วงศ์ย่อยปลาปิรันยา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีน - ปัจจุบัน
ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Characiformes
วงศ์: Serrasalmidae
Bleeker, 1859
สกุล[2]
ชื่อพ้อง[3]
  • Serrasalmidae Géry, 1972

วงศ์ปลาปิรันยา เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Serrasalmidae (มีความหมายว่า "วงศ์ปลาแซลมอนที่มีฟันเลื่อย") ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) พบทั้งหมดในปัจจุบัน 16 สกุล (ดูในตาราง) 101 สปีชีส์[2]

ปลาในวงศ์นี้มีชื่อเรียกโดยรวม ๆ กัน เช่น ปลาปิรันยา, ปลาเปคู หรือปลาคู้ และปลาซิลเวอร์ดอลลาร์ เดิมทีเคยเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ใช้ชื่อว่า Serrasalminae (ในปัจจุบันบางข้อมูลหรือข้อมูลเก่ายังใช้ชื่อเดิมอยู่[3])

ลักษณะ

แก้

ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างแบนข้างมาก มีครีบไขมัน จัดเป็นปลาขนาดปานกลางไปจนถึงขนาดใหญ่สุดประมาณ 1 เมตร (3.3 ฟุต) มีครีบท้องแหลมยาว ครีบหลังยาวมีก้านครีบมากกว่า 16 ก้าน ส่วนจะมีกระดูกสันหลังก่อนถึงครีบหลัง ครีบหลังโผล่พ้นออกมาจากกระดูกซูปรานูรัล ยกเว้นบางสกุล คือ Colossoma, Piaractus, และ Mylossoma

ส่วนใหญ่มีจำนวนโครโมโซมประมาณ 60 อยู่ในช่วงตั้งแต่ 54-62 ในสกุล Metynnis มี 62 โครโมโซม เช่นเดียวกับสกุล Catoprion, Pygopristis และชนิด Pristobrycon striolatus

อีกประการคือ เป็นปลาที่มีชุดฟันที่แข็งแรง แหลมคม ใช้สำหรับการกินอาหาร แต่มีลักษณะต่างออกไปตามแต่ละสกุล [4]

การกระจายพันธุ์

แก้

ทั้งหมดเป็นปลาน้ำจืด พบกระจายพันธุ์เฉพาะทวีปอเมริกาใต้[5] พบได้ตั้งแต่ 10° ละติจูดเหนือ ไปจนถึงประมาณ 35° ละติจูดใต้[4]

นิเวศวิทยา

แก้

เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารแตกต่างกันไปตามแต่ละสกุล หรือชนิด ซึ่งทั้งหมดสามารถกินได้ทั้งพืช หรือสัตว์ รวมถึงลูกไม้ หรือผลไม้ที่ร่วงลงน้ำด้วย ในหลายชนิดเป็นปลานักล่าที่ดุเดือด ขึ้นชื่อในการล่าสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร [6]

ฟอสซิล

แก้

ปลาในวงศ์นี้ ส่วนใหญ่พบเป็นฟอสซิลตั้งแต่ยุคไมโอซีน แม้ว่าบางหลักฐานที่ระบุไม่ได้ได้รับการพิจารณาว่าปรากฏในยุคพาลิโอซีนและมีอีก 2 ชิ้น ที่มีรายงานว่าปรากฏในยุคต้นของยุคปลายครีเตเชียส ในสกุล Colossoma ซึ่งเป็นปลากินพืช พบได้ในยุคไมโอซีน โดยส่วนใหญ่หลักฐานทางฟอสซิลของปลาวงศ์นี้จะพบในช่วงยุคกลางไมโอซีน ยกเว้นปลาปิรันยาบางสกุล ได้แก่ Pygocentrus, Pristobrycon และ Serrasalmus[5][4]

สกุลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว คือ Megapiranha เชื่อว่ามีความยาวถึง 70 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 10 กิโลกรัม สูญพันธุ์ไปในตอนปลายของยุคไมโอซีน[1]

ความสัมพันธ์กับมนุษย์

แก้

เป็นปลาที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ใช้ประโยชน์ทั้งการบริโภคในท้องถิ่น รวมถึงเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจในบางสกุล บางชนิดในหลายประเทศ เช่น จีน, บราซิล, ไต้หวัน, ไทย จนกลายมาเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางพื้นที่ และยังตกกันเป็นเกมกีฬา ตลอดจนเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย[6][4]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Cione, A.L., Dahdul, W.M., Lundberg, J.G., & Machado-Allison, A. 2009: Megapiranha paranensis, a new genus and species of Serrasalmidae (Characiformes, Teleostei) from the Upper Miocene of Argentina. Journal of Vertebrate Paleontology, 29 (2): 350-358. doi:10.1671/039.029.0221
  2. 2.0 2.1 Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2013). "Serrasalmidae" ในฐานข้อมูลปลา. ฉบับ เมษายน 2013
  3. 3.0 3.1 "Characidae". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 14 May 2014.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Freeman, Barbie; Nico, Leo G.; Osentoski, Matthew; Jelks, Howard L.; Collins, Timothy M. (2007). "Molecular systematics of Serrasalmidae: Deciphering the identities of piranha species and unraveling their evolutionary histories" (PDF). Zootaxa. 1484: 2. doi:10.11646/zootaxa.1484.1.1. สืบค้นเมื่อ 2009-06-25.
  5. 5.0 5.1 Nelson, Joseph S. (2006). Fishes of the World. John Wiley & Sons, Inc. ISBN 0-471-25031-7.
  6. 6.0 6.1 หน้า 7 วิทยาการ-การเกษตร, เปคูแดง...ปลาเศรษฐกิจสายปิรันยา โดย ดอกสะแบง. "หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน". ไทยรัฐ ปีที่ 49 ฉบับที่ 14,624: วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู