วัดยาง (กรุงเทพมหานคร)

วัดในเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร

วัดยาง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ในแขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งหมดโดยประมาณ 24 ไร่ 2 งาน 31 ตารางวา และที่ธรณีสงฆ์อีก 1 แปลงที่มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา

วัดยาง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดยาง
ที่ตั้งเลขที่ 1197 ซอยอ่อนนุช 23 ถนนอ่อนนุช แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อโต
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ แก้

วัดยางตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2384 ไม่มีหลักฐานปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ สาเหตุที่เรียกว่าวัดยางเนื่องจากแต่เดิมมีพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ปางมารวิชัยที่สร้างขึ้นจากไม้แกะสลัก นามว่า หลวงพ่อโต ลอยมาหยุดหรือมายั้งบริเวณท่าน้ำหน้าวัด ชาวบ้านได้อัญเชิญหลวงพ่อโตขึ้นมาตั้งไว้ในวัดเพื่อกราบไหว้บูชา จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดยั้ง แต่ต่อมาเรียกเพี้ยนจนมาเป็นชื่อปัจจุบัน[1]

ในปี พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา[2]

อาคารเสนาสนะ แก้

พระอุโบสถสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2394 เดิมเป็นเรือนไม้ เก๋งจีน ก่ออิฐถือปูน ต่อมาสร้างใหม่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มุงหลังคา 2 รดน้ำด้วยกระเบื้องเผาเคลือบสี มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ยาว 18 เมตร จนปี พ.ศ. 2536 ได้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมเป็นขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร หลังคา 3 รดน้ำ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบมัน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537

พระวิหารกว้าง 20 เมตร ยาว 27.20 เมตร หลังคาทรงไทยใบเทศ ตรีมุข (สามมุข) มีช่อฟ้าใบระกา มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ ประดิษฐานหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่สร้างจากไม้แกะสลัก

อ้างอิง แก้

  1. "วัดยาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-23. สืบค้นเมื่อ 2020-09-24.
  2. "ยก20 วัดเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี". โพสต์ทูเดย์. 8 มิถุนายน 2555.