วัฒนธรรมแคนเซิล

วัฒนธรรมแคนเซิล หรือ วัฒนธรรมคอลเอาต์ เป็นการขับออกจากสังคม (ostracism) แบบสมัยใหม่ ซึ่งมีการผลักไสบุคคลออกจากแวดวงสังคมหรือวิชาชีพ โดยอาจเป็นแบบออนไลน์ บนสื่อสังคม หรือส่วนบุคคล ซึ่งบุคคลที่ถูกขับออกจากสังคมในลักษณะนี้จะเรียกว่า "ถูกแคนเซิล" (cancelled)[2]

เจ. เค. โรว์ลิงเป็นตัวอย่างบุคคลที่ "ถูกแคนเซิล" เนื่องจากความเห็นต่อบุคคลข้ามเพศ[1]

แนวคิดของวัฒนธรรมแคนเซิลเป็นลักษณะหนึ่งของวัฒนธรรมคอลเอาต์ ซึ่งเป็นการคว่ำบาตร (boycotting) รูปแบบหนึ่งต่อบุคคล (ซึ่งปกติเป็นผู้มีชื่อเสียง) ที่ได้กระทำหรือพูดในเชิงที่น่าตั้งคำถามหรือเป็นที่ถกเถียง[3][4][5][6]

ผู้ที่ถูกแคนเซิลอาจทำให้เสียชื่อเสียงและรายได้อย่างกู้คืนได้ยาก[7]

คำนี้มักใช้ในความหมายเชิงลบ และมักใช้ในการถกเถียงเกี่ยวกับเสรีภาพในการพูดและการตรวจพิจารณา[8][9] อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา กล่าวว่า "คนทำสิ่งดี ๆ ก็มีข้อบกพร่องได้"[10] และดอนัลด์ ทรัมป์ อ้างว่า วัฒนธรรมนี้ไม่ต่างจากเผด็จการเบ็ดเสร็จ คือใช้เป็นอาวุธทางการเมืองเพื่อลงโทษและทำให้บุคคลอับอาย ตลอดจนหวังให้เขายอมจำนน[11]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Schocket, Ryan. "13 Celebs Who Were Actually Canceled In 2020". BuzzFeed (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  2. McDermott, John (November 2, 2019). "Those People We Tried to Cancel? They're All Hanging Out Together". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 3, 2020.
  3. Sills, Sophie; Pickens, Chelsea; Beach, Karishma; Jones, Lloyd; Calder-Dawe, Octavia; Benton-Greig, Paulette; Gavey, Nicola (March 23, 2016). "Rape culture and social media: young critics and a feminist counterpublic". Feminist Media Studies. 16 (6): 935–951. doi:10.1080/14680777.2015.1137962. S2CID 147023782.
  4. Munro, Ealasaid (August 23, 2013). "Feminism: A Fourth Wave?". Political Insight. 4 (2): 22–25. doi:10.1111/2041-9066.12021. S2CID 142990260. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2019. สืบค้นเมื่อ April 29, 2020.
  5. Yar, Sanam; Bromwich, Jonah Engel (October 31, 2019). "Tales From the Teenage Cancel Culture". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2020. สืบค้นเมื่อ July 4, 2020.
  6. Bromwich, Jonah Engel (June 28, 2018). "Everyone Is Canceled". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2019. สืบค้นเมื่อ July 4, 2020.
  7. "What is the cost of 'cancel culture'?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
  8. Brown, Dalvin. "Twitter's cancel culture: A force for good or a digital witchhunt? The answer is complicated". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  9. "Where Did Cancel Culture Come From?". Dictionary.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2020. สืบค้นเมื่อ July 28, 2020.
  10. "Obama laid into young people being 'politically woke' and 'as judgmental as possible' in a speech about call-out culture". Business Insider. October 30, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2020. สืบค้นเมื่อ July 23, 2020.
  11. Daniel Dale. "A list of people and things Donald Trump tried to get canceled before he railed against 'cancel culture'". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2020. สืบค้นเมื่อ August 1, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้