วัดศิริวัฒนาราม

วัดในกรุงเทพมหานคร

วัดศิริวัฒนาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ในแขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 9 ไร่ กับ 67 ตารางวา โดยมีพระอธิการเฉลิม ธนิสสโร (เฟื่องฟู) เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน[1]

วัดศิริวัฒนาราม
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 61/1 ถนนพัฒนา แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระอธิการเฉลิม ธนิสสโร (เฟื่องฟู)
ความพิเศษศาลแม่โพสพ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดศิริวัฒนารามตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2525 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2535[2] เดิมที่ของวัดเป็นของนายถินและนางแก้ว ต่อมานายถินและนางแก้วได้ยกที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่นางสาวศิริ หยุนแดง ภายหลังนางสาวศิริได้ถวายที่ดินผืนนี้ จำนวน 9 ไร่ กับ 67 ตารางวา เป็นธรณีสงฆ์ ได้ยกระดับจากสำนักสงฆ์เป็นวัดต่อไป เมื่อประมาณ พ.ศ. 2517 ได้ตั้งชื่อวัดว่า "วัดศิริวัฒนาราม" ตามชื่อบริจาคให้วัด ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2539–2540 ทางวัดได้จัดงานผูกพัทธสีมาและตัดหวายลูกนิมิต

วัดแห่งนี้มีศาลแม่โพสพ มีประวัติว่า ราวสมัยรัชกาลที่ 5–6 ชาวบ้านผัวเมียแช่ข้าวสารค้างคืนตั้งใจจะโม่เป็นแป้งข้าวเจ้าไว้ทำเส้นขนมจีน พอรุ่งเช้าข้าวสารได้งอกเป็นต้นข้าว ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นลางร้าย สองตายายเลยเอาข้าวสารงอกไปผสมดินปั้นเป็นรูปแม่โพสพขึ้นไว้ แล้วตั้งศาลทรงไทยขึ้นเป็นที่ประดิษฐานที่สี่แยกจุดตัดของคลองในย่านนั้น แต่รูปปั้นแม่โพสพองค์เดิมถูกขโมยไป ชาวบ้านจึงช่วยกันจัดหารูปแม่โพสพองค์ใหม่ แล้วย้ายศาลมาตั้งในวัดศิริวัฒนารามที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อให้ใกล้หูใกล้ตามีคนคอยช่วยดูแล[3] วัดยังมีแม่นางกวักและพระแม่ธรณีบีบมวยผม[4]

รายนามเจ้าอาวาส แก้

  • พระอาจารย์จรูญ (พ.ศ. 2517)
  • พระอาจารย์จ้อย (พ.ศ. 2519)
  • พระอาจารย์ไสว
  • พระอาจารย์เสถียร (ประมาณ พ.ศ. 2524–2527)
  • พระอาจารย์น้อย (ประมาณ พ.ศ. 2528–2529)
  • พระอาจารย์บุญมาก (ประมาณ พ.ศ. 2530–2533)
  • พระอาจารย์อาจ (ประมาณ พ.ศ. 2533–2535)
  • พระอธิการเฉลิม ธนิสสโร (เฟื่องฟู)

อ้างอิง แก้

  1. "วัดศิริวัฒนาราม". พระสังฆาธิการ.
  2. "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ 2020-12-11.
  3. "ศาลแม่โพสพ 5 สิงหาคม 2017". สารคดี.
  4. "บ้านสวน : สังคมลุ่มน้ำลำคลอง". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.[ลิงก์เสีย]