ลอริส
ลอริส[1] | |
---|---|
ใบหน้าของลิงลมแต่ละชนิด | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
อันดับย่อย: | Strepsirrhini |
วงศ์ใหญ่: | Lorisoidea |
วงศ์: | Lorisidae |
วงศ์ย่อย: | Lorisinae Gray, 1821 |
สกุล | |
ชื่อพ้อง | |
|
ลอริส[3] (อังกฤษ: Loris) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานรหรืออันดับไพรเมตวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lorisinae จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Lorisidae หรือลิงลม
สมาชิกในวงศ์ย่อยนี้ล้วนแต่เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบและป่าประเภทอื่น ๆ รวมถึงป่าเสื่อมโทรมหรือชายป่าใกล้กับชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น อินเดีย, ศรีลังกา, ปากีสถาน, เนปาล จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในส่วนที่เป็นผื่นแผ่นดินใหญ่ และส่วนที่เป็นหมู่เกาะต่าง ๆ
เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน โดยใช้ชีวิตและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก มีความสามารถปีนป่ายต้นไม้ในส่วนต่าง ๆ ได้เก่ง มีการทรงตัวที่ดีเยี่ยม มีลักษณะเด่นคือ มีดวงตาที่กลมโตขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน ใช้สำหรับการมองในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินสัตว์เล็ก ๆ เช่น แมงหรือแมลงต่าง ๆ, สัตว์เลื้อยคลาน, ไข่นกหรือลูกนก หรือกระทั่งนกขนาดเล็กที่โตเต็มตัวหรือค้างคาว หรือแม้กระทั่งทาก เป็นอาหารหลัก และจะกินพืช เช่น ยางไม้, ลูกไม้, ผลไม้, ใบไม้ เป็นอาหารรองลงไป[4][ต้องการเลขหน้า]
ลิงลมตัวเมียบางครั้งจะทิ้งลูกอ่อนไว้ในรังเมื่อออกไปหากิน สามารถผลิตพิษได้จากสารเคมีที่คล้ายน้ำมันที่หลั่งมาจากนิ้วมือและข้อศอกผสมกับน้ำลาย พิษนี้มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ แม้แต่ลิงลมวัยอ่อนหรือขนาดเล็กก็มีพิษนี้แล้ว แม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดว่ามีไวส้เพื่ออะไร แต่ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งเป็นการกำจัดปรสิตที่มาเกาะตามขน หรือป้องกันตัวจากสัตว์ใหญ่กว่า เช่น หมี หรืออุรังอุตังที่กินลิงลมเป็นอาหาร[3][5]
การจำแนก
แก้- วงศ์ Lorisidae
- วงศ์ย่อย Perodicticinae
- วงศ์ย่อย Lorisinae
- สกุล Loris
- ลิงลมเพรียวเทา, Loris lydekkerianus
- ลิงลมเพรียวที่ราบสูง, L. lydekkerianus grandis
- ลิงลมเพรียวมายชอร์, L. lydekkerianus lydekkerianus
- ลิงลมเพรียวมาลาบาร์, L. lydekkerianus malabaricus
- ลิงลมเพรียวเหนือ, L. lydekkerianus nordicus
- ลิงลมเพรียวแดง, L. tardigradus
- ลิงลมเพรียวที่แล้ง, L. tardigradus tardigradus
- ลิงลมเพรียวต้นฮอร์ตัน, L. tardigradus nyctoceboides
- ลิงลมเพรียวเทา, Loris lydekkerianus
- สกุล Nycticebus
- Nycticebus bancanus
- ลิงลมเหนือ, N. bengalensis
- N. borneanus
- ลิงลมใต้, N. coucang
- ลิงลมชวา, N. javanicus
- N. kayan
- ลิงลมบอร์เนียว, N. menagensis
- †? N. linglom (ฟอสซิล, ไมโอซีน)
- ลิงลมแคระ, N. pygmaeus
- สกุล Loris
การเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง
แก้ลิงลม เป็นสัตว์ที่มีลักษณะน่ารักเหมือนตุ๊กตา กอรปกับการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้า จึงนิยมอย่างมากในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผู้เผยแพร่คลิปวีดีโอลิงลมซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงของตนผ่านทางยูทิวบ์ มีปริมาณผู้กดไลค์เป็นจำนวนมาก ทำให้กระแสความนิยมพุ่งขึ้นไปอีก แต่ลิงลมก็ถือว่าเป็นสัตว์ป่าที่มีกฎหมายคุ้มครอง โดยทุกชนิดอยู่ในภาวะที่เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ลิงลมถือเป็นสัตว์ป่าชนิดต้น ๆ ที่มีการค้าขายกันในธุรกิจค้าสัตว์ป่า โดยมีแหล่งใหญ่อยู่ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ในกรุงเทพมหานคร[6] และตลาดค้าสัตว์ป่าบนเกาะชวา และตลาดส่งออกที่สำคัญอยู่ที่ญี่ปุ่น, รัฐเซีย และสหรัฐอเมริกา[7] โดยก่อนจะนำมาเลี้ยง ผู้ค้ามักจะทำการตัดเขี้ยวหรือฟันหน้าก่อนเพื่อมิให้ถูกกัดด้วยวิธีตัดเอาจากกรรไกรตัดเล็บหรือคีม ซึ่งวิธีการแบบนี้จะทำให้ยังเหลือรากฟันอยู่ ทำให้ลิงลมติดเชื้อหรือได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถกินอาหารได้ ลิงลมที่เกาะชวานับเป็นชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุด ตัวที่ถูกตรวจยึดมาได้เมื่อนำเข้าสู่ศูนย์ฟื้นฟู แต่เมื่อปล่อยตัวเข้าสู่ป่า มีปริมาณเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่เอาชีวิตรอดได้ [3] [8]
อ้างอิง
แก้- ↑ Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 122–123. ISBN 0-801-88221-4.
- ↑ Brandon-Jones, D.; Eudey, A. A.; Geissmann, T.; Groves, C. P.; Melnick, D. J.; Morales, J. C.; Shekelle, M.; Stewart, C.-B. (2004). "Asian Primate Classification" (PDF). International Journal of Primatology. 25 (1): 100.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "จอมซนแห่งเกาะชวา". ไทยพีบีเอส. 26 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-14. สืบค้นเมื่อ 26 May 2014.
- ↑ Jurmain; และคณะ (2008). "Introduction to Physical Anthropology".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Orangutan Ecology | Orangutan Foundation International". Orangutan.org. สืบค้นเมื่อ 2014-01-14.
- ↑ "แกะรอย การค้าสัตว์ป่า ผิด กม. (1) นก-เต่า-กิ้งก่า-งู-เห้ สินค้ายอดฮิต!". แนวหน้า. 11 December 2012. สืบค้นเมื่อ 28 May 2014.
- ↑ "จับเพิ่ม แก๊งค์ลักลอบค้านางอายมูลค่านับแสนบาทที่พัทยา มูลนิธิฟรีแลนด์ขอแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของเจ้าหน้าที่ตำรวจ". thaipr.net. 15 September 2010. สืบค้นเมื่อ 28 May 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สัตว์ตระกูลไพรเมท". วิชาการดอตคอม. 23 Febuary 2012. สืบค้นเมื่อ 28 May 2014.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)