วัดท้ายตลาด (จังหวัดอุตรดิตถ์)

วัดในจังหวัดอุตรดิตถ์

วัดท้ายตลาด หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดท้ายตลาด (ชื่อเดิม วัดท่าทราย) ถนนสำราญรื่น บ้านท่าอิฐ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลท่าเสา ตัววัดมีเนื้อที่ 19 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา

วัดท้ายตลาด
แผนที่
ชื่อสามัญวัดท้ายตลาด
ที่ตั้งสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูสังฆรักษ์สิน ฐิตธมฺโม
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ปัจจุบันวัดท้ายตลาด เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างและวัดพัฒนาดีเด่น มี พระครูสังฆรักษ์สิน ฐิตธมฺโม เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน[1]

ประวัติ แก้

 
ศาลาการเปรียญวัดท้ายตลาดหลังเก่า

วัดท้ายตลาด เป็นวัดที่ถูกย้ายมาสร้างขึ้นใหม่ เพราะเดิมนั้นวัดตั้งอยู่ที่บ้านท่าอิฐล่าง ติดแม่น้ำน่าน ด้านฝั่งทิศตะวันตก เดิมชื่อว่า “วัดท่าทราย” เป็นวัดเก่าแก่ที่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สืบถามจากคนเก่าแก่ที่มีอายุมาก บอกว่าวัดถูกภัยธรรมชาติ คือน้ำเซาะตลิ่งพังลงมาเรื่อย ๆ นานเข้าก็ถึงกุฏิ และศาลาการเปรียญ ท่านเจ้าอาวาส รูปแรกคือพระอุปัชฌาย์หรั่ง สุวณฺโณ จึงได้ย้ายวัดท่าทรายมาสร้างใหม่ที่ท้ายตลาดท่าเสา ห่างจากแม่น้ำน่านประมาณ 100 เมตร ประชาชนมักนิยมเรียกวัดที่ย้ายมาสร้างใหม่ว่า “วัดท้ายตลาด” [1]

ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างวัด ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อปี พ.ศ. 2401 มีพระบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ( อุโบสถหลังก่า ) ปี พ.ศ. 2446 มีพระบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ( อุโบสถหลังใหม่ ) ปี พ.ศ. 2526

ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโฉนด เลขที่ 328 กรรมสิทธิ์ที่ดินป็นของวัด[1]

รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่รูปแรกจนถึงปัจจุบัน แก้

  • รูปที่ 1. พระอุปัชฌาย์หรั่งสุวณฺโณ พ.ศ. 2437 ถึง พ.ศ. 2456
  • รูปที่ 2. อาจารย์ เย็น อุ่นมิ้ม สัทธิวิหาริกของหลวงปู่ เป็นเจ้าอาวาสแทน
  • รูปที่ 3. พระอาจารย์โด้ และได้ลาสิกขา พ.ศ. 2471
  • รูปที่ 4. พระอธิการหนุน คล้ายมี พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2473 พระอธิการหนุนลาออกจากตำแหน่ง เพราะย้ายไปอยู่ที่อื่น
  • รูปที่ 5. พระมหาแถม อตฺตโม (วิเวกจวง) ป.ธ.3 สำนักวัดระฆังโฆสิตาราม และเริ่มตั้งสำนักเรียนมาจนถึงปัจจุบัน พระมหาแถมได้ลาสิกขา พ.ศ. 2476
  • รูปที่ 6. หลวงพ่อถม รุ่งเรืองแสง และได้ลาสิกขา เมื่อปลายปี 2476
  • รูปที่ 7. พระอาจารย์ปลั่ง จนฺโท (จันทร์หอม) และได้ลาสิกขา พ.ศ. 2479
  • รูปที่ 8.พระอาจารย์ผัน จิตฺสุตฺโต (สังข์บัวแก้ว) และได้ลาสิกขา พ.ศ. 2485
  • รูปที่ 9. พระราชประสิทธิคุณ ( ทองคำ ปริสุทฺโธ) อยู่คุ้ม พ.ศ. 2486 ถึง พ.ศ. 2536
  • รูปที่ 10. พระครูปิยธรรมกิจ (สุวรรณ กนฺตธมฺโม) แซ่ด่าน พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2554
  • รูปที่ 11. พระครูสังฆรักษ์ประจวบ เขมธมฺโม (จีนอยู่) พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2557
  • รูปที่ 12. พระครูสังฆรักษ์สิน ฐิตธมฺโม (ห้องพ่วง) พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน

[1]

อาณาเขตที่ตั้งวัด แก้

พื้นที่ตั้งของวัดมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบอยู่ติดกับชุมชนนอกจากนี้มีโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร) ตั้งอยู่ในที่ดินของวัด เนื้อที่ 6ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา และสถานีอนามัยมีเนื้อที่ 2 ไร่

ที่กัลปนาวัด มี 3 แปลงรวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 16 ไร่ 3 งาน 189 ตารางวา คือ แปลงที่ 1 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเนื้อที่ 8ไร่ 48ตารางวาหนังสือกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ นายเป้า พุทธรักษ์ขิต เลขที่ 9935 แปลงที่ 2 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเนื้อที่ 5 ไร่ 72ตารางวาหนังสือกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ นายเป้า พุทธรักษ์ขิต เลขที่ 9936 และแปลงที่ 3 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเนื้อที่ 3 ไร่ 3 วา 9 ตารางวา หนังสือกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ นางมัชฌิมา เดชวรรณธนะ เลขที่ 9925 (ใช้จัดประโยชน์สงเคราะห์ เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน)[1]

ศาสนสถาน-ถาวรวัตถุ แก้

 
วิหารพระพุทธชินราชจำลอง
  • อุโบสถ สร้างเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2524 กว้าง 40 เมตรยาว 80 เมตร พระประธานในอุโบสถ หน้าตักกว้าง 69 นิ้ว สูง 99 นิ้ว (ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อเพชรจิรกิตติคุณ) มีพระโมคคัลลานะ ในพระอุโบสถ 2 องค์ สูง 74 นิ้ว
  • วิหารพระพุทธชินราชจำลอง ภายในประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง หน้าตักกว้าง 59 นิ้ว พระโมคคัลลานะ ในพระอุโบสถ 2 องค์ สูง 120 นิ้ว
  • ศาลาการเปรียญ กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2444
  • วิหารประดิษฐานหลวงปู่อุปัชฌาย์หรั่ง สุวณฺโณ (อดีตเจ้าอาวาสรูปแรก) ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ยกพื้นมีบันได พื้นปูหินอ่อน หลังคาจัตุรมุข กว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร
  • กุฏิสงฆ์ (สำนักงานสงฆ์จังหวัด อาคารกึ่งไม้ ลักษณะไทยประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร จำนวน 1 หลัง โรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 1 หลัง
  • ศาลาพระราชประสิทธิคุณ (ทองคำ ปริสุทฺโธ) ทรงไทยประยุกต์ พื้นคอนกรีตหลังคามุงกระเบื้อง กว้าง 15 เมตร ยาม 18 เมตร
  • โรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 1 หลัง กว้าง 5 เมตร ยาว 15 เมตร
  • ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น
  • ศาลาเทียมจันทร์ เหมาะประสิทธิ์ ลักษณะทรงไทย พื้นปูกระเบื้อง กว้าง 10 เมตร ยาว 15 เมตร
  • กุฏิกรรมฐานหลังเดี่ยว กว้าง 4 เมตร ยาว จำนวน 10 หลัง
  • กุฏิแถว 10 ห้อง จำนวน 1 หลัง[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 พระประกิต สุทธิธฺมโม (ชัยสิทธิ์) และพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี. (2559). โครงการบันทึกข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย จังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์ : หน่วยวิทยบริการวัดหมอนไม้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

17°38′32″N 100°06′47″E / 17.642098°N 100.112947°E / 17.642098; 100.112947