วิกิพีเดีย:การปรับแต่ง
หน้านี้เป็นหน้าสารสนเทศ ซึ่งอธิบายวัตรที่ตั้งแล้วของชุมชนแก้ไขของบางแง่มุมของบรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมของวิกิพีเดีย ทั้งนี้ ไม่ใช่นโยบายหรือแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย เพราะยังไม่ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจากชุมชน |
การปรับแต่งทำให้คุณปรับหน้าวิกิพีเดียให้เหมาะสมกับลีลาการอ่านและแก้ไขของคุณได้ในฐานะผู้เขียนวิกิพีเดีย การปรับแต่งของคุณมีผลเฉพาะหน้าตาของหน้าในเว็บเบราว์เซอร์ของคุณเท่านั้น แต่ประสบการณ์การอ่านหรือแก้ไขจะยังคงเหมือนกับของผู้เขียนคนอื่น ผู้ใช้ลงทะเบียนเท่านั้นที่สามารถปรับแต่งวิกิพีเดียได้ และการปรับแต่งนั้นจะเห็นผลเฉพาะเมื่อล็อกอินอยู่เท่านั้น
นอกจากนี้คุณยังสามารถปรับแต่งลักษณะปรากฏของลายเซ็นของคุณเมื่อคุณโพสต์ความเห็นในหน้าอภิปรายได้ด้วย
ชื่อผู้ใช้และลายเซ็น
แก้ชื่อผู้ใช้ของคุณปรากฏในประวัติการแก้ไขของทุกบทความที่คุณมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงมายังหน้าผู้ใช้และคุยกับผู้ใช้ของคุณ คุณเลือกชื่อของคุณเมื่อคุณลงทะเบียนในวิกิพีเดียครั้งแรก และเป็นเรื่องปกติที่จะใช้ชื่อเดียวกันตลอดเวลาที่คุณยังมีส่วนร่วมในโครงการ กระนั้น คุณสามารถขอเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ได้
คุณควรเซ็นกำกับโพสต์ของคุณในหน้าคุยทุกครั้ง ลายเซ็นคือข้อความที่อยู่นำหน้าตราเวลาเมื่อคุณใส่ ~~~~ ลงบนหน้า การปรับแต่งลายเซ็นใช้ "การตั้งค่า" ภายใต้ "โปรไฟล์ผู้ใช้" พิจารณาแนวทางเหล่านี้เมื่อปรับแต่งลายเซ็นของคุณ
คุณสามารถใช้ข้อความวิกิใด ๆ เป็นลายเซ็นของคุณ (เพียงทำเครื่องหมายที่ช่อง "ถือว่าข้างต้นเป็นมาร์กอัพวิกิ") หากไม่เลือก "ถือว่าข้างต้นเป็นมาร์กอัพวิกิ" ซอฟต์แวร์จะถือว่านี่เป็นชื่อเล่นของคุณและทำให้ลายเซ็นของคุณ " [[ผู้ใช้:ชื่อ|ชื่อเล่น]] ([[คุยกับผู้ใช้:ชื่อ|คุย]]) " ซึ่งแสดงผลเป็น
การตั้งค่า
แก้ลิงก์การตั้งค่า ซึ่งผู้ใช้ล็อกอินจะมองเห็นได้ ทำให้คุณเปลี่ยนตัวเลือกต่าง ๆ ได้จำนวนมาก มีแถบ 11 แถบ (โปรไฟล์ผู้ใช้, คณิต, การแก้ไข ฯลฯ) ซึ่งต่อไปนี้จะกล่าวถึงสองแถบในรายละเอียด ได้แก่ "สกิน" และ "อุปกรณ์เสริม" (แกเจ็ต)
สกิน
แก้สกินมีเดียวิกิเป็นสไตล์การแสดงผลหน้า มีข้อแตกต่างในรหัสเอชทีเอ็มแอลซึ่งระบบผลิต (แต่อาจไม่อยู่ในส่วนของหน้า) แต่ยังใช้สไตล์ชีตคนละอย่าง (ซีเอสเอส)
ค่าโดยปริยายคือสกินเวกเตอร์ (Vector) ทั้งนี้ มีสกินที่ผู้ใช้ทำขึ้นอีกจำนวนมากให้คุณค้นดูได้
หน้าพิเศษ การตั้งค่า มีตัวอย่างสกินต่าง ๆ สำหรับหน้าหลัก แต่ไม่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับบทความทั่วไป ฉะนั้น เราจึงรวบรวมตัวอย่างของหน้านี้ในสกินต่าง ๆ ไว้ด้านล่าง
ในการทดสอบหน้าอื่น ๆ ให้แทนที่ชื่อหน้าใน title=วิกิพีเดีย:การปรับแต่ง
ในยูอาร์แอล ทั้งนี้ สำหรับเบราว์เซอร์สมัยใหม่ สกินโดยปริยาย vector
เปิดให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้หลากหลาย
ต่อไปนี้เป็นตารางเชื่อมโยงซีเอสเอสและเจเอสดิบสำหรับสกินต่าง ๆ ดูที่ วิธีใช้:สไตล์ผู้ใช้ สำหรับ วิกิพีเดีย:Common.js และ common.css
สกิน | ซีเอสเอสโดยปริยาย | เจเอสโดยปริยาย | ซีเอสเอสส่วนบุคคล | เจเอสส่วนบุคคล | ||
---|---|---|---|---|---|---|
เปลี่ยนทางไปยังสกินปัจจุบันของผู้ใช้ | User:<username>/skin.css | User:<username>/skin.js | ||||
Common (ทุกสกิน) | MediaWiki:Common.css | [1] | MediaWiki:Common.js | [2] | User:<username>/common.css | User:<username>/common.js |
Cologne Blue | MediaWiki:Cologneblue.css | [3] | MediaWiki:Cologneblue.js | [4] | User:<username>/cologneblue.css | User:<username>/cologneblue.js |
Modern | MediaWiki:Modern.css | [5] | MediaWiki:Modern.js | [6] | User:<username>/modern.css | User:<username>/modern.js |
MonoBook (สกินโดยปริยายเดิม) | MediaWiki:Monobook.css | [7] | MediaWiki:Common.js | [8] | User:<username>/monobook.css | User:<username>/monobook.js |
Vector (สกินโดยปริยายปัจจุบัน) | MediaWiki:Vector.css | [9] | MediaWiki:Vector.js | [10] | User:<username>/vector.css | User:<username>/vector.js |
Timeless | MediaWiki:Timeless.css | [11] | MediaWiki:Timeless.js | [12] | User:<username>/timeless.css | User:<username>/timeless.js |
หน้าเหล่านี้ได้ชื่อตามสกิน ชื่อไฟล์สกินส่วนบุคคลต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กและไม่วรรคเพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง (ในขณะที่ไฟล์สกินโดยปริยายมีตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่)
อุปกรณ์เสริม
แก้หน้าพิเศษ การตั้งค่า มีแถบ "อุปกรณ์เสริม" (แกเจ็ต) ที่มีรายการคุณสมบัติที่กำหนดเองที่คุณอาจเปิดใช้งานสำหรับบัญชีของคุณ แกเจ็ตเหล่านี้ต้องอาศัยจาวาสคริปต์ที่เปิดใช้งานในเบราว์เซอร์ของคุณ เครื่องมือเหล่านี้ไม่เป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์มีเดียวิกิแกนกลาง และมีผู้ใช้วิกิพีเดียเป็นผู้พัฒนาและบำรุงรักษา ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่มแกเจ็ตได้ หน้า พิเศษ:อุปกรณ์เสริม แสดงสคริปต์ผู้ใช้พื้นเดิมและ/หรือรหัสซีเอสเอสที่ใช้สำหรับอุปกรณ์เสริมแต่ละชนิด
สคริปต์ผู้ใช้
แก้มีการปรับเล็กน้อยที่ผู้ใช้จัดทำขึ้นเพื่อให้การแก้ไขง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งสคริปต์เหล่านี้มักทำงานได้เฉพาะบนบางสกินจำเพาะเท่านั้น เกือบทั้งหมดทำงานได้บนมอนอบุ๊ก (ค่าโดยปริยายเดิม) และมีการทดสอบหลายสคริปต์กับสกินโดยปริยายใหม่ (เวคเตอร์) แต่ยังควรใช้ความระมัดระวัง หากคุณเปลี่ยนสกิน คุณควรทราบว่าสคริปต์ผู้ใช้บางสคริปต์อาจใหม่ทำงานในสกินใหม่
สามารถเปิดใช้สคริปต์ผู้ใช้จำนวนมากได้ง่าย ๆ เพียงคลิกกล่องในแถบอุปกรณ์เสริมของ "การตั้งค่า" (ดูด้านบน) สำหรับสคริปต์ผู้ใช้บางสคริปต์ คุณสามารถนำไปใช้ได้โดยเพิ่มในหน้าจาวาสคริปต์ส่วนบุคคลที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้ XYZ ซึ่งกำลังใช้สกินเวกเตอร์ค่าโดยปริยาย หน้านั้นจะได้แก่ ผู้ใช้:XYZ/vector.js โดยแก้ไขหรือสร้างหน้าใหม่ หน้าจาวาสคริปต์ส่วนบุคคลสามารถแก้ไขได้เฉพาะเจ้าของเนมสเปซผู้ใช้คนนั้น และผู้ดูแลระบบเท่านั้น
ซีเอสเอสส่วนบุคคล
แก้นอกเหนือจากหน้าจาวาสคริปต์ส่วนบุคคลแล้ว คุณยังมีหน้าส่วนบุคคลที่ใช้แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ (CSS) เพื่อดัดแปรลักษณะปรากฏของหน้าวิกิพีเดีย เช่นเดียวกับจาวาสคริปต์ คือ ชื่อหน้าที่ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิจะใช้ขึ้นอยู่กับสกินที่คุณกำลังใช้อยู่ ค่าโดยปริยายคือ vector.css ตัวอย่างผู้ใช้ XYZ สามารถเพิ่มรหัสซีเอสเอสส่วนบุคคลในหน้า ผู้ใช้:XYZ/vector.css
เช่นเดียวกับสคริปต์ผู้ใช้ แถบอุปกรณ์เสริมของ "การตั้งค่า" (ดูด้านบน) อาจมีการดัดแปรซีเอสเอสส่วนบุคคลที่คุณสนใจ หากมี คุณสามารถเลือกกล่องแทนการแก้ไขหน้า .css ส่วนตัวของคุณได้
ซ่อนบางสาร
แก้การใช้งานไฟล์ซีเอสเอสของผู้ใช้ทั่วไปอย่างหนึ่ง ที่ต้องอาศัยการแก้ไขโดยตรง คือ การซ่อนสารแม่แบบบางอย่าง
โดยใส่ลงในหน้า Special:Mypage/skin.css ซึ่งระบุไฟล์ซีเอสเอสของสกินปัจจุบันของคุณ (จะดูให้เปิดแถบหรือหน้าต่างใหม่) หากคุณใช้สกิน เช่น สำหรับการดูและสัมผัสความแตกต่างระหว่างรุ่นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ คุณสามารถใส่รหัสใน Special:Mypage/skin.css เพื่อให้รหัสนั้นใช้ได้กับทุกสกิน
หมายเหตุ: คุณต้องตามหา id เฉพาะในการใช้สารที่เกี่ยวข้อง คุณอาจมองหาข้อความวิกิของสาร (เช่น แม่แบบ {{fmbox}} ที่ใช้เพื่อสร้างสารแม่แบบหลายสาร มีตัวแปรเสริมที่อาจใช้ได้สองตัวที่คุณพบได้ คือ id
และ class
) หากคุณไม่เห็นให้ลองถามที่แผนกช่วยเหลือ
ดูรายการส่วนประกอบที่มักซ่อนด้านล่าง
กล่องข้อมูลและสไตล์ผู้ใช้
แก้ผู้ใช้สามารถมีซีเอสเอสผู้ใช้ที่ซ่อนกล่องข้อมูลทุกกล่องในเบราว์เซอร์ของตน
ในการซ่อนกล่องข้อมูลทั้งหมด ให้เพิ่มรหัสด้านล่างในหน้า Special:MyPage/common.css ซึ่งมีผลสำหรับทุกสกิน (หรือ Special:MyPage/skin.css สำหรับเฉพาะสกินปัจจุบัน) โดยขึ้นบรรทัดใหม่
.infobox { display: none; }
หรืออีกทางหนึ่ง คุณสามารถเพิ่มรหัสต่อไปนี้ในหน้า common.js ของคุณ หรือลงในสคริปต์ผู้ใช้เบราว์เซอร์ที่ดำเนินการโดยส่วนขยายอย่าง Greasemonkey
$('.infobox').hide();
พึงระวังว่า ถึงแม้ว่าจะมีข้อตกลงว่าในอุดมคติสารสนเทศทั้งหมดในกล่องข้อมูลควรปรากฏในเนื้อหาหลักของบทความด้วย แต่บางหน้าอาจไม่ได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัตินี้เสมอไป ตัวอย่างเช่น ลำดับชั้นอนุกรมวิธานสมบูรณ์ใน {{Taxobox}} และรหัสฐานข้อมูลทางการแพทย์ของ {{Infobox disease}} มักไม่พบในเนื้อหาบทความหลัก กล่องข้อมูลยังมักเป็นที่ที่มีภาพสำคัญที่สุดในบทความ ซึ่งบางทีทั้งบทความก็มีภาพอยู่ภาพเดียวและอยู่ในกล่องข้อมูลนั่นเอง
การจัดอินเตอร์เฟซผู้ใช้
แก้สามารถใช้รหัส css ต่อไปนี้ซ่อนองค์ประกอบอินเตอร์เฟซผู้ใช้จำนวนมากซึ่งอาจไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บางคนได้
#p-coll-print_export, /* พิมพ์/ส่งออก */
#mw-history-searchform, /* ค้นหารุ่นบนสุดของหน้าประวัติ */
#pt-prefswitch-link-on,
#pt-prefswitch-link-anon,
#editpage-copywarn, /* "" เมื่อคุณกดปุ่ม บันทึก ถือว่าคุณยอมรับข้อกำหนดการใช้งาน... */
#editpage-copywarn2,
#wpSummaryLabel, /* ป้ายความย่อการแก้ไข */
#n-currentevents, /* สถานีย่อย:เหตุการณ์ปัจจุบัน */
#n-portal, /* วิกิพีเดีย:ศาลาประชาคม */
#n-aboutsite, /* วิกิพีเดีย:เกี่ยวกับ */
#n-sitesupport, /* บริจาคให้วิกิพีเดีย */
#n-randompage, /* สุ่มหน้า */
#n-contactpage, /* ติดต่อเรา */
#n-mainpage-description, /* หน้าหลัก */
#n-help, /* วิธีใช้:สารบัญ */
#t-upload, /* ลิงก์อัปโหลด */
#t-wikibase, /* ไอเท็มวิกิสนเทศ */
#t-specialpages, /* หน้าพิเศษ */
#t-recentchangeslinked, /* การเปลี่ยนแปลงล่าสุด */
#t-cite, /* วิธีอ้างอิงหน้านี้ */
#footer-info, /* กล่องสำหรับสองลิงก์ถัดไป */
#footer-info-lastmod, /* วันที่ดัดแปรล่าสุด */
#footer-info-copyright, /* อนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้... */
#footer-places, /* นโยบายความเป็นส่วนตัว/เกี่ยวกับ... */
#footer-icons, /* ไอคอน WMF และมีเดียวิกิ */
#uploadtext, /* สอนวิธีใช้ในหน้าอัปโหลด (MediaWiki:Uploadtext) */
#pt-betafeatures, /* แถบระยะทดสอบ */
#siteSub, /* จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี */
#t-print, /* รุ่นพิมพ์ได้ของหน้านี้ */
#t-curationtoolbar, /* Page Curation */
#feedlinks, /* Atom/RSS */
.posteditwindowhelplinks, /* The (help) links for templates used, parser profiling data and hidden categories. */
.editpage-head-copywarn, /* Content that violates any copyrights... */
.cancelLink, /* Cancel button in edit box */
.editHelp /* Help button in edit box */ { display: none }
#pt-userpage { background: none } /* ซ่อนภาพถัดจากหน้าผู้ใช้ */
สามารถใช้รหัส js ต่อไปนี้เพื่อซ่อนแถบเครื่องมือภาษา
$('#p-lang').remove();
ในวิชวลเอดิเตอร์ หากต้องการลบคำอธิบายความย่อการแก้ไขและคำเตือนสัญญาอนุญาตจากหน้าต่างยืนยันของวิชวลเอดิเตอร์ ใช้รหัสต่อไปนี้ใน css
.ve-ui-mwSaveDialog-summaryLabel,
.ve-ui-mwSaveDialog-license { display: none }
การเปลี่ยนป้าย
แก้หากต้องการเปลี่ยน 'หน้าผู้ใช้' เป็น 'ผู้ใช้', 'คุย' เป็น 'อภิปราย', 'ดูประวัติ' เป็น 'ประวัติ' ให้เพิ่มรหัสต่อไปนี้ใน js
เมื่อใช้วิชวลเอดิเตอร์ หากคุณต้องการแทนป้ายลิงก์แก้ไข ให้ใช้รหัส js ต่อไปนี้และเปลี่ยนป้ายตามความพอใจ