วัดทัศนารุณสุนทริการาม
วัดทัศนารุณสุนทริการาม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีเขตพื้นที่ทั้งสิ้น 11 ไร่ 2 งาน 16 ตารางวา (นับรวมบริเวณที่เป็นเขตบ้านเช่า 3 ไร่ 3 งานเข้าด้วย) ปัจจุบันเจ้าอาวาสคือ พระราชศีลาจาร (บรรทม ฐิตปญฺโญ ป.ธ.๖)
วัดทัศนารุณสุนทริการาม | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดทัศนารุณสุนทริการาม, วัดตะพาน |
ที่ตั้ง | เลขที่ 51 ซอยราชปรารภ 22 ถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงพ่อโต |
เจ้าอาวาส | พระราชศีลาจาร (บรรทม ฐิตปญฺโญ ป.ธ.๖) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวปลายสมัยกรุงธนบุรีหรือต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากข้อมูลของกรมการศาสนาระบุว่าสร้าง พ.ศ. 2320[1] เดิมชื่อว่า วัดตะพาน ที่มาของชื่อนี้คาดว่ามาจากการที่ผู้บริจาคทรัพย์สร้างวัดคือ ตาผ่าน จึงตั้งชื่อวัดว่า "วัดตาผ่าน" และเพี้ยนมาเป็น "วัดตะพาน" อีกข้อสันนิษฐานคือ บริเวณหน้าวัดมีสะพานข้ามคลองสามเสน จึงเรียกว่า "วัดสะพาน" แต่คนสมัยนั้นอาจเรียกเลือนเสียงไปว่า "วัดตะพาน"
ส่วนชื่อ "วัดทัศนารุณสุนทริการาม" มาจากคหปตานีผู้หนึ่งคือ หม่อมหรุ่น เป็นผู้ศรัทธาได้บริจาคทรัพย์เป็นจำนวนมากเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์วัด ท่านเจ้าคุณพระธรรมปาโมกข์ (ถม) วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นญาติกับหม่อมหรุ่น เห็นว่าหม่อมหรุ่นได้ทำคุณประโยชน์ต่อวัดตะพานเป็นอันมาก อีกทั้งเห็นว่าชื่อวัดตะพานนั้นไม่มีความไพเราะ จึงได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "วัดทัศนารุณสุนทริการาม"[2]
วัดได้รับพระราชทางวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2536
หลวงพ่อโต
แก้พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย อายุกว่า 700 ปี มีนามว่า หลวงพ่อโต เล่ากันว่าองค์หลวงพ่อโตสร้างขึ้นโดยใช้พระเศียรของพระพุทธรูปแบบสุโขทัยซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ในเวลาต่อมาก็สร้างวิหารครอบองค์หลวงพ่อโตอีกที ฐานรากของวิหารและองค์พระที่รองรับองค์พระทำด้วยอิฐก่อขนาดใหญ่ ต่อมาจึงได้บูรณะโครงสร้างนี้[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
- ↑ "ประวัติวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
- ↑ ธเนศ วีระศิริ. "ยกวิหารและองค์หลวงพ่อโต". โพสต์ทูเดย์.