ลันจ์ไมน์ (อังกฤษ: lunge mine) คือ อาวุธต่อต้านรถถังแบบพลีชีพที่จักรวรรดิญี่ปุ่นพัฒนาและนำมาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีลักษณะเป็นระเบิดต่อต้านรถถังความแรงสูงรูปทรงกรวยติดอยู่ตรงปลายด้ามจับที่เป็นไม้ ปกติมักใช้ในหน่วยต่อสู้ระยะประชิดของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น อาวุธชนิดนี้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1945 ในปีเดียวกันนั้นเองมันได้นำไปใช้ในเขตปฏิบัติการสงครามแปซิฟิกโดยมุ่งเป้าไปที่ยานเกราะของกองทัพสหรัฐ

ลันจ์ไมน์
ภาพวาดของลันจ์ไมน์และวิธีการใช้งาน
ชนิดอาวุธต่อต้านรถถังแบบพลีชีพ
แหล่งกำเนิด ญี่ปุ่น
บทบาท
ประจำการ1944–1975
ผู้ใช้งาน
สงคราม
ประวัติการผลิต
ช่วงการออกแบบสงครามโลกครั้งที่ 2
ข้อมูลจำเพาะ
มวล14.3 ปอนด์ (6.5 กิโลกรัม) (เฉลี่ย)
ความยาว78 นิ้ว (200 เซนติเมตร) (เฉลี่ย)
ความสูง11.6 นิ้ว (29 เซนติเมตร) (body)
เส้นผ่าศูนย์กลาง8 นิ้ว (20 เซนติเมตร) (body)

วัตถุระเบิดTNT
น้ำหนักวัตถุระเบิด6.6 ปอนด์ (3.0 กิโลกรัม)
กลไกการจุดชนวน
Blasting cap[1]

การออกแบบ แก้

อาวุธมีลักษณะเป็นดินโพรงระเบิดรูปทรงกรวยอยู่ตรงปลายด้ามจับที่เป็นไม้ ตัวระเบิดมีขาสามขายืนออกมาบริเวณฐานทรงกรวย ตัวจุดชนวนระเบิดอยู่ที่ส่วนยอดของรูปกรวย[1] (บริเวณที่ติดกับด้านจับไม้) ระหว่างยอดของทรงกรวยกับด้านจับจะมีเข็มแทงชนวนอยู่ซึ่งเมื่อถอดสลักระเบิดออกแล้วบริเวณนี้จะสามารถเลือนได้ทำให้เข็มแทงฉนวนแทงเข้าไปที่ตัวจุดระเบิด[2]

ตัวระเบิดแบ่งเป็นระเบิดรูปกรวยสูง 11.6 นิ้ว และเส้นผ่านศูนย์กลางที่ฐานกรวยยาว 8 นิ้ว และหนักประมาณ 11 ปอนด์ ขาโลหะสามขายาว 6 นิ้ว (15 ซม.) ส่วนด้ามจับมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.25 นิ้ว ยาว 59 นิ้ว และหนัก 3.3 ปอนด์ ทำให้โดยรวมแล้วมันยาวประมาณ 78 นิ้ว และหนัก 14.3 ปอนด์[2]

การทำงาน แก้

การใช้งานลันจ์ไมน์นั้นทหารหรือผู้ใช้งานจะทำการดึงสลักระเบิดออกแล้วทำการวิ่งพุ่งเข้าไปหายานเกราะหรือเป้าหมายด้วยความเร็ว คล้ายกับการวิ่งพุ่งเข้าไปแทงด้วยดาบปลายปืน ลักษณะการจับจะใช้มือข้างหนึ่งจับที่ตรงกลางด้ามจับส่วนอีกมือจับที่ปลายด้านจับที่ใกล้ตัวผู้ถือ เมื่อขาของระเบิดโดนเข้ากับเป้าหมายแล้วด้ามจับที่กำลังพุ่งไปข้างหน้าจะกดเข้าไปทำให้เข็มจุดชนวนระเบิดแทงเข้าไปที่ตัวจุดระเบิด ซึ่งเมื่อระเบิดแล้วจะทำให้ผู้ใช้และเป้าหมายได้รับความเสียหายจากระเบิด[1]

การใช้งาน แก้

กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นนำอาวุธชนิดนี้มาใช้ในเขตปฏิบัติการสงครามแปซิฟิก โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ต่อต้านและทำลายยานเกราะของกองทัพสหรัฐ

รายงานข่าวกรองในเดือนมีนาคม 1945 ระบุว่ากองทัพสหรัฐเจอเข้ากับอาวุธชิ้นนี้ครั้งแรกที่เกาะเลย์เต ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นในช่วงยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต

ในประเทศเวียดนามมันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง โดยเฉพาะในยุทธการที่ฮานอยซึ่งมีภาพที่ เหงียน วัน เทียง (Nguyễn Văn Thiềng) พยายามที่จะใช้มันแต่ว่าระเบิดไม่ทำงาน ทำให้เขาถูกยิงตายไปพร้อมกับความกล้าหาญและเสียสละในท้ายที่สุด[3]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "New Weapons for Jap Tank Hunters (U.S. WWII Intelligence Bulletin, March 1945)". Lone Sentry. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-29. สืบค้นเมื่อ 2017-09-30.
  2. 2.0 2.1 Japanese Explosive Ordnance (Bombs, Bomb Fuzes, Land Mines, Grenades, Firing Devices and Sabotage Devices) (PDF) (Report). Washington, D.C.: United States Government Printing Office. 1953. pp. 208–209. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
  3. Explanatory board for replica of lunge mine held by a soldier at Vietnam Military History Museum, Hanoi; verified in December, 2019