วิกฤติหนี้สาธารณะกรีซ

วิกฤติหนี้สาธารณะกรีซ (อังกฤษ: Greek government-debt crisis) หรือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของกรีซ (อังกฤษ: Greek depression)[3][4][5] คือวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2552 เมื่อกรีซเป็นประเทศแรกในกลุ่มยูโรโซนจากทั้งหมด 5 ประเทศ ที่เผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะจนเข้าขั้นวิกฤต ซึ่งภายหลังเรียกรวมวิกฤตการณ์ของกลุ่มประเทศเหล่านี้ว่าวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป ส่งผลให้เกิดความโกลาหลจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ โครงสร้างของเศรษฐกิจกรีซที่อ่อนแอลง และความเชื่อมั่นของบรรดาเจ้าหนี้ที่ลดลงอย่างฉับพลัน

Long-term interest rates in eurozone
อัตราดอกเบี้ยระยะยาว (อัตราผลตอบแทนในตลาดรองของพันธบัตรรัฐบาลที่มีระยะเวลาครบกำหนดภายในสิบปี) ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปยกเว้นเอสโตเนีย[1] อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นบ่งชี้ว่าตลาดการเงินมีข้อสงสัยอย่างมากเกี่ยวกับความคุ้มค่าของการลงทุนในแต่ละประเทศ[2]

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2552 ความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของกรีซเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการเปิดเผยว่ารัฐบาลกรีซบิดเบือนข้อมูลระดับหนี้สาธารณะและภาวะการขาดดุลงบประมาณของประเทศ[6][7][8] จนนำไปสู่วิกฤตความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุน สังเกตได้จากส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Yield spread) ของพันธบัตรรัฐบาล และต้นทุนการประกันความเสี่ยงในสวอปที่สะท้อนการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเยอรมนี[9][10]

ในปี พ.ศ. 2555 รัฐบาลกรีซผิดนัดชำระหนี้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และต่อมาในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 กรีซกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วประเทศแรกที่ไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ[11] ซึ่งในขณะนั้นรัฐบาลกรีซมีหนี้สินรวม 323,000 ล้านยูโร[12]

วิกฤตครั้งนี้ได้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561 อันเป็นวันสิ้นสุดโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซ เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของกรีซดีขึ้นจนไม่จำเป็นต้องมีโครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินจากอียูผ่านอีเอ็มเอสและองค์กรอื่น ๆ อีกต่อไป[13]

ภาพรวม แก้

 
การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับในต้นทุนแรงงานต่อหน่วย ในปี พ.ศ. 2543–2555

ในปี พ.ศ. 2542 เงินสกุลยูโรถูกริเริ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นสกุลเงินร่วมในการลดต้นทุนการค้าระหว่างประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปและเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าโดยรวม อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจหลักอย่างเยอรมนีแล้ว ต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเศรษฐกิจกรีซซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดรอง ทำให้การส่งออกของประเทศลดลงจนเป็นผลให้กรีซขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ[14]

การขาดดุลการค้าหมายความว่า ปริมาณการบริโภคภายในประเทศมีมูลค่ามากกว่าปริมาณสินค้าที่ตนเองผลิตได้ (ในอีกนัยหนึ่งก็คือการใช้จ่ายเกินตัว) จนทำให้ต้องมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ[14] ส่งผลให้ระดับการขาดดุลการค้าและการขาดดุลงบประมาณของกรีซเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี พ.ศ. 2542 สู่ระดับสูงสุดที่ประมาณร้อยละ 15 ของจีดีพี ในปี พ.ศ. 2551 - 2552 อีกแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่อาจเป็นไปได้ในการช่วยให้กระแสเงินทุนไหลเข้ากรีซก็คือ สถานะการเป็นสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป ซึ่งช่วยลดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2541 - 2550 (หมายความว่ากรีซสามารถกู้ยืมเงินได้โดยจ่ายผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำกว่าเดิม)[15] กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เมื่อมองกรีซในฐานะประเทศเดี่ยวแล้ว กรีซจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าการมองกรีซในฐานะประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งเท่ากับเป็นการบอกใบ้ให้นักลงทุนรู้สึกว่าสหภาพยุโรปจะนำมาตรฐานทางการเงินของตนมาใช้กับกรีซ และจะช่วยสนับสนุนกรีซในยามที่ประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ[16]

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาช่วง พ.ศ. 2550 - 2552 ส่งผลกระทบมายังยุโรป ทำให้กระแสเงินทุนจากประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในยุโรปไปยังประเทศเศรษฐกิจขนาดรองเริ่มลดลง และรายงานในปี พ.ศ. 2552 เกี่ยวกับนโยบายการคลังที่ผิดพลาดและการจงใจบิดเบือนข้อมูลของรัฐบาล ส่งผลให้ต้นทุนในการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่ากรีซไม่สามารถกู้ยืมเงินเพื่อนำมาชดเชยภาวะการขาดดุลทางการค้าและการขาดดุลงบประมาณได้อีกต่อไป[14]

ประเทศที่เผชิญกับ "การหยุดชะงัก" ในการลงทุนภาคเอกชนและภาระหนี้ที่สูงมักจะทำให้ค่าเงินอ่อนลง (เช่น เงินเฟ้อ) ส่งผลให้เป็นการส่งเสริมการลงทุนและจ่ายชำระหนี้คืนในสกุลเงินที่ถูกกว่า แต่นี่ไม่ใช่ตัวเลือกของกรีซในขณะที่อยู่ในกลุ่มสหภาพยุโรป[14] ค่าจ้างในประเทศลดลงเกือบร้อยละ 20 จากช่วงกลางปี พ.ศ. 2553 - 2557 ในรูปแบบของภาวะเงินฝืดแทนที่จะกลายเป็นการแข่งขันที่มากขึ้น ส่งผลให้รายได้หรือจีดีพีถูกลดความสำคัญลง ยังทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงและการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของอัตราส่วนหนี้สินต่อจีดีพี อัตราการว่างงานได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 จากระดับเดิมที่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2546 อย่างไรก็ตามการตัดลดงบประมาณภาครัฐที่สำคัญได้บรรลุผล ทำให้รัฐบาลกรีกเกินดุลงบประมาณหลัก นั่นคือรัฐบาลสามารถเก็บรายได้ได้มากกว่ารายจ่ายที่จ่ายออกไปโดยไม่รวมดอกเบี้ย[17]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "Long-term interest rate statistics for EU Member States". ECB. 12 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  2. Wearden, Graeme (20 September 2011). "EU debt crisis: Italy hit with rating downgrade". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 20 September 2011.
  3. "The Greek Depression" Foreign Policy
  4. "Greece has a depression worse than Weimar Germany’s—and malaria too" Quartz
  5. "[190] Thusday, Sept. 29: Keiser Report: The Greek Depression & Macing Bankers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ 29 June 2015.
  6. Higgins, Matthew; Klitgaard, Thomas (2011). "Saving Imbalances and the Euro Area Sovereign Debt Crisis" (PDF). Current Issues in Economics and Finance. Federal Reserve Bank of New York. 17 (5). สืบค้นเมื่อ 11 November 2013.
  7. George Matlock (16 February 2010). "Peripheral euro zone government bond spreads widen". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
  8. "Acropolis now". The Economist. 29 April 2010. สืบค้นเมื่อ 22 June 2011.
  9. "Greek/German bond yield spread more than 1,000 bps". Financialmirror.com. 28 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-01. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
  10. "Gilt yields rise amid UK debt concerns". Financial Times. 18 February 2010. สืบค้นเมื่อ 15 April 2011.
  11. "Greece fails to make IMF payment as bailout expires". CTVNews. สืบค้นเมื่อ 3 July 2015.
  12. BBC News, 30 June 2015: Greece debt crisis: Eurozone rejects bailout appeal
  13. "'อียู' จบโครงการอุ้มกรีซอย่างเป็นทางการหลังเศรษฐกิจ 'กรีซ' เริ่มพ้นวิกฤต". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 "Federal Reserve Bank San Francisco – Research, Economic Research, Europe, Balance of Payments, European Periphery". Federal Reserve Bank of San Francisco. 14 January 2013. สืบค้นเมื่อ 3 July 2015.
  15. "FRED Graph". stlouisfed.org. สืบค้นเมื่อ 3 July 2015.
  16. Vox-Ezra Klein-Greece's debt crisis explained in charts and maps-July 2015
  17. "Anil Kashyap-A Primer on the Greek Crisis-June 29, 2015" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 2015-07-18.