วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/คำศัพท์เกี่ยวกับกบฏ

หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย

มีศัพท์หลายคำที่ตอนนี้วิกิพีเดียภาษาไทยใช้ชนกันอยู่ (น่าจะเพราะอิงราชบัณฑิตยฯ แล้วราชบัณฑิตยฯ บัญญัติไว้ชนกัน) แต่จะเกิดปัญหาในกรณีที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีบทความแยกกัน แล้วชื่อบทความในภาษาไทยจะตั้งอย่างไรดี (อย่างเช่น en:Insurgency กับ en:Mutiny ราชบัณฑิตยฯ บัญญัติว่า "การก่อการกำเริบ" เหมือนกัน)

ใครมีไอเดียอะไรเกี่ยวกับคำศัพท์ไหมคะ เช่น ควรจะใช้ตามราชบัณฑิตยฯ ต่อไปตามเดิม หรือจะเสนอคำแยกไว้สำหรับแต่ละคำ มาออกความเห็นกันได้ค่ะ 🙏 --Miwako Sato (คุย) 13:26, 12 ธันวาคม 2561 (ICT)

En ราชบัณฑิตยฯ คำที่เสนอ (ใครอยากเสนออะไรก็ลงไว้ได้) หมายเหตุ
ชุด 1
insurrection การกบฏ, การก่อการกบฏ
treason การกบฎ (อาชญากรรม)
rebellion การกบฏ (ปฏิวัติ)
treason-felony ความผิดฐานกบฏ
ชุด 2
revolt การก่อการกำเริบ
uprising การลุกฮือ (เพราะถ่ายทอดลักษณะในคำภาษาอังกฤษได้ดี ที่มี up และ rise ก็คือ ลุกฮือขึ้น, คำว่า การลุกฮือ ยังน่าจะนิยมใช้กันทั่วไปด้วย)
mutiny การกบฏ (การทหาร)
insurgency การก่อการกำเริบ แต่ในคำ "counterinsurgency" ราชบัณฑิตยฯ กลับใช้ว่า "การปราบปรามการก่อกบฏ"
ชุด 3
disturbance การก่อความวุ่นวาย
rout การแตกล่า
civil disorder การก่อความไม่สงบ การก่อความไม่สงบ
rebellion การกบฏ (ปฏิวัติ)
civil commotion ความวุ่นวายในบ้านเมือง
คำที่ไม่น่ามีปัญหา
riot การจลาจล
unrest ความไม่สงบ
revolution การปฏิวัติ
coup, coup d'état รัฐประหาร
usurpation การยึดอำนาจ

ความเห็น แก้

  • สงสัยเรื่องการเติม "การ" หรือ "ความ" นำหน้าครับ อย่าง "กบฎ" และ "การกบฎ" ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน มีการใช้แตกต่างกันไหม และควรจะยึดคำใดคำหนึ่งอย่างเดียวหรือไม่ครับ --Horus (พูดคุย) 19:53, 12 ธันวาคม 2561 (ICT)
    • ตามพจนานุกรม "กบฏ" เป็นได้ทั้ง verb (ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร) และ noun (น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร) ดังนั้น "การกบฏ" ก็คือ noun ของ verb กบฏ ซึ่งมีความหมาย = noun กบฏ, เมื่อความหมายเท่ากัน การใช้ก็ไม่น่าต่างกัน, ส่วนตัวใช้ "กบฏ" (noun) เพราะมันสั้นดี (เว้นแต่บางบริบทที่ต้องใช้ "การกบฏ" เพื่อแยกจาก "กบฏ" ที่หมายถึงคน) --Miwako Sato (คุย) 20:59, 12 ธันวาคม 2561 (ICT)
      • ในการเลือกใช้ชื่อบทความ เห็นว่าควรใช้แยก "กบฏ" (หมายถึงคน) กับ "การกบฏ" (หมายถึงเหตุการณ์) ด้วยหรือเปล่าครับ --Horus (พูดคุย) 12:17, 29 ธันวาคม 2561 (ICT)
  • ที่จริงคำว่า "การก่อ" ก็ไม่ได้มีความหมายอะไรพิเศษ สามารถตัดออกโดยที่ความหมายเท่าเดิม อย่างเช่น การก่อการกบฏ vs (การ)กบฏ, การก่อการกำเริบ vs การกำเริบ --Miwako Sato (คุย) 20:59, 12 ธันวาคม 2561 (ICT)
  •   ความเห็น เห็นว่าในภาษาไทยมีการใช้คำว่า "กบฏ" ในหลายบทความ อาจให้มีการแก้กำกวมตามความหมายของคำในกรณีที่มีการสร้างบทความตามภาษาอังกฤษตามนี้ครับ
    • rebellion (รวมทั้ง insurrection, revolt, uprising) ใช้ การกบฏ (ปฏิวัติ) เนื่องจากในบทความ en:Rebellion เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติหรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    • treason ใช้ การกบฎ (อาชญากรรม) หรือ การกบฎ (กฎหมาย) เนื่องจากในบทความ en:Treason เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหรือทางกฎหมาย
    • mutiny ใช้ การกบฏ (การทหาร) หรือ การก่อการกำเริบ (การทหาร) เนื่องจากในบทความ en:Mutiny เกี่ยวข้องกับทางทหาร
สำหรับการเขียนบทความที่เป็นกลุ่มเฉพาะไม่ว่าจะใช้คำไหนอาจใช้ชื่อว่า "กบฎ...ชื่อกลุ่ม..." และประโยคทั่วไปในเนื้อหาจะใช้คำว่า "กบฎ" "การก่อกำเริบ" "ลุกฮือ" ฯลฯ ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของประโยค สำหรับคำอื่นมีเสนอดังนี้
    • insurgency ใช้ การก่อการกำเริบ ตามราชบัณฑิตยฯ
    • treason-felony ใช้ ความผิดฐานกบฏ ตามราชบัณฑิตยฯ และมีในบทความพระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848
    • rout ใช้ การแตกล่า หรือ ตามบทความการแตกล่า (เข้าใจว่าเป็นภาษาทหาร)
    • civil disorder ใช้ การก่อความไม่สงบ ตามบทความการก่อความไม่สงบและราชบัณฑิตยฯ
    • disturbance คำนี้มีความแตกต่างในหลายสาขา ให้พิจารณาไปแต่ละบทความ เช่น บทความที่เกี่ยวข้องกับกบฎใช้ "การรบกวน" "การก่อความวุ่นวาย" หรือบทความที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์มักจะใช้ "ความปั่นป่วน" "ความแปรปรวน" เป็นต้น
ถ้ามีอะไรที่ชัดเจนกว่าก็ใช้แทนได้ครับ --Geonuch (คุย) 12:48, 13 ธันวาคม 2561 (ICT)