วัดธรรมาธิปไตย เดิมชื่อ วัดต้นมะขาม[1] ตั้งอยู่ใกล้สี่แยกจุดตัดถนนอินใจมี กับถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ตั้งอาคารธรรมสภาซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาบานประตูวิหารวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นประตูไม้แกะสลักที่มีความสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์และสวยงามเป็นที่สองรองจากบานประตูวัดสุทัศนเทพวราราม[2]

วัดธรรมาธิปไตย
ซุ้มประตูวัดธรรมาธิปไตย
แผนที่
ชื่อสามัญวัดธรรมาธิปไตย
ที่ตั้งถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท (มหานิกาย)
เจ้าอาวาสพระมหามงคล กตปุญฺโญ ป.ธ.๗
ความพิเศษสถานที่เก็บรักษาบานประตูวิหารวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ
จุดสนใจสักการะหลวงพ่อเชียงแสน, ชมบานประตูวัดพระฝาง
กิจกรรมงานเทศกาลลอยกระทงวัดธรรมาธิปไตย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดธรรมาธิปไตยนั้นได้เคยเป็นที่ตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ระยะหนึ่ง[3] (อาคารธรรมสภาชั้นล่าง) ปัจจุบันเป็นวัดจำพรรษาของเจ้าคณะอำเภอตรอน และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาประจำจังหวัดเช่น กิจกรรมอบรมและการประกวดต่าง ๆ ในเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ประวัติ แก้

วัดธรรมาธิปไตย เดิมชื่อ วัดท่าทราย เนื่องจากเดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน (ท่าอิฐล่าง) หรือบ้านบางโพเหนือ ต่อมาน้ำได้กัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อย ๆ จนถึงที่ตั้งวัด จึงต้องย้ายหนีน้ำขึ้นมาห่างจากที่เดิมประมาณสองกิโลเมตร สภาพที่ตั้งใหม่มีต้นไม้ร่มรื่นมากมาย โดยเฉพาะมีต้นมะขามขนาดใหญ่อย่ในบริเวณวัด จึงได้ชื่อวัดใหม่ว่า วัดต้นมะขาม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2345

ต่อมาเจ้าคณะจังหวัดได้ส่ง พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.๘) มาเป็นเจ้าอาวาสวัดต้นมะขาม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมพ.ศ. 2482 พระสุธรรมเมธีดำริว่าชื่อวัดต้นมะขามนั้นฟังเหมือนอยู่ในป่าและต้นมะขามใหญ่นั้นก็ไม่มีปรากฏแล้ว อีกทั้งวัดในขณะนั้นอยู่กลางเมืองอุตรดิตถ์มีผู้คนผ่านไปมามากควรเปลี่ยนชื่อใหม่ให้ไพเราะ จึงได้ทำการขออนุญาตเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดธรรมาธิปไตย ตั้งแต่นั้นมา[4]

อาณาเขตที่ตั้งวัด แก้

ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 19 ไร่ 24 ตารางวา ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบเป็นที่ราบตั้งอยู่กลางชุมชน

  • ทิศเหนือ ยาว 200 เมตร จดทางสาธารณะ (ถนนอินใจมี)
  • ทิศใต้ ยาว165 เมตร จดที่ส่วนบุคคล (พ.ต.ธีระ)
  • ทิศตะวันออก ยาว 200 เมตร จคทางสาธารณะ (ถนนสำราญรื่น)
  • ทิศตะวันตก ยาว 180 เมตร จดที่ส่วนบุคคล (นายทองดา ขุนอินทร์)

ศาสนสถานและศิลปวัตถุสำคัญ แก้

 
หลวงพ่อเชียงแสน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์วัดธรรมาธิปไตย ประดิษฐานในอาคารอุโบสถธรรมสภา

ดูประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อเชียงแสนเพิ่มได้ที่ ประวัติพระพุทธสุโขทัยไตรโลกเชษฐ์ ฯ เก็บถาวร 2008-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

 
การจัดวางบานประตูวัดพระฝาง ภายในอาคารธรรมสภา
  • บานประตูวิหารวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ เดิมอยู่วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถแต่เนื่องจากวิหารชำรุดทรุดโทรมมาก เจ้าคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้นจึงได้ขออนุญาตกรมศิลปากรนำมาเก็บรักษาไว้ที่ อาคารธรรมสภา วัดธรรมาธิปไตย มาตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494

บานประตูคู่นี้แกะสลักในสมัยอยุธยา แต่ละบานขนาดกว้าง 1.2 เมตร สูง 5.3 เมตร และหนาถึง 16 เซนติเมตร ทำจากไม้ปรูแกะสลักเป็นลายกนกก้านขด ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ บานละ 7 พุ่ม ระหว่างพุ่มทรงข้าวบิณฑ์มีกนกใบเทศขนาบ สองข้างขวามือด้านบนมีอกเลาประตูอยู่ตรงกลาง แกะสลักเป็นลายเทพพนม ตอนบนอกเลา 4 องค์ตอนล่างอกเลา 4 องค์ กล่าวกันว่างดงามเป็นที่สองรองจากประตูวิหารวัดสุทัศน์ในกรุงเทพฯ

ข้อมูลจำเพาะ แก้

วัดธรรมาธิปไตย ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างวัดตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อปี พ.ศ. 2430 มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2485[7]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-21. สืบค้นเมื่อ 2007-11-25.
  2. "สถานที่ท่องเที่ยว ในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-31. สืบค้นเมื่อ 2007-09-05.
  3. "เว็บไซต์ สนง.พระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์ วัดธรรมาธิปไตย (อาคารธรรมสภาชั้นล่าง)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-10. สืบค้นเมื่อ 2007-09-05.
  4. มงคล กตปุญฺโญ.พระมหา. ประวัติวัดธรรมาธิปไตย.พิมพ์ครั้งที่ 1.อุตรดิตถ์:โชคดีการพิมพ์, 2551
  5. "กว่าจะมาเป็นธรรมสภา. จากเว็บไซต์สำนักพิมพ์ธรรมสภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-05-22.
  6. เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น : ประเพณีวัฒนธรรมและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวัดและหมู่บ้านคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์: วัดคุ้งตะเภา, ๒๕๕๑.
  7. กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๗ หน้า ๖๙