วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์/พฤษภาคม 2555

ลักษณะของพืชที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นอย่างไรคะ

ลักษณะของพืชที่ถ่ายถอดทางพรรธุกรรมเป็นอย่างไรค่ะ--183.88.249.30 21:23, 10 พฤษภาคม 2555 (ICT)

ทำไม เอไมด์ ถึงมีจุดเดือดสูงกว่า กรดอินทรีย์ ทั้ง ๆ ที่ เกิดพันธะ H ได้ 5 ตำแหน่งเท่ากัน และ ...

ทำไม เอไมด์ ถึงมีจุดเดือดสูงกว่า กรดอินทรีย์ ทั้ง ๆ ที่ เกิดพันธะ H ได้ 5 ตำแหน่งเท่ากัน และ O ก็มี EN สูงกว่า N ตย.เช่น

  • Formamide มีจุดเดือด 210 °C : Formic acid 100.8 °C °C
  • Acetamide มีจุดเดือด 222 °C : Acetic acid 118-119 °C
  • Butyramide มีจุดเดือด 216 °C : Butyric acid 163.5 °C
  • Benzamide มีจุดเดือด 288 °C : Benzoic acid 249.2 °C

ขอบคุณครับ รูปประกอบ: http://www.chemguide.co.uk/organicprops/amides/hbonds.gif http://ww2.chemistry.gatech.edu/~lw26/structure/molecular_interactions/Image9.gif

--Minos777 (พูดคุย) 00:01, 11 พฤษภาคม 2555 (ICT)


ตามที่ผมค้นมานะครับ

  1. Carboxylic acids form intermolecular hydrogen bonds - high boiling point
  2. Amides have the highest boiling points because the resonance contributor with separated charges contributes significantly to the overall compound structure
    • เข้าใจว่า พันธะไฮโดรเจน ระหว่างโมเลกุลของเอไมด์ แรงกว่า ของ กรดคาร์บอกซีลิก เพราะว่า O ที่ติดกับ C ในเอไมด์ ดึงกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนได้มากกว่า ในกรดคาร์บอกซีลิก เนื่องจาก N มี EN ต่ำกว่า O ดังนั้น พันธะไฮโดรเจน ที่เกิดระหว่างโมเลกุลเอไมด์ จึงสูงกว่าระหว่างโมเลกุลกรดคาร์บอกซีลิก ตรงนี้ก็มีข้อสงสัยครับ คือว่า ตามที่พบในธรรมชาติ ระหว่างโมเลกุลเอไมด์เกิดพันธะ แค่ตำแหน่งเดียว (ทำไมหว่า?) ระหว่างโมเลกุลกรดคาร์บอกซีลิก เกิด 2 ตำแหน่ง กรดคาร์บอกซิลิกน่าจะสูงกว่าสิ
  3. Amides have higher melting and boiling points than carboxylic acids because they are more flat (due to delocalization of electrons), so they stack better
    • ตรงนี้ยิ่งงงใหญ่เพราะว่าทั้งเอไมด์ และกรดคาร์บอกซีลิกก็มี delocalized electron เหมือนกันทั้งคู่นี่น่า ที่ว่าแบนกว่าด้วยเหตุอะไร
  4. อีกอย่างนึงอ.ผมบอกว่า มีหนังสือบางเล่ม (อาจจะแค่เล่มเดียว) บอกไว้ว่า amide จะเกิดเป็นโครงผลึกอ่าครับ

ช่วยชี้แนะด้วยครับ

--Minos777 (พูดคุย) 11:46, 15 พฤษภาคม 2555 (ICT)

คำถามน่าสนใจดี

  1. Carboxylic acid มี H ที่สร้างพันธะไฮโดรเจนได้เพียงอะตอมเดียว แต่ amides มี H สองตัว ส่วนอะตอมที่เป็นลบ N กับ O พอถือว่าคล้าย ๆ กันไปได้
    • amides มีน้ำหนักโมเลกุลมากกว่าด้วย
  2. ที่ดีกว่าเพราะว่าไนโตรเจนสามารถยอมเป็น N+ ได้ดีกว่าออกซิเจน และเมื่อเป็นบวกแล้ว อะตอมตรงนี้จะมี sp3 character ทำให้แบนอยู่ในระนาบเดียวกันกับ C=O -- นั่นคือ dihedral angel O-C-N-H เป็น 0 หรือ 180 องศา
  3. โครงผลึกก็เกิดจากการที่มันแบนกว่ากระมัง... อย่างไรก็ดีหากว่ากันที่จุดเดือด ปัจจัยเรื่องโครงผลึกไม่น่าจะสำคัญ (ดูเพิ่มที่นิยามของของเหลว)

--taweethaも (พูดคุย) 14:41, 29 พฤษภาคม 2555 (ICT)

บิดาแห่งคณิตศาสตร์ คือใคร

บิดาแห่งคณิตศาสตร์ คือใคร

--203.172.233.9 09:41, 16 พฤษภาคม 2555 (ICT)

จาก http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_mathematics คณิตศาสตร์มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric mathematics) จึงไม่ปรากฏหลักฐานที่ชี้ชัดได้ในปัจจุบัน ว่าใครคือบิดาแห่งคณิตศาสตร์ หรือ ไม่อาจระบุได้ว่าใครเป็นบิดาแห่งคณิตศาสตร์ นั่นเอง (อย่างไรก็ตาม ในบางทีก็อาจมีการยกย่องนักคณิตศาสตร์ในประวัติศาสตร์บางท่าน โดยประมาณเอาว่าท่านผู้นั้นเป็นบิดาแห่งคณิตศาสตร์ ก็เป็นได้)

-- L0V3Kr1TT4Y4 18:03, 26 พฤษภาคม 2555 (ICT)

คูลอมบ์

คูลอมบ์คืออะไร และใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง--ปิยารมย์ (พูดคุย) 18:31, 22 พฤษภาคม 2555 (ICT)

คูลอมบ์ เป็นหน่วยวัดประจุไฟฟ้า ตั้งชื่อตาม Charles-Augustin de Coulomb ใช้วัดประจุไฟฟ้า... ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น --浓宝努 12:58, 25 พฤษภาคม 2555 (ICT)

จากสูตร ความจุไฟฟ้า = ประจุไฟฟ้า/แรงดันไฟฟ้า ที่ความจุไฟฟ้า 1 หน่วย (ฟารัด) สามารถจ่ายหรือรับประจุไฟฟ้า 1 หน่วย (คูลอมบ์) เพื่อทำให้แรงดันไฟฟ้าเปลี่นไป 1 หน่วย (โวลต์)

ส่วนใดของมนุษย์คือสารสนเทศที่ซับซ้อนที่สุด

--110.77.233.196 14:15, 27 พฤษภาคม 2555 (ICT)

ผมหาในกูเกิล คำถามนี้เขาถามกันเยอะฮะ ก็มีคนที่ตอบว่า สมอง (หรือบางทีอาจจะรวมถึงระบบประสาทด้วย) เป็นส่วนของมนุษย์ที่ทำหน้าที่เป็นระบบสารสนเทศที่ซับซ้อนที่สุด --L0V3Kr1TT4Y4 18:53, 21 มิถุนายน 2555 (ICT)