วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/ถ้าไม่ทับศัพท์ตามระบบเดิม

หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย
หัวข้อที่เกี่ยวข้องที่อภิปรายก่อนหน้า วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์ วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ และ พูดคุย:ยอร์ค
เสนอเป็นไอเดียนะครับ ถ้าวิกิพีเดียไทยไม่ทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตเป๊ะ ซึ่งกล่าวรวมในทุกภาษาไม่เจาะจงแค่ภาษาอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการพูดคุยกันหลายรอบ เช่นในสภากาแฟและคุยเรื่องวิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์ รวมไปถึงล่าสุดในพูดคุย:ยอร์ค
โดยส่วนหลักๆ ที่มักเถียงกัน ก็จะมีสองเรื่องคือ (ข้อ 1) คำลงท้าย ก/ค, ป/พ, ต/ท โดยตัวสะกด ก ป ต เป็นรูปแบบของราชบัณฑิต ส่วนสะกด ค พ ท จะเป็นคำนิยมตามเสียง k p t และ (ข้อ 2) การใช้เครื่องหมายการันต์สองตัวในคำเดียวกันอย่าง ชาร์ลส์ ใน ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ ตรงนี้ผมว่าแปลกเหมือนกัน แต่ว่าจะรับได้กันหรือเปล่าหรือว่าจะเปลี่ยนกลับเป็นการันต์ตัวเดียว
นอกจากนี้ขอก๊อปความเห็นของคุณ KINKKUANANAS เคยเขียนไว้เกี่ยวกับเรื่องทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสเมื่อ 3 พฤษภาคม 2551
  1. จะทำอย่างไรให้คนอ่านทั่วไป ที่มีพื้นฐานเพียงภาษาไทย (และอาจภาษาอังกฤษบ้าง) ออกเสียงได้ใกล้เคียง (อย่างถ้าสะกด โรแบร์ต ผมเชื่อว่าคนจำนวนมากก็ออกเสียงตัวสะกด ต ด้วย คนทั่วไปไม่ทราบว่า ตัวไหนไม่ออกเสียงบ้าง ปกติเวลาคนไทยทับศัพท์ แม้แต่ตัวที่ใส่ทันทฆาตก็ยังออกเสียงด้วยซ้ำ อย่าง อีฟส์ - Yves ผมเชื่อว่าคนไม่น้อยจะออกเสียงคำนี้เหมือน Eves)
  2. จะทำอย่างไรให้คนเขียนทั่วไปอย่างผม พอจะทับศัพท์ได้ ในคำที่ยังไม่มีบทความในวิกิพีเดียไทย เพราะหลักของราชบัณฑิตฯก็ค่อนข้างช่วยสำหรับคำที่ไม่ได้มี popular usage อยู่แล้ว
  3. จะทำอย่างไรให้กลุ่มผู้เขียนที่รู้ภาษาฝรั่งเศส สามารถมีหลักในการสะกด แทนที่จะใช้ความนิยมส่วนบุคคล เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการแก้ไขที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ sense ไม่ตรงกัน
  4. ในฐานะสารานุกรม จะทำอย่างไรให้ระบบที่จะใช้กันเป็นที่ยอมรับทางวิชาการ ระบบของราชบัณฑิตฯถึงจะไม่มีการใช้มาก แต่ก็มาจากหน่วยงานที่เป็น regulating body ของภาษาไทย
และอย่างที่เห็นใน บารัก โอบามา ก็ขึ้นเป็นบทความคัดสรรหน้าหนึ่งมาแล้ว ที่ทับศัพท์ตามคำนิยมไม่ใช่ตามระบบเดิม เลยอยากฝากหาทางสายกลางกันครับว่าทำอย่างไรดี ระหว่างยึดตามหลักราชบัณฑิตเป๊ะเลย หรือว่าสร้างระบบกันใหม่ที่อ้างอิงจากราชบัณฑิต (ซึ่งก็มีแนวโน้มจะขัดกับแนวคิดข้อ 4 ด้านบนพอควร) คืออยากหาแนวคิดรวมไปถึงวิธีการจัดการด้วยนะครับ (ไม่เอาแค่ข้อความ "เห็นด้วย" หรือ "ไม่เห็นด้วย" แล้วลงชื่อนะครับ) --Manop | พูดคุย 00:09, 19 มีนาคม 2552 (ICT)
เพิ่งเห็นคุณ ปอประตูน้ำ เพิ่มลิงก์ http://www.royin.go.th/upload/246/FileUpload/1470_4851.pdf ไว้ในหน้าวิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย ซึ่งเหมือนจะเป็นหลักปรับปรุงจากหลักเดิม (เพิ่งเห็น) อาจจะใช้หลักนั้นแทนที่หลักเก่าที่ใช้อยู่ในวิกิพีเดียตอนนี้
เท่าที่ลองอ่าน (มีประมาณ 69 หน้าได้) ที่เจอความต่างจากระบบเดิมคือเสียงอ่านของ
ระบบใหม่ ระบบเก่า หมายเหตุ
th (สัทศาสตร์) ถ้าเป็นเสียง [θ] ใช้ ธ.ธง ท.ทหาร
ลงท้ายด้วย -ce และ -z ใช้ ส.เสือ ใช้ ซ.โซ่ ถ้าตามระบบใหม่ หลายบทความต้องแก้เช่น แด๊นซ์
เสียงอ่านตัว L อ่านได้ทั้ง เอ็ล และ แอล แอล อย่างเดียว
เสียงอ่านตัว Z อ่านได้ทั้ง ซี เซ็ด แซด แซด อย่างเดียว
นอกจากนี้ก็เห็นเสียงหลายคำในอเมริกาที่ไม่รู้ว่าใช้ดิกชันนารีเล่มไหน เช่น
ระบบใหม่ ดิก MSN กับ M-W
Navajo แนฟวะโฮ นาวาโฮ
berry เบร์รี แบร์รี
แล้วก็ยังไม่มีการอธิบายถึงระบบเสียง linking ที่ชัดเจน อย่างคำว่า
  • figure ให้สะกด ฟิกเยอร์ เลย
อันนี้เท่าทีอ่านเจอนะครับ --Manop | พูดคุย 02:43, 20 มีนาคม 2552 (ICT)

ใจจริงแล้วถ้าหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาก็อยากจะใช้อันใหม่ไปเลยทั้งหมด แต่ก็ต้องตามแก้บทความเก่าด้วยเช่นกัน เพื่อในภายหลังจะได้ไม่มีใครกล่าวว่าทีบทความนั้นยังสะกดอย่างนี้ได้ หากใช้หลักการเดิมหรือหลักการแบบผสมอย่างที่เป็นอยู่ ก็จะมีคนอยากใช้หลักเกณฑ์ใหม่อยู่เรื่อยโดยอ้างว่านี่เป็นหลักเกณฑ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้และถูกต้อง ก็จะเกิดข้อโต้แย้งว่าแล้วของเก่าไม่ถูกหรือทั้งที่อาจจะมาจากแหล่งเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ใหม่ยังเป็นร่างอยู่นี่ครับ ทั้งหมดนี้กล่าวเฉพาะถึงเรื่องการทับศัพท์นะครับ --Octra Dagostino 16:48, 5 เมษายน 2552 (ICT)

มีอีกประเด็นหนึ่งไม่ทราบว่าสำคัญหรือเปล่า คือต่อไปวิกิพีเดียจะทับศัพท์ตามรูปหรือตามเสียงเป็นหลักมาก่อนครับ อย่างเรื่องเสียงสระที่ไม่ตรงกับรูป เสียงสระที่หารูปใกล้เคียงไม่ได้ หรือรูปสระเดียวแต่อ่านได้หลายแบบ หลักเกณฑ์ที่มีอยู่ปัจจุบันนี้จะพิจารณาจากรูปมาก่อนแล้วค่อยไปดูเรื่องการออกเสียง แต่ถ้าเปลี่ยนไปทับศัพท์ตามเสียงมาก่อน จะทำให้เอกลักษณ์ในการสะกดหายไป และเกิดความกำกวมมากยิ่งขึ้น เหมือนในสมัยจอมพล ป. ที่ยกเลิกอักษรพิเศษไปเสียหมดอย่างกับภาษาลาว --Octra Dagostino 16:57, 5 เมษายน 2552 (ICT)