วิกิพีเดีย:โครงการสถานศึกษาวิกิพีเดีย

การเรียนการสอนด้วยกระดานดำเป็นวิธีแบบเก่าในท้องที่ห่างไกล
นักศึกษามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ซึ่งใช้วิกิพีเดียในวิชาเรียน

เรายินดีต้อนรับทุกท่าน ทั้งครูอาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษาในสถานศึกษา เราสนับสนุนให้ใช้วิกิพีเดียในวิชาเรียนเพื่อสาธิตการทำงานของเว็บไซต์เนื้อหาเปิด โครงการระหว่างวิกิพีเดียและสถานศึกษาจะช่วยพัฒนาความรู้ของนักเรียนนักศึกษา ทั้งยังเพิ่มเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในวิกิพีเดีย ข้อดีของการใช้วิกิพีเดียเหนือการให้การบ้านทั่วไปคือ ผู้เรียนจะได้รู้จักรับมือกับสถานการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการเรียนรู้ที่ดีกว่าเท่านั้น แต่ยังน่าสนใจกว่าด้วย (เพราะคนทั้งโลกจะเห็นงานที่ทำ) อันทำให้ผู้เรียนต้องทุ่มเทใส่ใจในการเขียนมากขึ้น นอกจากนี้ ยังให้โอกาสแก่นักเรียนนักศึกษาทำงานร่วมกันและผลงานของพวกเขาอาจถูกเก็บรักษาไว้เป็นแหล่งค้นคว้าออนไลน์ของผู้อื่น แทนที่จะถูกทิ้งขว้างละเลยอย่างการบ้านทั่วไป ที่ซ้ำซากจำเจและวนเวียนเป็นวัฎจักรทุกภาคการศึกษา วิกิพีเดียขอเสนอแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในโครงการสถานศึกษา ดังนี้

ดูรายชื่อโครงการปัจจุบันได้ที่ วิกิพีเดีย:โครงการสถานศึกษาวิกิพีเดีย/โครงการปัจจุบัน

แนวปฏิบัติ แก้

ทำไมการให้นักเรียนเขียนบทความวิกิพีเดียเป็นการบ้านจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
งานบนวิกิพีเดียแตกต่างจากงานเขียนแบบเก่า ทั้งการทำงานกับวิกิพีเดียยังมีประโยชน์หลายประการสำหรับลูกศิษย์ของท่าน โดย
  • นักเรียนนักศึกษาจะต้องรับผิดชอบต่อผู้อ่านทั่วโลกในสิ่งที่พวกเขากำลังทำ และด้วยเหตุนี้ นักเรียนจึงรู้สึกว่าตนเองกำลังอุทิศงานให้แก่ส่วนรวมมากขึ้น
  • งานของนักเรียนนักศึกษาจะมีแนวโน้มถูกเก็บรักษาไว้ต่อไปในอนาคต และมีผู้อื่นปรับปรุงพัฒนาต่อหลังงานนั้นเสร็จสิ้น
  • นักเรียนนักศึกษาจะได้เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างการเขียนตามข้อเท็จจริงและการเขียนเชิงวิเคราะห์
  • นักเรียนนักศึกษาจะเพิ่มพูนความสามารถของตนในการคิดอย่างเป็นระบบและการประเมินค่าแหล่งข้อมูล
  • นักเรียนนักศึกษาเรียนรู้ที่จะทำงานในบรรยากาศแห่งความร่วมมือ
  • นักเรียนนักศึกษามีความเข้าใจในกระบวนการสร้างข้อความบนวิกิพีเดียและวิกิโดยทั่วไป ซึ่งอาจเป็นทักษะที่สำคัญของนักเรียนในอนาคต
  • นักเรียนนักศึกษาเข้าใจว่าพวกเขามิได้เป็นผู้รับข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยสร้างข้อมูลด้วย
ทำไมการให้นักเรียนนักศึกษาเขียนบทความวิกิพีเดียเป็นการบ้านจึงเป็นประโยชน์ต่อวิกิพีเดีย
เราได้ประโยชน์ดังนี้:
  • มีเนื้อหาเพิ่มขึ้น
  • มีผู้ที่ได้รับทักษะการแก้ไขวิกิพีเดียเพิ่มขึ้นและสามารถกลายเป็นผู้ร่วมพัฒนาระยะยาวได้
  • มีผู้ที่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของวิกิพีเดียและใช้เนื้อหาของวิกิพีเดียอย่างน่าเชือถือยิ่งขึ้น
ทำไมการให้นักเรียนนักศึกษาเขียนบทความวิกิพีเดียเป็นการบ้านจึงเป็นประโยชน์ต่อครูอาจารย์ผู้สอน
ครูอาจารย์ผู้สอนจะได้รับประโยชน์หลากหลายจากการใช้วิกิพีเดียเป็นแหล่งเพื่อการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
  • ครูอาจารย์จะได้รับการช่วยเหลือในด้านการแนะแนวและประเมินนักเรียนโดยผู้ใช้วิกิพีเดียคนอื่น ๆ
แผนการดำเนินงาน
1: ขั้นเตรียมการ
  1. หาผู้ประสานงานในวิกิพีเดีย
  2. ระบุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ลูกศิษย์ของท่านควรบรรลุ ท่านอาจสอบถามประสบการณ์จากผู้ประสานงานเพื่อดูความเป็นไปได้
  3. สร้างแผนการสอน ตารางเวลา รายชื่องานหรือบทความ
2: ขั้นการสอน
  1. ศึกษาและสอนพื้นฐานที่สำคัญของวิกิพีเดีย (ความต้องการขั้นต่ำของบทความ การแก้ไข การจัดการคุณภาพ การเรียนรู้การใช้งานสำหรับผู้เรียนระดับสูง)
  2. ดำเนินการและเฝ้าดูการเรียนการสอนในทุกขั้น ให้กำลังใจลูกศิษย์ในระหว่างกระบวนการ รับมือกับอุปสรรค
3: ขั้นสรุป
  1. ประเมินแผนการสอนของคุณ (จบชั้นเรียน ให้การตอบรับลูกศิษย์ของคุณและต่อวิกิพีเดีย)

(แทนที่ ชื่อโครงการ ด้วยชื่อโครงการตามเป็นจริงของคุณ)

ผม/ดิฉันขอดำเนินการเองโดยไม่อาศัยผู้ประสานงาน
โปรดระลึกไว้เสมอถึงแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย:
  1. สัมผัสวิกิพีเดียด้วยตัวท่านเองก่อนสั่งงานลูกศิษย์ ล็อกอินเข้าสู่วิกิพีเดียและแบ่งเวลาแก้ไขบ้าง ท่านควรทำความคุ้นเคยกับวิกิพีเดียนานพอที่ผลงานของท่านจะได้เสียงตอบรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นานพอที่จะได้เสียงตอบรับในแง่ลบ (ซึ่งบางครั้งอาจมีเสียงตอบรับที่ไร้เหตุผลด้วย) นั่นจะทำให้ท่านเข้าใจถึงส่วนที่เป็นปัญหาของวิกิพีเดีย สำหรับชื่อที่ใช้ล็อกอิน ท่านสามารถใช้นามแฝงได้ เพียงแต่อย่างน้อยท่านควรจะมีบัญชีผู้ใช้สำหรับตัวท่านเอง
  2. เริ่มต้น เมื่อท่านต้องการเริ่มต้นโครงการแนวนี้ โปรดอธิบายสรุปสิ่งที่ท่านกำลังทำอยู่ในหน้านี้ใต้หัวข้อ "โครงการปัจจุบัน" และหากท่านเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีความโดดเด่นเพียงพอ ท่านอาจทิ้งข้อความไว้ในศาลาชุมชนได้ ท่านควรมีข้อมูลการติดต่อในกรณีที่ท่านอาจต้องการที่จะได้รับการติดต่อเกี่ยวกับโครงการของท่าน หน้าพูดคุยของบัญชีผู้ใช้วิกิพีเดียของท่านก็เพียงพอแล้วถ้าท่านหมั่นตรวจดูว่าท่านได้รับข้อความใหม่หรือไม่
  3. ข้อเท็จจริงเท่านั้น โปรดอย่าสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาของท่านสร้างหน้าไร้สาระหรือเพิ่ม "ขยะ" แก่บทความ แม้ปัญหาเหล่านี้มักจะได้รับการเก็บกวาดอย่างรวดเร็ว แต่งานเก็บกวาดมักกระทำโดยบุคคลผู้ต้องการจะสร้างสรรค์ผลงานในบทความสารานุกรมมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้น นักเรียนนักศึกษาของท่านอาจถูกบล็อกจากการแก้ไขวิกิพีเดีย ด้วยเหตุที่ว่า "ก่อกวน" ในกรณีที่เลวร้ายอย่างยิ่ง อาจส่งผลให้ทังสถานศึกษาของท่านถูกบล็อก หากท่านต้องการให้นักเรียนนักศึกษาของท่าน "เรียนรู้วิกิ" ก่อนอันดับแรก โปรดชี้แจงให้พวกเขาอ่าน วิธีใช้:สารบัญ และนำพวกเขาไปยัง วิกิพีเดีย:ทดลองเขียน สำหรับการทดสอบหรือฝึกซ้อมการแก้ไขอย่างที่พวกเขาต้องการ
  4. การทดสอบและการหลีกเลี่ยง อาจเป็นความคิดที่ดี (แม้จะไม่ง่าย) ที่จะรันวิกิในสถานศึกษาของท่านเองและใช้ทดลองก่อน ใช้ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ วินโดวส์ หรือแมคโอเอสเทน (ดูเพิ่มที่ หน้านี้ (อังกฤษ) และ หน้านี้ (อังกฤษ)) หากนักเรียนนักศึกษาบางคนไม่ต้องการส่งงานมายังวิกิพีเดีย (ซึ่งบังคับให้งานของเขาต้องอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเสรี CC-BY-SA 3.0) พวกเขาสามารถใช้วิกินั้นเป็นแบบฝึกหัดขั้นสุดท้ายแทนได้
    • ทางเลือกที่ง่ายกว่าคือการใช้หนึ่งในวิกิสาธารณะอื่น ๆ นอกเหนือไปจากวิกิพีเดีย (ดูที่หน้านี้)
  5. ชื่อบัญชีผู้ใช้ โปรดอย่าสร้างบัญชีผู้ใช้ที่เป็นตัวเลขซึ่งตรงกับรหัสมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนของท่าน แม้จะเป็นการสะดวกก็ตาม หากนักเรียนนักศึกษาของท่านยังแก้ไขวิกิพีเดียต่อไป พวกเขาอาจต้องการทำเช่นนั้นโดยใช้ชื่อจริงหรือนามแฝงที่เขาพอใจกว่า ทั้งยังทำให้ชาววิกิพีเดียอื่นสับสนในการทบทวนจำนวนการแก้ไขที่กระทำโดยชื่อผู้ใช้ที่คล้ายกันมาก
  6. อ่านคู่มือสิ สนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาของท่านมองหาหน้าที่ลิงก์มาจาก วิธีใช้:สารบัญ พวกเขาจะได้รับคำตอบสำหรับคำถามเกี่ยวกับการใช้งานในเวลาไม่นาน
  7. ลิขสิทธิ์ โปรดคำนึงถึงเรื่องลิขสิทธิ์เสมอ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างบนเว็บจะอนุญาตให้เผยแพร่ได้อย่างเสรี แม้กระทั่งลิขสิทธิ์ที่เข้ากันไม่ได้กับสัญญาอนุญาตของวิกิพีเดีย ข้อความข้างต้นเป็นจริงสำหรับทั้งข้อความและภาพ โปรดอย่าลืมว่านักเรียนนักศึกษาของท่านอาจเขียนงานขึ้นจากงานมอบหมายในชั้นเรียน โปรดทำให้แน่ใจว่านี่สามารถยอมรับได้ ยิ่งไปกว่านั้น ตรวจสอบผู้ที่เป็นเจ้าของงานวิชาของนักเรียนท่าน หากเจ้าของเป็นสถาบันของท่าน ตรวจสอบดูก่อนว่าท่านได้รับอนุญาตให้เผยแพร่หรือไม่ หากเป็นของนักเรียนนักศึกษา โปรดทำให้แน่ใจว่าท่านได้รับการยินยอมจากเขาให้เผยแพร่ผลงานนั้นแล้ว
  8. สรุปและวิเคราะห์ เมื่อท่านเสร็จโครงการแล้ว เราจะยินดีมากหากท่านสรุปรายละเอียดของผลที่ได้รับ
  9. งดงานค้นคว้าต้นฉบับ วิกิพีเดียไม่ใช่สถานที่ในการเผยแพร่แนวคิด การค้นพบหรือบทความใหม่ เราเป็นสารานุกรม มิใช่วารสารวิชาการ ท่านควรทำความคุ้นเคยกับนโยบายของเราที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ และ วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
    • สำหรับงานค้นคว้าต้นฉบับ หากต้องการเผยแพร่หรือดำเนินโครงการวิจัยต้นฉบับ โปรดพิจารณาใช้โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย http://www.wikiversity.org
  10. มีโครงการวิกิอื่นอีกมาก ซึ่งส่วนใหญ่มีนโยบายการแก้ไขแตกต่างไปจากของวิกิพีเดีย วิกิพีเดียเป็นวิกิที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในวิกิขนาดใหญ่ที่สุดเช่นกัน บทความวิกิพีเดียมักปรากฏเป็นอันดับแรก ๆ ในผลการค้นหาของกูเกิล ความโดดเด่นของวิกิพีเดียดึงดูดให้ผู้ใช้วิกิเป็นครั้งแรกจำนวนมากเข้ามาใช้ บางคนไม่ทราบมาก่อนว่ามีวิกิอื่นอีกมากอยู่ด้วย เพราะนโยบายการแก้ไขของวิกิพีเดียเข้มงวดกว่าในช่วงแรก บทความจำนวนมากที่ผู้ใช้ใหม่เขียนจึงถูกลบไป ผู้ใช้ใหม่บางคนอาจโต้แย้งว่า ตนมีความสุขมากกว่าในการแก้ไขในเว็บไซต์อื่น ที่มีข้อกำหนดด้านความเป็นกลาง, การพิสูจน์ยืนยันได้ และงดงานค้นคว้าต้นฉบับที่เข้มงวดน้อยกว่า ท่านควรเลือกวิกิพีเดียเพราะท่านต้องการมีส่วนในการสร้างสรรค์สารานุกรมเสรีคุณภาพสูง ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นวิกิแห่งแรกและแห่งเดียวที่ท่านรู้จัก ท่านสามารถแบ่งปันประสบการณ์กับเราได้
  11. อย่าจงใจก่อกวน โปรดอย่ามอบหมายงานให้นักเรียนนักศึกษาของท่านจงใจเพิ่มข้อมูลเท็จในบทความ พฤติการณ์ดังนี้จะถูกพิจารณาว่าเป็นการก่อกวนในวิกิพีเดีย ไม่ว่าจะมีเจตนาใดก็ตาม ซึ่งอาจส่งผลให้ขอบเขตหมายเลขไอพีทั้งสถานศึกษาของท่านถูกบล็อกมิให้แก้ไขวิกิพีเดีย