัวพิมล) มารดาที่ถูกต้องตามกฎหมายของเสกสรร นางแสงจึงพา หมู (อิงฟ้า วราหะ) ลูกสาวบุญธรรมและเหล่าชาวสวนมาร่วมอาศัยอยู่ด้วยกันที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ทองคำจึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องลุกขึ้นสู้กับความไม่ยุติธรรมของกฎหมาย เพื่อปกป้องและแย่งชิงวิมานในฝันกลับมาครอบครอง

นักแสดง

แก้

เพลงประกอบภาพยนตร์

แก้

การสร้าง ประชาสัมพันธ์ และการออกฉาย

แก้

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นโครงการที่จีดีเอชประกาศขึ้นในงานแถลงข่าวประจำปี 2566 ภายใต้ชื่อ Project D และวางกำหนดฉายในช่วงปลายปีเดียวกัน แต่เดิมจีดีเอชวางตัว กฤษฏ์ อำนวยเดชกร มารับบททองคำ[1] แต่เนื่องจากกฤษฏ์ ขอถอนตัวด้วยเหตุผลว่าทักษะการแสดงของตัวเองในขณะนั้น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบทบาทได้ดีพอ ประสบกับคิวงานของตนไม่ลงรอยกับการถ่ายทำภาพยนตร์ด้วย[2] จีดีเอชจึงได้เลื่อนแผนงานออกไปทั้งหมด รวมถึงเปลี่ยนตัวแสดงหลักเป็น วรกมล ชาเตอร์ ในภายหลัง[3] แผนงานจึงเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2566 ก่อนมีการจัดแถลงข่าวเปิดตัวภาพยนตร์อย่างเป็นทางการในงานแถลงข่าว GDH Line Up 2025 Moving Forward เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ก่อนปล่อยใบปิดภาพยนตร์ และตัวอย่างภาพยนตร์ในวันเดียวกัน รวมถึงยังระบุอีกด้วยว่าภาพยนตร์ดังกล่าวยังได้รับเลือกเข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ครั้งที่ 77 อีกด้วย[4]

อ้างอิง

แก้