การกีดกันทางสังคม

การกีดกันทางสังคม (อังกฤษ: social exclusion) เป็นการขัดขวางทางสังคมและขับออกไปสุดขอบของสังคม คำนี้ใช้กันแพร่หลายในทวีปยุโรปและใช้ครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส[1] มีการใช้ในหลายสาขาวิชารวมทั้งการศึกษา สังคมวิทยา จิตวิทยา รัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์

การกีดกันทางสังคมเป็นกระบวนการซึ่งปัจเจกบุคคลหรือทั้งชุมชนถูกสกัดกั้น (หรือปฏิเสธการเข้าถึงอย่างเต็มที่)ซึ่งสิทธิ โอกาสและทรัพยากรต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งสมาชิกของกลุ่มอื่นเข้าถึงได้เป็นปกติ และเป็นมูลฐานของบูรณาการทางสังคมในกลุ่มจำเพาะนั้น[2] (เช่น ที่อยู่อาศัย การจ้างงาน การสาธารณสุข การร่วมมือของพลเมือง การมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยและกระบวนการทางกฎหมาย) บุคคลที่ถูกกีดกันทางสังคมอาจเรียกว่า "ผู้ที่ถูกสังคมปฏิเสธ" (อังกฤษ: marginal people; marginalisation)

การตีตัวออกห่าง หรือการถอนสิทธิพิเศษอันเป็นผลจากการกีดกันทางสังคม สามารถเชื่อมโยงกับชนชั้นทางสังคม สถานะการศึกษา ความสัมพันธ์ในวัยเยาว์[3] มาตรฐานการครองชีพหรือทางเลือกส่วนบุคคลตามสมัยนิยมของบุคคล รูปแบบการเลือกปฏิบัติที่เป็นการกีดกันนี้ยังอาจใช้กับบุคคลที่มีความพิการ ชนกลุ่มน้อย กลุ่ม LGBT ผู้ใช้สารเสพติด[4] ผู้ที่ถูกปล่อยให้สถาบันดูแล (institutional care leaver)[5] ผู้สูงอายุและเยาวชน ผู้ที่ดูเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานที่ประชากรรับรู้อาจถูกกีดกันทางสังคมไม่ว่าชัดเจนหรือไม่

ผลของการกีดกันทางสังคมคือ ปัจเจกบุคคลหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบนั้นถูกขัดขวางจากการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในชีวิตเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของสังคมที่ตนอาศัยอยู่[6]

อ้างอิง แก้

  1. Hilary Silver, “Social Exclusion and Social Solidarity.” International Labour Review 133, nos. 5-6 (1994): 531-78.
  2. Adler School of Professional Psychology
  3. "The Salvation Army: The Seeds of Exclusion (2008)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-27. สืบค้นเมื่อ 2016-01-29.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-01-29.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-15. สืบค้นเมื่อ 2016-01-29.
  6. Young, I. M. (2000). Five faces of oppression. In M. Adams, (Ed.), Readings for Diversity and Social Justice (pp. 35–49). New York: Routledge.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้