วัดเจ้าเจ็ดใน เป็นวัดราษฏร์ ตั้งอยู่บนริมฝั่งลำคลองเจ้าเจ็ด เลขที่ 34 ถนนเทศบาลเจ้าเจ็ด หมู่ที่ 3 ตำบลเจ้าเจ็ด อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

วัดเจ้าเจ็ดใน พระนครศรีอยุธยา
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเจ้าเจ็ดใน
ที่ตั้งเลขที่ 34 ถนนเทศบาลเจ้าเจ็ด หมู่ที่ 3 ตำบลเจ้าเจ็ด อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย (เถรวาท)
พระประธานพระพุทธรูป ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 59 นิ้ว สูง 65 นิ้ว
เจ้าอาวาสพระครูปลัดอนงค์ สุมฺคโล
เวลาทำการเปิดทุกวัน
จุดสนใจสักการบูชา พระพุทธเกสร
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

อาณาเขต แก้

มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา โฉนดเลขที่ 11891, 12215, 15223, 15952, อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับวัดเจ้าเจ็ดนอก
  • ทิศใต้ ติดต่อกับคลองสาธารณะ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับถนนเทศบาลเจ้าเจ็ด
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่บ้านประชาชน

มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 23 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา.[1]

ประวัติ แก้

วัดเจ้าเจ็ดใน เป็นวัดโบราณมีมาช้านาน เกิดขึ้นในสมัยหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้วใหม่ ๆ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2335 (ตามหนังสือรับรองสภาพวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ) ตามคำบอกเล่า และสันนิษฐานว่า พื้นที่ตั้งวัดเป็นท้องที่ลุ่ม ลาด มักถูกน้ำท่วมเป็นประจำในฤดูฝน อยู่ริมคลองเจ้าเจ็ด ซึ่งมีป่าพงรกร้างมาก จึงเป็นที่อาศัยของสัตว์ร้ายต่างๆ เช่น จระเข้ ช้าง และเสือ เป็นต้น และเป็นที่เหมาะสำหรับลี้ภัยสงครามพม่าของบรรดา เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ในครั้งนั้น เมื่อบรรดาเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ทั้งหลายลี้ภัยสงครามมาพำนักอาศัยอยู่ในเขตนี้ตำบลนี้จึงได้สร้างปูชนียวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ ประชาชนได้ถือเอาเป็นนิมิตที่ดีงามจึงร่วมใจกันสร้างเสริมต่อเติมให้เป็นวัดขึ้นมา ณ ที่นี้ และเพราะเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ทั้งหลายที่ลี้ภัยสงครามมาหลายพระองค์ด้วยกัน ซึ่งคงนับได้ 7 พระองค์ จึงได้ขนานนามวัดนี้ว่า “ วัดเจ้าเจ็ด ” ต่อมาภายหลังได้เกิดมีวัดขึ้นอีกวัดหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดเจ้าเจ็ดนี้ มีเนื้อที่ติดต่อกัน ดังนั้นวัดเจ้าเจ็ดจึงมีคำว่า“ใน”ต่อท้ายอีกคำหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกในปัจจุบันว่า “วัดเจ้าเจ็ดใน”ส่วนวัดเจ้าเจ็ดที่อยู่ทางด้านทิศเหนือเรียก “วัดเจ้าเจ็ดนอก[1]

ศาสนวัตถุ แก้

  • 1.1 พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูป ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง 59 นิ้ว สูง 65 นิ้ว
  • 1.2 พระพุทธรูป พุทธลักษณะ ปางสมาธิ พระนามว่า “พระพุทธเกสร” สร้างด้วยเกษรดอกไม้

สถานที่สำคัญ แก้

  • พลับพลาใจสมาน เป็นอาคารไม้ สร้างเมื่อ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2505 เพื่อเป็นเรือนรับรองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมบรมวงศ์ศานุวงศ์ เป็นการส่วนพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินต้น ที่วัดเจ้าเจ็ดใน เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 และตั้งแต่นั้นมา ทางวัดเจ้าเจ็ดในได้ถือวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทอดพระกฐินต้น ซึ่งตรงกับวันขึ้น 9 คำ เดือน 12 ได้จัดงานแห่พระพุทธเกสรไปตามลำคลองเจ้าเจ็ดมุ่งสู่วัดกระโดงทอง โดยมีขบวนเรือร่วมแห่ที่สวยงาม และเมื่อกลับจาดวัดกระโดงทองแล้ว ก็จัดให้มีการถวายพระพรพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ในพลับพลาใจสมาน เพื่อเป็นพุทธบูชา และราชานุสรณ์ จนมาถึงปัจจุบันนี้[1]

เสนาสนะ แก้

  1. อุโบสถ กว้าง 8 เมตร ยาว 19.50 เมตร สร้าง พ.ศ. 2450 โครงสร้างคอนกรีตได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อ 23 เมษายน พ.ศ. 2450 อุโบสถ
  2. วิหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2453 โดยพระธรรมดิลก (อิ่ม จนฺทสิริ) กับหลวงพ่อปั้น
  3. หอไตร สร้างด้วยคอนกรีต เป็นรูปทรง จตุรมุข 2 ชั้น ชั้นบน เก็บพระธรรมคัมภีร์พระไตรปิฎก ชั้นล่างสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง สร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. สมัยหลวงพ่อปั้นเป็นเจ้าอาวาส
  4. หอสวดมนต์ (หลังใหม่) สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537-2539 เป็นทรงไทร 2 ชั้น
  5. กุฏิสงฆ์ จำนวน 21 หลัง (ใหม่) สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537-2538 ลักษณะ เป็นอาคารไม้ทรงไทย
  6. ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ.- กว้าง - เมตร ยาว - เมตร บูรณะครั้งใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2551
  7. มณฑป จตุรมุข สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2534-36 เป็นที่ประดิษฐานอดีตพระมหาเถระของวัดเจ้าเจ็ดใน[1]

นอกจากนี้ ยังมี ฌาปนสถาน 1 หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล าลาอเนกประสงค์ เรือนเก็บพัสดุ โรงครัว และ ซุ้มประตูวัด

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

ลำดับเจ้าอาวาสวัดเจ้าเจ็ดใน ต.เจ้าเจ็ด อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
ลำดับที่ รายนาม/สมณศักดิ์ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 พระอาจารย์จีน - -
2 พระอุปัชฌาย์ปั้น - -
3 พระครูพรหมวิหารคุณ(หลวงพ่อยิ้ม) พ.ศ. - พ.ศ. 2499
4 พระอาจารย์คำ ติสฺโส
รักษาการเจ้าอาวาส
พ.ศ. 2499 พ.ศ. 2505
5 พระครูเสนาคณานุรักษ์ (หลวงพ่อหยด) พ.ศ. 2505 พ.ศ.2552
6   พระอธิการสังเวียน ชุติมา พ.ศ. 2553 === พ.ศ.2558 ===
7 พระครูปลัดอนงค์ สุมฺคโล พ.ศ2558 ปัจจุบัน

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 หนังสือรับรองสภาพวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ,: หนังสือเจ้าอาวาสและวัดในประเทศไทย (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เล่มที่ 3 หน้าที่ 581 กรมการศาสนา.