วิทยุติดตามตัว

เครื่องมือสื่อสารไร้สายซึ่งรับและแสดงข้อความตัวอักษรเลข และ/หรือรับและแจ้งข้อความเสียง

วิทยุติดตามตัว หรือ เพจเจอร์ (อังกฤษ: pager) (ราชบัณฑิตยสถาน: วิทยุเรียกตัว, วิทยุตามตัว) เป็นเครื่องมือทางโทรคมนาคมส่วนตัวอย่างง่าย สำหรับการส่งข้อความสั้น ๆ โดยรับข้อความทางเดียว กับจำนวนข้อความที่จำกัด อย่างเช่นหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับ จนถึงทั้งตัวอักษรและตัวเลข และเพจเจอร์ 2 ทาง คือสามารถส่งและรับอีเมล การส่งข้อความตัวและและการส่งเอสเอ็มเอส[1][2] โดยการส่งข้อความไม่สามารถที่จะส่งได้ทันทีทันใด แต่ต้องโทรศัพท์ไปยังโอเปอเรเตอร์เพื่อบอกให้เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อความที่ต้องการและส่งต่อให้อีกทอดหนึ่ง โดยแจ้งหมายเลขประจำเครื่องของผู้รับ

วิทยุติดตามตัวรุ่นต่าง ๆ

ปัจจุบัน เพจเจอร์โดยมากใช้สำหรับการสนับสนุนการส่งข้อความในยามวิกฤต เนื่องจากความน่าเชื่อถือ และสามารถส่งข้อความถึงอุปกรณ์เป็นกลุ่มได้ ไม่เหมือนกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่ในยามฉุกเฉินหรือหายนะจะประสบปัญหาการใช้เครือข่ายเกินพิกัดจนใช้การไม่ได้ อย่างเช่นในเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา ด้วยเหตุผลนี้ทำให้เพจเจอร์ยังคงได้รับความนิยมในหมู่ของเจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ดูแลระบบบริการสารสนเทศหรืออยู่ในระบบคอมพิวเตอร์มือถือ

เพจเจอร์ในไทย

แก้

เพจเจอร์หรือวิทยุตามตัวเริ่มใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในช่วงปี พ.ศ. 2530พ.ศ. 2544 โดยบริษัทแปซิฟิก เทเลซิส เป็นผู้ให้บริการรายแรก ภายใต้ ชื่อ “แพคลิงก์” ซึ่งได้รับสัมปทานจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ให้สัมปทานแก่เอกชนรายอื่น เริ่มจาก “โฟนลิงก์” ของกลุ่มชินคอร์ป ตามมาด้วย “ฮัทชิสัน” ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างฮัทชิสันวัมเปาและล็อกซเล่ย์ ที่เปิดให้บริการในเวลาไล่เลี่ยกัน หลังจากนั้นมีกลุ่มเลนโซ่และกลุ่มยูคอม[3]

อ้างอิง

แก้
  1. Margaret Rouse (กรกฎาคม 2007). "Definition Pager". SearchMobileComputing.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012.
  2. "ระบบค้นหาคำศัพท์". pager. ศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
  3. "เพจเจอร์..ตำนานที่ยังไม่ตาย". สยามธุรกิจ. No. 1370. 19 มกราคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้