วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์

(เปลี่ยนทางจาก วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์)
หมวดหมู่ การทับศัพท์ในวิกิพีเดีย
โครงการย่อย ภาษาญี่ปุ่น
หน้าย่อย การถอดเสียงภาษาอังกฤษอเมริกัน
การทับศัพท์เป็นภาษาไทยจากสัทอักษรสากล
การทับศัพท์แบบถ่ายเสียง
เกร็ดการเขียนคำทับศัพท์เป็นภาษาไทย
คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย
คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย/พิจารณาไปแล้ว
การทับศัพท์ภาษาโปแลนด์
การทับศัพท์ภาษาเปอร์เซีย
การทับศัพท์ภาษายูเครน
การทับศัพท์ภาษาเบลารุส
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

คำทับศัพท์ คือคำที่ถ่ายเสียงและ/หรือถ่ายรูปมาจากรูปคำในภาษาอื่น และนำมาเขียนในรูปแบบของภาษาไทย เพื่อให้คนที่ใช้ภาษาสามารถออกเสียงได้ถูกต้อง หรืออย่างน้อยใกล้เคียงกับภาษาเดิม ในวิกิพีเดียภาษาไทยใช้การทับศัพท์แบบถอดเสียงเป็นหลัก

โครงการนี้มีเป้าหมายให้ คำทับศัพท์จะต้อง เป็นคำที่ ทุกคนที่ใช้ภาษาไทย สามารถออกเสียงคำได้ใกล้เคียงและง่ายต่อการใช้ภาษา และคนที่ศึกษาสามารถออกเสียงได้ถูกต้องตามเสียงต้นฉบับ และเมื่อวางรูปแบบได้เหมาะสม จะช่วยหลีกเลี่ยงสงครามการแก้ไขที่อาจเกิดขึ้นไม่จบ

รายชื่อคำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย แก้

คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย ได้แบ่งตามตัวอักษร ซึ่งหากพบคำทับศัพท์ใดที่ไม่เห็นด้วย หรือต้องการให้พิจารณาใหม่ สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มคำศัพท์ดังกล่าวไปในรายการคำศัพท์ที่กำลังพิจารณาด้านล่าง

คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย: A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

แนวคิด แก้

  1. จะทำอย่างไรให้คนอ่านทั่วไป ที่มีพื้นฐานเพียงภาษาไทย ออกเสียงได้ใกล้เคียง
  2. จะทำอย่างไรให้คนเขียนทั่วไป พอจะทับศัพท์ได้ ในคำที่ยังไม่มีบทความในวิกิพีเดียไทย เพราะหลักเกณฑ์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ราชบัณฑิตยสถานเดิม) ก็ค่อนข้างช่วยสำหรับคำที่ไม่ได้นิยมอยู่แล้ว
  3. จะทำอย่างไรให้กลุ่มผู้เขียนที่รู้ภาษานั้น สามารถมีหลักในการสะกด แทนที่จะใช้ความนิยมส่วนบุคคล เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการแก้ไขที่อาจเกิดขึ้นได้ไม่จบ
  4. ในฐานะสารานุกรม จะทำอย่างไรให้ระบบที่จะใช้กันเป็นที่ยอมรับทางวิชาการ ระบบของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาถึงจะไม่มีการใช้มาก แต่ก็มาจากหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับในการใช้ภาษาไทย

ปัญหาปัจจุบัน แก้

  • สงครามการแก้ไข เนื่องจากการต้องการสะกดชื่อไม่เหมือนกัน
  • มีบทความซ้ำกันเกิดขึ้น ในการสะกดชื่อที่ต่างกัน

ในปัจจุบัน บทความในวิกิพีเดียไทยส่วนใหญ่ใช้หลักการทับศัพท์ตามระบบของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งมีปัญหาจากที่ผ่านมาหลายอย่างที่มีการแจ้งจากผู้เขียนและผู้ใช้งาน เช่น

  • "ไม่แสดงถึงเสียงของภาษาที่แท้จริง เช่น เสียง [k] สะกดลงท้ายด้วย ก แทนที่ ค ในภาษาอังกฤษ"[# 1]
  • "ไม่ได้รับความนิยมที่ปรากฏในสื่ออื่น ตัวอย่างเช่น ชื่อนักฟุตบอล นักร้อง"
  • "ไม่มีการใช้งาน เช่น ชื่อเมือง ชื่อบุคคล ในภาษาญี่ปุ่น"[# 2]

คำถามปัจจุบัน แก้

การยึดหลักเกณฑ์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา แก้

ตัวอย่างคำที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาใช้ไม่เหมือนกัน เช่น ชื่อดินแดน Martinique ภาคผนวกท้ายหนังสือ หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. 2555) ทับศัพท์ว่า "มาร์ตีนิก" ในขณะที่ ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง (พ.ศ. 2565) ทับศัพท์ว่า "มาร์ตีนีก"

ความนิยม และใช้เซนส์ แก้

การทับศัพท์มักจะได้คำตอบว่าใช้เพราะว่านิยม หรือบางคนก็ว่าใช้เซนส์เอา ซึ่งสองอย่างนี้ควรจะมีสิ่งที่เป็นรูปธรรมในการอ้างอิง

ทับศัพท์ตามภาษาเดิม หรือตามภาษาอังกฤษ แก้

หลายบทความมีปัญหาของคำที่มาทับศัพท์ว่าจะใช้เสียงอ่านของภาษาเดิม หรือเสียงอ่านของภาษาอังกฤษเป็นหลัก

การอ่าน แก้

คำทับศัพท์จากภาษาอื่นที่แสดงด้วยอักษรไทยจะแสดงเสียงคำอ่านใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด อาจมีการใช้เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับอักษรบางตัวเพื่อให้ยังคงในรูปของคำไทยที่สามารถอ่านได้ง่าย โดยจะแตกต่างกับคำไทยที่อักษรที่มีทัณฑฆาตกำกับอยู่จะไม่ออกเสียง นอกจากนี้เสียงอักษรที่ไม่มีในภาษาไทย เช่น [ð] และ [θ] (แทนด้วยอักษร th ในภาษาอังกฤษ) หรือ [v] จะเขียนแทนด้วยอักษรไทยที่มีเสียงใกล้เคียงแทน หรือเสียง [r] และ [l] ในภาษาอังกฤษที่ใกล้เคียงกับภาษาไทย จะเขียนแทนด้วย และ ที่มีเสียงใกล้เคียงแทน เช่น อีเมล (อ่านคล้าย [อี-เมว] ไม่ใช่ [อี-เมน])

สำหรับคำที่ใช้ในไทยมานานจะเขียนเป็นคำไทย และตามด้วยวงเล็บของคำอ่านตามหลัง เช่น เกอิชา (เกฉะ) สำหรับในภาษาญี่ปุ่นจะมีโรมาจิกำกับ เช่นเดียวกับภาษาจีนจะมีพินอินกำกับ

การเขียน แก้

การเขียนคำทับศัพท์ในวิกิพีเดียภาษาไทยจะใช้การถอดเสียงเป็นหลัก โดยหลักการในหลายภาษาจะใช้ตามที่ปรากฏไว้ตามระบบของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้แก่ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส พม่า มลายู เยอรมัน รัสเซีย เวียดนาม สเปน อังกฤษ อาหรับ อิตาลี อินโดนีเซีย และฮินดี

ข้อควรระวัง แก้

  • ภาษาที่มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาลาว ภาษาเวียดนาม จะแตกต่างกับภาษาที่มีทำนองเสียงเปลี่ยนตามรูปประโยคเช่นในภาษาอังกฤษ
  • ภาษาที่มีเสียงสั้นยาวคู่กัน เช่น ภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น จะแตกต่างกับภาษาอื่น ๆ ที่จะไม่มีเสียงยาวคู่กันทุกเสียง
  • คำบางคำเมื่ออ่านโดยผู้ใช้ภาษาอื่น อาจเพี้ยนจากต้นฉบับได้ เช่น "สาเก" (คนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักมักจะอ่านเพี้ยนเป็น "สากี")
  • สำหรับคำที่ใช้ในไทยมานานจะเขียนเป็นคำไทย และตามด้วยวงเล็บของคำอ่านหรือสัทอักษร เช่น Harvard เขียนว่า "ฮาร์วาร์ด (ฮาร์เวิร์ด)" เป็นต้น แต่ถ้ามีการเพี้ยนจากต้นฉบับมากให้ใช้เสียงต้นฉบับเป็นหลัก เช่น Michelangelo ทับศัพท์ว่า "มีเกลันเจโล" เป็นต้น
  • การแยกพยางค์ของแต่ละภาษาแตกต่างกัน ควรระวังโดยอ้างอิงภาษาต้นฉบับ เช่น haze ในภาษาอังกฤษอ่านว่า "เฮซ" หมายถึง หมอกควัน ในขณะที่ haze ในภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า "ฮะเซะ"; หรือ rain ในภาษาอังกฤษอ่านว่า "เรน" ส่วน rain ในภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า "ระอิน" เป็นต้น

หลักการทับศัพท์ แก้

  1. ทับศัพท์โดยใช้เสียงอ่านของคำเป็นหลัก
  2. การทับศัพท์ให้ถอดอักษรในภาษาเดิม พอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ และให้เขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย
  3. คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นภาษาไทย และปรากฏใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับล่าสุดคือฉบับ พ.ศ. 2554) ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น shirt ทับศัพท์ว่า "เชิ้ต"; consul ทับศัพท์ว่า "กงสุล" เป็นต้น
  4. คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม เช่น Louis ทับศัพท์ว่า "หลุยส์"; Cologne ทับศัพท์ว่า "โคโลญ" เป็นต้น

การทับศัพท์ชื่อ แก้

หลักการทับศัพท์ชื่อ เรียงตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ยึดราชบัณฑิตเป็นหลัก ถ้าได้มีการบัญญัติไว้
  2. ถ้าราชบัณฑิตไม่ได้บัญญัติไว้ ให้ใช้คำที่คุ้นเคย ถ้าคำนั้นไม่ผิดจากคำเดิม
  3. ถ้าไม่มีคำที่คุ้น ให้ถอดเสียงอ่านจากภาษาเดิม โดยอาศัยหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
  4. ถ้าไม่มีหลักออกเสียงเดิม ให้ว่าไปตามเสียง โดยอาศัยอักขรวิธีของไทย
  5. ถ้าอ่านภาษาเดิมไม่ออก ให้อ่านจากภาษาอังกฤษหรือภาษาไหนก็ได้ที่ใกล้เคียง หรือให้คงอักษรเดิมไว้ก่อน

ตัวอย่าง แก้

  • ตัวอย่างคำที่ใช้ภาษาเดิมแทนที่คำนิยมคือ Michelangelo ในภาษาอิตาลีอ่านว่า "มีเกลันเจโล" แต่มักจะอ่านเพี้ยนเป็น "ไมเคิล แองเจโล" เป็นต้น

ตัวอย่างคำ

ศัพท์ (ภาษา) ราชฯ (1) คำนิยม (2) เสียงเดิม (3, 4) เสียงอังกฤษ (5) คำในวิกิตอนนี้
Roma (อิตาลี) / Rome (อังกฤษ) โรมา, โรม[1] โรม โรมา โรม โรม
Torino (อิตาลี) / Turin (อังกฤษ) ตอรีโน, ตูริน[1] ตูริน โตรีโน ทิวริน/เทียวริน ตูริน
Nürnberg (เยอรมัน) / Nuremberg (อังกฤษ) - นูเรมเบิร์ก เนือร์นแบร์ค นิวเริมเบิร์ก/เนียวเริมเบิร์ก เนือร์นแบร์ค
Michelangelo (อิตาลี) - ไมเคิล แองเจโล มีเกลันเจโล ไมเคอแลนเจอโล มีเกลันเจโล
Vincent Willem van Gogh (ดัตช์) - วินเซ้นต์ แวน โก๊ะ ฟินเซนต์ ฟัน โคค วินเซนต์ แวน กอฟ/กอก/กอค/โก ฟินเซนต์ ฟัน โคค
Serie A (อิตาลี) - ซีรีส์ เอ (ไม้เอก) แซรีเย อา เซียรี เอ เซเรียอา
弁当 / bentō (ญี่ปุ่น) - เบนโตะ เบ็นโต เบนโต เบ็นโต
ラーメン / rāmen (ญี่ปุ่น) - ราเมน ราเม็ง ราเมิน ราเม็ง
北海道 / Hokkaidō (ญี่ปุ่น) ฮกไกโด[2] ฮอกไกโด   ฮกไกโด ฮอไคโด/ฮาไคโด/โฮไคโด ฮกไกโด
San Francisco (อังกฤษ) แซนแฟรนซิสโก[3] ซานฟรานซิสโก แซนแฟรนซิสโก ซานฟรานซิสโก
Indiana (อังกฤษ) อินดีแอนา[1] อินเดียน่า อินดีแอนา อินดีแอนา
Illinois (อังกฤษ) อิลลินอย[1] อิลลินอยส์ อิลลินอย/อิลเลอนอย อิลลินอย
gasohol (อังกฤษ) แกโซฮอล[1] แก๊สโซฮอล์ แกเซอฮอล/แกเซอฮาล แก๊สโซฮอล์
Chevrolet (อังกฤษ) - เชฟโรเลต เชฟเรอเล เชฟโรเลต
David Beckham (อังกฤษ) - เดวิด เบ็คแฮม เดวิด เบกเคิม/เบกคัม เดวิด เบคแคม
Rockefeller (อังกฤษ) - ร็อกกี้เฟลเลอร์ ร็อกเกอเฟลเลอร์ ?
rock (อังกฤษ) ร็อก ร็อค ร็อก/ร็อค ร็อก

การสะกดคำทับศัพท์ แก้

การสะกดคำทับศัพท์เน้นตามเสียงอ่านของคำไม่เน้นตามตัวอักษร เช่น

  • Sioux [suː] ทับศัพท์ว่า "ซู" (ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา)
  • foie gras [fwɑ gʁɑ] ทับศัพท์ว่า "ฟัวกรา"

ยกเว้น

  1. คำยืมจากภาษาอื่นที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทย ให้ถือว่าคำนั้นเป็นคำไทยและเขียนตามรูปในพจนานุกรม ถึงแม้จะเพี้ยนจากเสียงอ่านในภาษาเดิมบ้างก็ตาม เช่น
  2. ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง รวมถึงคำที่มีส่วนประกอบของชื่อนี้ในส่วนของคำ ให้ทับศัพท์ตาม ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ถึงแม้ว่าบางคำจะทับศัพท์ผิดจากเสียงอ่านในภาษาเดิมหรือไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเองก็ตาม เช่น
  3. ชื่อถ้าเป็นชื่อเฉพาะของชื่อบริษัท ชื่อหนังสือ ให้เขียนตามต้นฉบับที่จดทะเบียน ถึงแม้ว่าบางคำจะทับศัพท์ผิดจากคำอ่านก็ตาม
    • Chevrolet [เชฟเรอเล] เขียน "เชฟโรเลต" ตามชื่อบริษัทที่จดทะเบียน

คำที่นิยมใช้ แก้

  1. คำศัพท์บางคำ ถ้ามีการนิยมใช้มากกว่าศัพท์ที่ปรากฏในศัพท์บัญญัติ ให้ใช้คำนิยมแทน เช่น
  2. สำหรับคำที่นิยมใช้แต่ผิดไปจากเดิม ให้ใช้คำที่ถูกต้อง เช่น
    • Michelangelo ให้ใช้ "มีเกลันเจโล" (ชื่ออ่านตามภาษาอิตาลี) แทนที่ "ไมเคิล แองเจลโล" ที่ใช้กันจนนิยม
    • 弁当 / bentō ให้ใช้ "เบ็นโต" แทนที่ "เบ็นโตะ" ที่นิยมใช้กัน
  3. สำหรับคำที่นิยมใช้และมีใช้กันมานาน และมีปรากฏในเอกสารสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ให้ใช้คำเดิม ถึงแม้ว่าจะอ่านผิดไปจากเสียงเดิม โดยในบทความนั้นให้เขียนคำอ่านในภาษาต้นทางกำกับไว้ เช่น

การใช้วรรณยุกต์ แก้

การทับศัพท์จะไม่ใช้วรรณยุกต์ นอกเหนือจากว่าการไม่ใส่วรรณยุกต์ทำให้คำอ่านสับสน เช่น coma ใช้ "โคม่า" แทนที่ "โคมา" เป็นต้น

ยกเว้นภาษาในกลุ่มภาษาไท เช่น ไทย ลาว ผู้ไท (ภูไท) ไทใหญ่ และภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ในไทย, ภาษาจีนและภาษาถิ่นของจีน, ภาษาเวียดนาม และบางภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ใช้วรรณยุกต์หรือการเน้นระดับเสียงตามเสียงอ่าน

การเว้นวรรค แก้

คำศัพท์ในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ มักเขียนแยกกันทุกคำ ในขณะที่คำไทยเขียนติดกันและเว้นวรรคเมื่อจบประโยคหรือเพื่อให้อ่านได้สะดวกขึ้น ในการทับศัพท์ถ้าเป็นคำเดียวให้เขียนติดกันหมด เช่น

ยกเว้นคำที่แสดงถึงชื่อบริษัทและชื่อสินค้า ให้เขียนเว้นวรรคเพื่อแสดงถึงชื่อผลิตภัณฑ์นั้น เช่น

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ แก้

หมายเหตุ แก้

  1. อย่างไรก็ตาม เสียง /k/ ในภาษาอังกฤษ เมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์อาจออกเสียงแบบพ่นลมมาก (พอเทียบได้กับ ค) หรือออกเสียงแบบพ่นลมน้อยหรือไม่พ่นลม (พอเทียบได้กับ ก) ก็ได้
  2. แต่ก็ไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป ในบางครั้งตัวสะกดตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์อาจตรงกับตัวสะกดตามความนิยมก็ได้ เช่น ยามาโตะ, อิบารากิ, เก็น โฮชิโนะ เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล เล่ม 1 (อักษร A-L) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2549.
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล เล่ม 2 (อักษร M-Z) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2550.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้