ลำยา
ลำยา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Sapindales |
วงศ์: | Anacardiaceae |
สกุล: | Mangifera |
สปีชีส์: | M. caesia |
ชื่อทวินาม | |
Mangifera caesia Jack ex Wall. |
ลำยา หรือ ลำไย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera caesia) ภาษามลายูปัตตานีเรียกบินยา ภาษามลายูเรียกบินไย ภาษาบาหลีเรียกวานี เป็นพืชในสกุลเดียวกับมะม่วง พบในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ปาปัวนิวกินี รัฐเกรละ และฟิลิปปินส์ บินยาหรือลำยาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกต้นสีน้ำตาลแกมเทา มีรอยแตกที่เปลือก มียางที่ทำให้ระคายเคือง ใบหนาและเหนียวคล้ายหนัง ดอกช่อสีชมพูอ่อน หรือสีชมพูอมม่วง ผลเปลือกสีออกเหลือง เนื้อสีขาว นุ่ม ฉ่ำน้ำ มีเส้นใย
ผลสุกรสหวานอมเปรี้ยว นิยมนำไปทำน้ำมะม่วง ตำน้ำพริกหรือนำไปดอง โดยเฉพาะพันธุ์วานีที่ไม่มีกลิ่นขี้ไต้ ผลดิบรับประทานได้โดยจิ้มกับส่วนผสมของซอสถั่วเหลืองกับพริก ใช้ปรุงรสเปรี้ยวในซัมบัล ยางสีขาวจากผลดิบเป็นพิษ
อ้างอิง
แก้- พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 289 – 291