ลูนา 1 (อี-1 ซีรีส์) ซึ่งในขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ เมชตา (รัสเซีย: Мечта; "ความฝัน"), E-1 หมายเลข 4[6] เป็นยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปถึงบริเวณใกล้เคียงของดวงจันทร์ และเป็นลำแรกในโครงการลูนาของโซเวียตที่สามารถปล่อยขึ้นไปในทิศทางเดียวกับดวงจันทร์ได้สำเร็จ ลูนา 1 ซึ่งภารกิจเป็นยานปะทะดวงจันทร์ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการจุดจรวดท่อนบนที่ผิดเวลาในระหว่างการปล่อย ทำให้พลาดเป้าจากดวงจันทร์ โดยเป็นยานอวกาศลำแรกที่ออกจากวงโคจรรอบโลก ลูนา 1 บินผ่านดวงจันทร์ด้วยระยะใกล้สุด 5,900 กิโลเมตร (มากกว่าสามเท่าของขนาดรัศมีดวงจันทร์) และกลายเป็นยานอวกาศที่อยู่ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นลำแรก ถูกขนานนามว่าเป็น "ดาวเคราะห์ดวงใหม่" และเปลี่ยนชื่อเป็นเมชตา[7] และยังถูกเรียกว่าเป็น "First Cosmic Rocket" จากความสำเร็จในการหลุดพ้นแรงดึงดูดโลก

เมชตา
Мечта
แบบจำลองในพิพิธภัณฑ์
ประเภทภารกิจยานปะทะดวงจันทร์[1]
ผู้ดำเนินการสหภาพโซเวียต
Harvard designation1959 Mu 1[2]
COSPAR ID1959-012A[3]
SATCAT no.112[3]
ระยะภารกิจประมาณ 62 ชั่วโมง[4]
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตОКБ-1
มวลขณะส่งยาน361 กิโลกรัม (796 ปอนด์)
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น2 มกราคม 1959 16:41:21 UTC
จรวดนำส่งลูนา 8K72
ฐานส่งบัยโกเงอร์ 1/5
สิ้นสุดภารกิจ
ติดต่อครั้งสุดท้าย5 มกราคม 1959
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงโคจรรอบดวงอาทิตย์
กึ่งแกนเอก1.146 หน่วยดาราศาสตร์
ความเยื้อง0.14767
ระยะใกล้สุด0.9766 หน่วยดาราศาสตร์
ระยะไกลสุด1.315 หน่วยดาราศาสตร์
ความเอียง0.01 องศา
คาบการโคจร450 วัน
วันที่ใช้อ้างอิง1 มกราคม 1959, 19:00:00 UTC[5]
บินผ่าน ดวงจันทร์ (ปะทะล้มเหลว)
เข้าใกล้สุด4 มกราคม 1959
ระยะทาง5,995 กิโลเมตร (3,725 ไมล์)
 

ขณะเดินทางผ่านแถบรังสีแวนอัลเลนชั้นนอก เครื่องมือตรวจวัดรังสีของยานสามารถตรวจจับอนุภาคพลังงานสูงปริมาณเล็กน้อยที่มีอยู่ในวงแหวนชั้นนอก ค่าที่ได้จากการตรวจวัดดังกล่าวทำให้ได้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับแถบรังสีของโลกและอวกาศ ปรากฏว่าดวงจันทร์ไม่มีสนามแม่เหล็กที่สามารถตรวจพบได้ นอกจากนี้ ลูนา 1 ยังเป็นครั้งแรกที่มีการสังเกตและตรวจวัดลมสุริยะโดยตรง[8][9][10] ความเข้มข้นของพลาสมาที่ถูกเปลี่ยนเป็นไอออนดังกล่าววัดปริมาณได้ราว 700 อนุภาคต่อ ลบ.ซม. ที่ระดับความสูง 20,000-25,000 กิโลเมตร และ 300 ถึง 400 อนุภาคต่อ ลบ.ซม. ที่ระดับความสูง 100,000-150,000 กิโลเมตร[11] ลูนา 1 ยังได้มีการติดต่อทางวิทยุเป็นครั้งแรกจากระยะทางครึ่งล้านกิโลเมตรจากพื้นโลก

ชุดขับดันลูนา 1 Blok E ส่วนบนและการจัดวางสัมภาระยานปะทะดวงจันทร์

อ้างอิง แก้

  1. Siddiqi, Asif A (2018). "Beyond Earth: A Chronicle of Deep Space Exploration, 1958–2016" (PDF). The NASA history series (second ed.). Washington, DC: NASA History Program Office. p. 11. ISBN 978-1-62683-042-4. LCCN 2017059404.
  2. "Luna Ye-1". Gunter's Space Page. สืบค้นเมื่อ November 9, 2019.
  3. 3.0 3.1 "Luna 1". NASA Space Science Data Coordinated Archive.
  4. Siddiqi 2018, p. 11.
  5. "Luna 1 Launch and Trajectory Information". NASA Space Science Data Coordinated Archive. สืบค้นเมื่อ 2018-05-02.
  6. David Darling (2003). The complete book of spaceflight: from Apollo 1 to zero gravity. John Wiley and Sons. p. 244. ISBN 0471056499.
  7. Cormack, Lesley B. (2012). A History of Science in Society: From Philosophy to Utility (2nd ed.). University of Toronto Press. p. 342. ISBN 978-1-4426-0446-9.
  8. Brian Harvey (2007). Russian planetary exploration: history, development, legacy, prospects. Springer. p. 26. ISBN 0387463437.
  9. David Darling. "Luna". Internet Encyclopedia of Science.
  10. "Luna 1". NASA National Space Science Data Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-11. สืบค้นเมื่อ 4 August 2007.
  11. "Soviet Space Rocket". Yearbook of the Great Soviet Encyclopedia (ภาษารัสเซีย). Moscow: Sovetskaya Enciklopediya. 1959. ISSN 0523-9613. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-21.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้