วัดใหญ่วันนา หรือ วัดโคกใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 54 ถนนพหลโยธิน หมู่ที่ 10 ตำบลหนองไข่น้ำ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 30 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 7623[1]

วัดใหญ่วันนา
แผนที่
ชื่อสามัญวัดใหญ่วันนา, วัดโคกใหญ่
ที่ตั้งตำบลหนองไข่น้ำ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ประวัติ

แก้

วัดใหญ่วันนา ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2465 วัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกในหมู่บ้านโคกใหญ่ ซึ่งมีชื่อเดิมเรียกว่า “วัดโคกใหญ่” ห่างออกไปทางทิศตะวันออก 2 กิโลเมตร มีวัดอีกแห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า วัดหนองตะวันนา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2472 ในสมัยนั้นการคมนาคมที่จะไปทำบุญยากลำบากมาก คระกรรมการของทั้ง 2 วัด จึงประชุมกันและลงความเห็นว่า ควรย้ายทั้ง 2 วัดนี้ ไปยังสถานที่ที่สะดวกในการเดินทางไปวัด ใน พ.ศ. 2478 จึงได้รื้อถอนวัดทั้ง 2 วัด ย้ายมารวมกันในพื้นที่ตั้งวัดของวัดใหญ่วันนาในปัจจุบัน ซึ่งคุณยัง และคุณตุ่นแก้ว เขียวเนตร ได้ถวายที่ดินให้กับทางวัดในปี พ.ศ. 2495 ต่อมาใน พ.ศ. 2502 ได้มีการเปลี่ยนชื่อของวัดใหม่ โดยได้นำเอาตอนท้ายของชื่อวัดเก่าทั้ง – วัด คือ วัดโคกใหญ่ และวัดหนองตะวันนา มาตั้งเป็นชื่อใหม่ คือ วัดใหญ่วันนา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504[2]

อาคารและเสนาสนะ

แก้

อุโบสถ กว้าง 20 เมตร ยาว 35 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2504 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 30 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสวดมนต์ กว้าง 24 เมตร ยาว 19 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ จำนวน 2 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ วิหาร กว้าง 4.5 เมตร ยาว 5.5 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2551 ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มีหอระฆัง 1 หลัง โรงครัว 1 หลัง เรือนเก็บพัสดุ 1 หลัง [3]

ปูชนียวัตถุ

แก้

มีพระประธานประจำอุโบสถปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 พระประธาน ประจำศาลาการเปรียญปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2525 ปูชนียวัตถุอื่นๆ พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ลายพิกุล 2 องค์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 30 นิ้ว 1 องค์ พระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 20 นิ้ว 1 องค์ [4]

รายนามเจ้าอาวาส

แก้

มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

  • พระแก้ว พ.ศ. 2495 ถึง พ.ศ. 2496
  • พระเสน พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2501
  • พระอธิการอำนวย พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2512
  • พระจำนง พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2516
  • พระมหาอารีย์ พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2520
  • พระครูโสภณสังฆกิจ พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2539
  • พระอธิการบุญธรรม ฉนฺทธมฺโม พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2546
  • พระพฤหัส ถาวโร พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2550
  • พระชัยรัตน์ จนฺทปญฺโญ พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2556
  • พระครูปลัดถิรธัม์ ถิรธมฺโม มาเป็นรักษาการเจ้าอาวาสในปี 2557 และได้รับการแต่งตั้งจนเป็นเจ้าอาวาส จนถึงปัจจุบัน

[5]

อ้างอิง

แก้
  1. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 630
  2. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 631
  3. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 630
  4. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 630
  5. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 631