วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย นอกเหนือจากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยของรัฐ 6 สถาบันในขณะนั้น โดยมี ศ.(พิเศษ) ภญ.ฉวี บุนนาค เป็นคณบดีคนแรกของคณะ
College of Pharmacy Rangsit University | |
สถาปนา | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2530 |
---|---|
คณบดี | ผศ.ดร.ภก.ธนภัทร ทรงศักดิ์ |
ที่อยู่ | อาคารวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประสิทธิ์ อุไรรัตน์ (ตึก 4) ชั้น 2 มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถนนเอกประจิม ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000 |
สี | ███ สีเขียวมะกอก |
สถานปฏิบัติ | สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน |
เว็บไซต์ | http://www.rsu.ac.th/rsupharmacy |
ประวัติ
แก้ในระยะแรกเปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาตรบัญฑิต เป็นหลักสูตร 5 ปี โดยนักศึกษาจะศึกษาเพื่อการเป็นเภสัชกรในช่วง 4 ปีแรกของหลักสูตร และศึกษากระบวนวิชาทางเลือก ให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทาง ตลอดจนฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในทางเลือกในชั้นปีที่ 5 และได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอีกหลายครั้ง คือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ปีการศึกษา 2542 ประกอบด้วย 232 หน่วยกิต (ไตรภาค), 2544 ประกอบด้วย 186 หน่วยกิต (ทวิภาค), 2546, 2547 และ 2548 ตามลำดับ[1] และในปีการศึกษา 2545 วิทยาลัยเภสัชศาสตร์เคยได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ขึ้นอีก 1 หลักสูตร (ปัจจุบันหลักสูตรนี้ปิดไปแล้ว และได้เปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษาอีกครั้งในปีการศึกษา 2555)
สภาเภสัชกรรมได้เริ่มมีบทบาทในการควบคุมการผลิตเภสัชกรมากขึ้น โดยได้กำหนดให้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป เฉพาะหลักสูตรเภสัชศาสตร์ที่เปิดสอน 6 ปี เท่านั้นที่จะได้รับการอนุมัติจากสภาเภสัชกรรมให้สอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้ ทำให้คณะฯ ต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตจากเดิมที่เป็นหลักสูตร 5 ปี ให้เป็นหลักสูตร 6 ปี ในปีการศึกษา 2552 คือหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2552 (Doctor of Pharmacy Program)[1] และมีการปรับปรุงหลักสูตร 6 ปีอีกหลายครั้ง
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ยกฐานะจากคณะเภสัชศาสตร์เป็นวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ เมื่อ มิถุนายน พ.ศ. 2561[2]
ได้ผลิตเภสัชกรรุ่นแรกออกไปในปี 2535 จำนวน 41 คน จนถึงปัจจุบันได้ผลิตเภสัชกรไปแล้วรวม 24 รุ่น มีจำนวนทั้งสิ้น 2,926 คน[1]
รายนามคณบดี
แก้รายนามคณบดี | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|
ศ.(พิเศษ) ภญ.ฉวี บุนนาค | พ.ศ. 2530-2541 |
ศ.ดร.ภญ.สสี ปันยารชุน | พ.ศ. 2541-2545 |
รศ.ดร.ภญ.อรพรรณ มาตังคสมบัติ | พ.ศ. 2545-2553 |
ศ.(พิเศษ) ดร.ภญ.กฤษณา ไกรสินธุ์ | พ.ศ. 2554-2555 |
ผศ.ดร.ภก.ธนภัทร ทรงศักดิ์ | พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน |
กลุ่มวิชา
แก้- กลุ่มวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม
- กลุ่มวิชาเภสัชอุตสาหการ
หลักสูตร
แก้วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ทำการเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
ระดับปริญญาตรี
แก้ในปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรจากเดิมที่ใช้เวลาศึกษา 5 ปี (เภสัชศาสตรบัณฑิต) เปลี่ยนเป็น 6 ปี (หลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรม) ดังนั้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป จะมีนักศึกษา 2 หลักสูตร เมื่อผลิตนักศึกษารหัส 51 จบหลักสูตร (5 ปี) แล้ว หลักสูตรการศึกษาก็จะเหลือเพียงหลักสูตรเดียวคือ หลักสูตร 6 ปี
- 1) หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Bachelor of Pharmacy Program) (หลักสูตร 5 ปี)
นักศึกษารหัส 51 จะเป็นรุ่นสุดท้ายของหลักสูตรนี้
ชื่อปริญญา
- ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต
- ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Pharmacy
- อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ.
- อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.Pharm.
- 2) หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care) (หลักสูตร 6 ปี)
สำหรับนักศึกษารหัส 52 เป็นต้นไป
ชื่อปริญญา
- ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต (การบริบาลทางเภสัชกรรม)
- ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Pharmacy (Pharmaceutical Care)
- อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม)
- อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): Pharm.D. (Pharmaceutical Care)
- ในปีการศึกษา 2555 หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (Doctor of Pharmacy Program) เปิดเพิ่มอีกสาขาคือ สาขาเภสัชศาสตร์
- 3) หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ (Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Sciences) (หลักสูตร 6 ปี)
สำหรับนักศึกษารหัส 55 เป็นต้นไป
ชื่อปริญญา
- ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต (เภสัชศาสตร์)
- ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Pharmacy (Pharmaceutical Sciences)
- อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ. (เภสัชศาสตร์)
- อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): Pharm.D. (Pharmaceutical Sciences)
ในปีการศึกษา 2556 ได้ปรับปรุงหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (Doctor of Pharmacy Program) สาขาเภสัชศาสตร์ เป็นสาขาเภสัชอุตสาหการ
- 4) หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชอุตสาหการ (Doctor of Pharmacy Program in Industrial Pharmacy) (หลักสูตร 6 ปี)
สำหรับนักศึกษารหัส 56 เป็นต้นไป
ชื่อปริญญา
- ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต (เภสัชอุตสาหการ)
- ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Pharmacy (Industrial Pharmacy)
- อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ. (เภสัชอุตสาหการ)
- อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): Pharm.D. (Industrial Pharmacy)
ระดับปริญญาโท
แก้เปิดสอนในปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป[1]
- 1) หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Master of Pharmacy Program in Pharmacy)
ชื่อปริญญา
- ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชศาสตร์)
- ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Pharmacy (Pharmacy)
- อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.ม. (เภสัชศาสตร์)
- อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.Pharm. (Pharmacy)
ในปีการศึกษา 2556 ได้เปิดสอนอีกหลักสูตร คือ
- 2) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพฤกษเวชศาสตร์ (Master of Science Program in Phytomedicine)
(ปิดหลักสูตรแล้วตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป)[3]
ชื่อปริญญา
- ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พฤกษเวชศาสตร์)
- ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Science (Phytomedicine)
- อักษรย่อ (ภาษาไทย): วท.ม. (พฤกษเวชศาสตร์)
- อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.Sc. (Phytomed)
ในปีการศึกษา 2560 ได้เปิดสอนอีกหลักสูตร คือ
- 3) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ (Master of Science Program in Pharmacy)[4]
ชื่อปริญญา
- ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชศาสตร์)
- ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Science (Pharmacy)
- อักษรย่อ (ภาษาไทย): วท.ม. (เภสัชศาสตร์)
- อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.Sc. (Pharmacy)
ระดับปริญญาเอก
แก้เปิดสอนในปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Doctor of Philosophy Program in Pharmacy)[5]
ชื่อปริญญา
- ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เภสัชศาสตร์)
- ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Philosophy (Pharmacy)
- อักษรย่อ (ภาษาไทย): ปร.ด. (เภสัชศาสตร์)
- อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): Ph.D. (Pharmacy)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-10. สืบค้นเมื่อ 2018-06-12.
- ↑ https://www.facebook.com/arthit.ourairat.9/posts/1716227321800429
- ↑ https://academic.rsu.ac.th/file/QASupportFaculty_attachments59/CurriClose/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%20%E0%B8%9B.%E0%B9%82%E0%B8%97%20%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://grad.rsu.ac.th/file-pdf/051-CD-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%20%E0%B8%9B%20%E0%B9%82%E0%B8%97%20%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-ok.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://grad.rsu.ac.th/file-pdf/016-CD-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%20%E0%B8%9B%20%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%20%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-ok.pdf[ลิงก์เสีย]