วันทอง
วันทอง เป็นละครโทรทัศน์ไทย ผลิตโดยเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ นำแสดงโดยณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ ชาคริต แย้มนาม ดาวิกา โฮร์เน่[3] และกฤษกร กนกธร กำกับโดยสันต์ ศรีแก้วหล่อ ออกอากาศตอนแรกในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564
วันทอง | |
---|---|
สร้างโดย | เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ |
เค้าโครงจาก | นิพนธ์ ผิวเณร พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์ พิมสิรินทร์ พงษ์วาณิชสุข จุติมา แย้มศิริ |
บทประพันธ์ | บทประพันธ์ : ดัดแปลงจากเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน[1] |
บทละครโทรทัศน์ | พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์ พิมสิรินทร์ พงษ์วาณิชสุข จุติมา แย้มศิริ |
กำกับโดย | สันต์ ศรีแก้วหล่อ |
แสดงนำ | ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ ชาคริต แย้มนาม ดาวิกา โฮร์เน่ กฤษกร กนกธร |
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง | อภิสิทธิ์ วงศ์โชติ |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | สองใจ - ดา เอ็นโดรฟิน[2] |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | สองใจ - ดา เอ็นโดรฟิน |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | 16 ตอน |
การผลิต | |
ควบคุมงานสร้าง | ถกลเกียรติ วีรวรรณ นิพนธ์ ผิวเณร |
ความยาวตอน | 130 นาที |
ออกอากาศ | |
สถานีโทรทัศน์ | ช่องวัน |
ออกอากาศ | 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 – 20 เมษายน พ.ศ. 2564 5 มกราคม พ.ศ. 2565 – 29 มกราคม พ.ศ. 2565 (ออกอากาศซ้ำ) |
เนื้อเรื่องมีเนื้อหาตีความใหม่ของเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ในมุมมองของวันทอง เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง โดยวันทองเป็นหนึ่งในตัวละครเด่น สาวงามแห่งเมืองสุพรรณ ลูกสาวของบ้านผู้มีฐานะดี มีนิสัยเจ้าคารม ชอบประชดประชัน เสียดสี วันทองเป็นที่หมายปองของชาย 2 คน คือ ขุนช้างและขุนแผน นำไปสู่การแก่งแย่งกันระหว่างทั้งสอง[4]
ผู้เขียนบทประกอบด้วยพิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์ พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข และจุติมา แย้มศิริ เริ่มต้นเขียนบทจากการอ่านนวนิยายก่อนเป็นพื้นฐานและค้นคว้าหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ปรับตัวละครให้สร้างความรู้สึกว่า "วันทองเกิดผิดยุค" ใช้เวลาเขียนบทนาน 1 ปี 3 เดือน[5]
นักแสดง
แก้ละครโทรทัศน์ | พ.ศ. 2564 |
---|---|
ตัวละคร | นักแสดงหลัก |
พลายแก้ว / ขุนแผน | ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ |
ขุนช้าง | ชาคริต แย้มนาม |
พิมพิลาไลย / วันทอง | ดาวิกา โฮร์เน่ |
พลายงาม / จมื่นไวยวรนาถ | กฤษกร กนกธร |
ตัวละคร | นักแสดงสมทบ |
สมเด็จพระพันวษา | พันเอก วันชนะ สวัสดี |
พระสุริยงเทวี | สุจิรา อรุณพิพัฒน์ |
บัวคลี่ | ลัลณ์ลลิน เตจะสา เวศซ์ |
ลาวทอง | เรวิญานันท์ ทาเกิด |
น้อย | ภัณฑิลา วิน ปานสิริธนาโชติ |
สายทอง | อริศรา วงษ์ชาลี |
เทพทอง | ดวงตา ตุงคะมณี |
แก้วกิริยา | กรกช แข็งขัน |
ทองประศรี | ปวีณา ชารีฟสกุล |
ศรีประจัน | อุทุมพร ศิลาพันธ์ |
ขรัวตาจู | รอง เค้ามูลคดี |
ศรพระยา | เลอวิทย์ สังข์สิทธิ์ |
โหงพราย | วรินทร รัตนสรรค์ |
กุมารทอง | ด.ช.พันธ์ชนกชนม์ พันธ์สังข์ |
ตัวละคร | นักแสดงรับเชิญ |
ร่างแปลงของขุนแผน | พงศธร จงวิลาส |
ร่างแปลงของวันทอง | ศกุนตลา เทียนไพโรจน์ |
ขุนช้าง (วัยเด็ก) | ด.ช.กิตติพัฒน์ รุ่งวัฒนไพบูลย์ |
พิมพิลาไลย / วันทอง (วัยเด็ก) | ด.ญ.เอวาริณ เตชะณรงค์ |
พลายแก้ว / ขุนแผน (วัยเด็ก) | ด.ช.ธนพัชญ์ จันทศร |
พลายงาม / พระไวย (วัยเด็ก) | ด.ช.เมลิค เอเฟ่ย์ ไอย์กูน |
หมื่นหาญ | ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล |
พระพิจิตร | คุณากร เกิดพันธุ์ |
ออกญายมราช | พิบูลย์ ท้ายห้วน |
ปุโรหิต | วัชรชัย สุนทรศิริ |
จมื่นศรี | ต่อตระกูล จันทิมา |
พ่อเฒ่า | อัมพร ปานกระโทก |
สมุนของหมื่นหาญ | สมเดช แก้วลือ |
พนา เบ็นซู | |
ชาวบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยา | อาท ลำนารายณ์ |
ชาวบ้านวังตะเคียน | ชัชฤทธิ์ วณิชย์พูลผล |
หมอแจ้ง | ชาลี อิ่มมาก |
แสงหล้า | ษัณณัช จริยศาสตร์ |
กระถิน | จิดาภา วัชรสินาพร |
ทหารพระพิจิตร | ปัญญากร ศรมยุรา |
เจ๊เฮียง (เจ้าของโรงชำเราบุรุษ) | พัฒน์ชนก เอี่ยมสะอาด |
อ้างอิง
แก้- ↑ ฉีกภาพจำหญิงสองใจในวรรณคดี "วันทอง 2021" เล่าผ่านมุมมองใหม่ที่หลายคนไม่เคยรู้
- ↑ “ดา เอ็นโดรฟิน” หวนร่วมงาน “ช่องวัน 31” ปล่อยซิงเกิลใหม่ “สองใจ” ลงละคร “วันทอง”
- ↑ “ใหม่-ดาวิกา” เค้นอารมณ์สุดอัดอั้น เปิดฉากคดี “วันทอง” หญิงสองใจ
- ↑ "รู้จัก วันทอง ทำไมถึงถูกตราหน้าจนถึงปัจจุบันว่าเป็น 'หญิงสองใจ'". ทีเอ็นเอ็น.
- ↑ กันตพงศ์ ก้อนนาค. ""วันทอง" เรื่องของหญิงสองใจ? สัมภาษณ์ทีมเขียนบทละครตีความ วันทอง 2021". ศิลปวัฒนธรรม.