วิถีโคจรไฮเพอร์โบลา

ในกลศาสตร์วงโคจรหรือกลศาสตร์ท้องฟ้า วิถีโคจรไฮเพอร์โบลา (hyperbolic trajectory) คือ วงโคจรการเคลื่อนที่ภายใต้ความโน้มถ่วงของวัตถุที่มีความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรมากกว่า 1 โดยปกติแล้ว วัตถุที่เคลื่อนที่บนวงโคจรนี้จะเคลื่อนที่ห่างจากวัตถุท้องฟ้าศูนย์กลางอย่างไปไม่สิ้นสุด

เส้นสีน้ำเงินคือวิถีโคจรไฮเพอร์โบลา จุด F คือจุดโฟกัส และเป็นตำแหน่งของดาวศูนย์กลาง

วิถีโคจรแบบนี้ก็เป็นวิถีโคจรหลุดพ้นเช่นเดียวกับวิถีโคจรพาราโบลา อย่างไรก็ตาม พลังงานวงโคจรจำเพาะของวัตถุบนวิถีโคจรไฮเพอร์โบลามีค่ามากกว่า 0 (ในขณะที่วิถีโคจรพาราโบลาจะเป็น 0 พอดี) นั่นคือวัตถุจะมีพลังงานจลน์แม้ที่ระยะอนันต์ ต่างจากวิถีโคจรพาราโบลาที่จะสูญเสียพลังงานจลน์ที่ระยะอนันต์

สมการ แก้

เส้นโค้งวิถีวงโคจรที่แสดงเป็นระบบพิกัดเชิงขั้ว ( ) ของระยะห่าง   และ มุมกวาดจริง   โดยมีจุดโฟกัสเป็นจุดกำเนิดแสดงได้เป็น

 

โดย   คือความเยื้องศูนย์กลาง ส่วน   คือเลตัสเรกตัม สำหรับกรณีของไฮเพอร์โบลานั้นจะมีค่า   ตัวส่วนจะเป็นศูนย์ที่   หรือ   ดังนั้นที่   ระยะห่างจากจุดโฟกัสจะกลายเป็น  

กึ่งแกนเอกของวิถีโคจรไฮเพอร์โบลาจะนิยามในลักษณะทำนองเดียวกับในวงโคจรวงรีได้เป็น

 

โดยในที่นี้  

หรืออาจเลือกเปลี่ยนเครื่องหมาย   เป็นบวก แล้วเขียนใหม่ได้เป็น

 

อย่างไรก็ตาม ในคำอธิบายต่อจากนี้ไปจะใช้นิยามแบบแรกเป็นหลัก

ระยะห่างจุดใกล้ที่สุดเมื่อมุมกวาดจริง   จะเป็น

 

ความเร็วที่ระยะไกลเป็นอนันต์ แก้

ความเร็วที่ระยะไกลออกไปเป็นอนันต์จากศูนย์กลางของวัตถุในวิถีโคจรไฮเพอร์โบลา   หาได้จากกฎการอนุรักษ์พลังงานเป็น[1]

 

โดยในที่นี้

  มีความสัมพันธ์กับค่าพลังงานวงโคจรจำเพาะ   ดังนี้

 

ความเร็วในวิถีโคจร แก้

ในวิถีโคจรไฮเพอร์โบลาอัตราเร็วในวงโคจร   คำนวณได้เป็น:

 

โดยในที่นี้

อ้างอิง แก้

  1. S.O., Kepler; Saraiva, Maria de Fátima (2014). Astronomia e Astrofísica. Porto Alegre: Department of Astronomy - Institute of Physics of Federal University of Rio Grande do Sul. pp. 97–106.