วงศ์เม่นโลกใหม่
วงศ์เม่นโลกใหม่ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีนยุคสุดท้าย-ปัจจุบัน | |
---|---|
เม่นต้นไม้ หรือ เม่นบราซิล (Coendou prehensilis) พบในป่าฝนของบราซิล | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Rodentia |
อันดับย่อย: | Hystricomorpha |
อันดับฐาน: | Hystricognathi |
วงศ์: | Erethizontidae Bonaparte, 1845 |
วงศ์ย่อยและสกุล | |
ชื่อพ้อง | |
|
เม่นโลกใหม่ (อังกฤษ: New world porcupine, วงศ์: Erethizontidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จำพวกเม่น ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erethizontidae
เม่นโลกใหม่มีสายการวิวัฒนาการเป็นของตัวเอง จึงมีลักษณะโดยทั่วไปแตกต่างจากเม่นในวงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae) คือ เม่นโลกใหม่จะมีความยาวลำตัวที่สั้นกว่า คือ มีความยาวประมาณ 1 ฟุต มีส่วนหางยาวกว่า หนามแหลมตามลำตัวซึ่งเป็นเส้นขน มีความสั้นกว่า และซ่อนอยู่ใต้เส้นขนอ่อนตลอดทั้งลำตัว สามารถใช้หางนี้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้ มีพฤติกรรมการหากินบนต้นไม้เป็นหลัก โดยกินอาหารหลักได้แก่ ใบไม้และยอดไม้อ่อน ๆ หรือเปลือกไม้เป็นอาหาร นอกจากนี้แล้วยังกินแมลงได้อีกด้วย ลูกวัยอ่อนสามารถปีนต้นไม้ได้ตั้งแต่เกิดมาได้เพียง 2 วัน และอายุได้ราว 10 วัน ก็สามารถหาใบไม้กินเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแม่
มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า
พบกระจายพันธุ์ในป่าฝนของซีกโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ [1]
การจำแนก
แก้- วงศ์ย่อย Chaetomyinae
- สกุล Chaetomys
- เม่นบริสเตล (Chaetomys subspinosus)
- วงศ์ย่อย Erethizontinae
- สกุล Coendou
- เม่นสองสี (Coendou bicolor)
- เม่นแอนเดียน (Coendou quichua)
- เม่นแคระดำ (Coendou nycthemera)
- เม่นบราซิล (Coendou prehensilis)
- เม่นรอธส์ไซด์ (Coendou rothschildi)
- เม่นซานตามาเรีย (Coendou sanctemartae)
- สกุล Echinoprocta
- เม่นหางสั้น (Echinoprocta rufescens)
- สกุล Erethizon
- เม่นอเมริกาเหนือ (Erethizon dorsatum)
- สกุล Sphiggurus
- เม่นแคระลาย (Sphiggurus ichillus)
- เม่นบาเอีย (Sphiggurus insidiosus)
- เม่นแคระขนหางดำ (Sphiggurus melanurus)
- เม่นเม็กซิกัน (Sphiggurus mexicanus)
- เม่นขนน้ำแข็ง (Sphiggurus pruinosus)
- เม่นรูส์มาเลน (Sphiggurus roosmalenorum)
- เม่นปารากวัย (Sphiggurus spinosus)
- เม่นสีน้ำตาล (Sphiggurus vestitus)
- เม่นสีส้ม (Sphiggurus villosus)[2]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ หน้า 154, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)