ลัทธิบูชาบุคคลของนิโคไล เชาเชสกู
ในสมัยสงครามเย็น นิโคไล เชาเชสกู ผู้นำเผด็จการแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย ได้สร้างลัทธิบูชาบุคคลที่แพร่กระจายไปทั่วที่สุดในบรรดาประเทศกลุ่มตะวันออก โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากลัทธิบูชาบุคคลเกาหลีเหนือของคิม อิล-ซ็อง ลัทธินี้เริ่มต้นจากข้อวินิจฉัยเดือนกรกฎาคมในปี 1971 ซึ่งยกเลิกการทำให้เป็นเสรีนิยมซึ่งเป็นไปในทศวรรษ 1960 และนำเอาแนวคิดชาตินิยมโรมาเนียมาใช้ ย้อนประเทศกลับไปสู่ระบบสัจนิยมสังคมนิยม เผด็จการเบ็ดเสร็จแบบสตาลิน แรกเริ่ม ลัทธิบูชาบุคคลนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่เชาเชสกูคนเดียว แต่ต่อมาภายในทศวรรษที่ 1980 ลัทธินี้ได้รวมถึงการบูชาเอเลียนา เชาเชสกู ภรรยาของเขาเช่นกัน[1]

ภูมิหลังแก้ไข
เมล็ดพันธุ์แรกของลัทธิบูชาบุคคลนี้สามารถพบได้ในการลงคะแนนเสียงโดยไม่ใช้บัตร (acclamation) ของเชาเชสกู หลังสุนทรพจน์ในปี 1968 ที่เขาประกาศประณามการบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ นับจากนั้นมาได้มีการระบุตัวตนประเทศโรมาเนียผูกกับตัวเชาเชสกู ((identification of Romania with Ceaușescu)) เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในสื่อและในรายงานของรัฐ[1] ส่วนจุดเริ่มต้นแท้จริงของลัทธิบูชาบุคคลนั้นมีหลังการเดินทางเยือนจีนและเกาหลีเหนือของเชาเชสกูในปี 1971 เขาประทับใจเป็นพิเศษกับวิธีที่เหมา เจ๋อตง และคิม อิล-ซุงปกครองประเทศ และลัทธิบูชาบุคคลที่มีในทั้งสองบุคคลนี้[2]
เชาเชสกูดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจสูงสุดในรัฐคอมมินิสต์นี้ ตั้งแต่ปี 1965 นอกจากนี้ เขายังขึ้นมาเป็นประธานสภาแห่งรัฐในปี 1967 ทำให้เขาเป็นประมุขของรัฐทั้งในทางพฤตินัยและนิตินัย ในปี 1974 เขาได้พาตัวเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีโรมาเนีย ที่ซึ่งเขายังมอบ "คฑาประธานาธิบดี" ให้กับตัวเอง คล้ายกับคฑาของกษัตริย์ ศิลปิน ซัลบาโด ดาลี แสดงความยินดีกับเขาผ่านทางโทรเลขที่ตีพิมพ์ในสื่อที่รัฐควบคุม อย่างไรก็ตาม ดาลีได้แฝงเอาความจิกกัดไว้อยู่ในสาส์นนี้
“ | ข้าพเจ้ายินดีเป็นยิ่งต่อการตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์ของท่านที่ได้แต่งตั้งคฑาประธานาธิบดี[3] | ” |
ลักษณะแก้ไข
เด็กนักเรียนเรียนบทกวีและดนตรีที่ซึ่งเชิดชู "ชาติ พรรค และท่านผู้นำ" ตั้งแต่ช่วงปีแรก ๆ ของการศึกษา[4] เป้าหมายของลัทธินี้คือการทำให้การต่อต้านเชาเชสกูในระดับสาธารณะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากเชาเชสกูถือว่าเป็นผู้ไม่มีทางทำผิด และอยู่เหนือคำวิจารณ์ทั้งปวง[5]
ในเดือนพฤศจิกายน 1979 ในการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่สิบสอง เจ้าหน้าที่อาวุโสระดับสูง Constantin Pîrvulescu กล่าวโทษสภาว่าแทบจะไม่ทำอะไรเพื่อชี้แจงปัญหาที่มีอยู่ในประเทศเลย แต่กลับใช้เวลานี้ไปกับการพูดเชิดชูเชาเชสกูซ้ำไปซ้ำมา เขาถูกขับไล่ออกจากสภา ถูกคุมขังในบ้าน และอยู่ภายใต้การตรวจตราอย่างแน่นหนานับจากนั้น[6]
ในสื่อแก้ไข
สื่อแสดงเชาเชสกูในฐานะนักทฤษฎีคอมมิวนิสต์ (communist theoretician) ผู้ชาญฉลาด และมีส่วนร่วมใหญ่หลวงต่อลัทธิมากซ์–เลนิน[4] และเป็นผู้นำทางการเมืองที่ซึ่งมี "ความคิด" เป็นต้นธารของความสำเร็จทุกประการของชาติ[6][4] งานเขียนของเขาถูกรวบรวมและตีพิมพ์เป็นปกติ รวมถึงยังถูกแปลเป็นหลายภาษา รวมถึงมีจำหน่ายหลายฉบับอยู่ในร้านหนังสือทั่วโรมาเนีย[4] ส่วนภรรยา เอเลียนา เชาเชสกู ได้รับการแสดงภาพในฐานะ "แม่ของแผ่นดิน" และในทุกหลักฐานเห็นตรงกันว่า เธอมีความหยิ่งยโสและต้องการศักดิ์ศรีมากไปกว่าสามีของเธอเสียอีก[2]
สื่อใช้วลีเช่น "ยุคทองของเชาเชสกู" และชุดคำอย่าง "ผู้ค้ำยันการพัฒนาและความเป็นเอกราชของรัฐ" (guarantor of the nation's progress and independence) หรือ "ผู้ออกแบบอนาคตของรัฐ ผู้ซึ่งมีวิสัยทัศน์กว้างไกล" (visionary architect of the nation's future)[6] Dan Ionescu นักเขียนประจำ Radio Free Europe ได้รวมรายชื่อคำสรรเสริญแทนชื่อเขาเชสกูที่นักเขียนโรมาเนียเคยใช้ คำเหล่านี้มีทั้ง "ผู้ออกแบบ", "บุคคลจากสวรรค์" ("celestial body" โดย Mihai Beniuc), "ผู้สร้างจักรวาล" (demiurge), "พระเจ้าทางฆราวาส" (secular god โดย Corneliu Vadim Tudor), "ต้นเฟอร์" (fir tree), "เจ้าชายทรงเสน่ห์" (Prince Charming โดย Ion Manole), "ผู้ทรงปัญญา" (genius), "นักบุญ" (saint โดย Eugen Barbu), "ปาฏิหาริย์" (miracle), "ดาวประกายพรึก" (morning star โดย Vasile Andronache), "ผู้นำทาง" (navigator โดย Victor Nistea), "ผู้พาให้รอด" (saviour โดย Niculae Stoian), "ดวงอาทิตย์" (โดย Alexandru Andrițoiu), "ไททัน" (titan โดย Ion Potopin) และ "ผู้มีวิสัยทัศน์" (visionary โดย Viorel Cozma)[7][8] ส่วนชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกเขาคือ Conducător (ท่านผู้นำ)[2]
นอกจากนี้ยังมีการเล่าเรื่องของเขาในฐานะชายผู้มีจุดเริ่มต้นธรรมดา แต่ได้เติบโตมาได้ด้วยความพยายามของตน เช่นเดียวกับวีรบุรุษเชิงสัญลักษณ์ในประมปราพื้นถิ่นของโรมาเนีย เช่น Horea และ Avram Iancu[5]
นอกจากนี้ เชาเชสกูยังกังวลต่อภาพลักษณ์ของตนอย่างมาก ภาพถ่ายส่วนใหญ่ของทั้งสองเป็นภาพจากเมื่ออายุ 40 ปลาย ๆ โทรทัศน์อยู่ภายใต้คำสั่งอย่างเคร่งครัดให้แสดงภาพของทั้งสองให้ดูดีที่สุด และผู้ผลิตต้องทำให้รูปลักษณ์ของเชาเชสกูซึ่งถือว่าเตี้ย (เขาสูง 1.65 เมตร (5 ฟุต 5 นิ้ว)) จะไม่ถูกสังเกตได้บนจอโทรทัศน์ เคยมีผู้ผลิตคนหนึ่งเผยแพร่ฟุตเทจที่แสดงเชาเชสกูกระพริบตาและพูดติดขัด เขาถูกสั่งห้ามจากการผลิตรายการโทรทัศน์เป็นเวลาสามเดือน[2]
ในช่วงหนึ่ง ภาพถ่ายของเชาเชสกูที่มีอยู่ทุกหนแห่งนั้น เป็นภาพถ่ายมุมที่เห็นหูของเชาเชสกูแค่ข้างเดียว ไม่นานได้มีมุกตลกแพร่กระจายไปทั่วว่าภาพนี้แสดงเชาเชสกู "หูเดียว" (เป็นวลีภาษาโรมาเนีย แปลว่า "เป็นบ้า") ภาพถ่ายเหล่านี้ได้ถูกพิจารณาว่าไม่เหมาะสม และถูกแทนที่ด้วยภาพถ่ายใหม่ที่แสดงให้เห็นหูครบทั้งสองข้างแทน[9][10]
ในวรรณกรรรมแก้ไข
นอกจากนี้บรรดาปัญญาชนของโรมาเนียถูกเรียกตัวไปเพื่อแสดงความเห็นในทางขื่นชมเชิดชูเชาเชสกู[7] ภายในทศวรรษ 1980s ได้มีการตีพิมพ์หนังสือรวมบทเชิดชูเชาเชสกูรายปี[7] ในวันเกิดของเชาเชสกู ซึ่งเป็นวันหยุดแห่งชาติ[5]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 Deletant, p.203
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Sebetsyen, Victor (2009). Revolution 1989: The Fall of the Soviet Empire. New York City: Pantheon Books. ISBN 978-0-375-42532-5.
- ↑ "Misterul SCEPTRULUI PREZIDENȚIAL al lui NICOLAE CEAUȘESCU. Un mare SECRET a fost dezvăluit după 53 de ani! [The Mystery of Nicolae Ceaușescu's Presidential Sceptre. A Big Secret Was Unveiled After 53 Years!]" (ภาษาโรมาเนีย). Transparent News. 19 July 2018. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Crowther, p.125
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Crowther, p.126
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Ronald D. Bachman (ed.), Romania: A Country Study. "The Ceausescu Era" Washington: GPO for the Library of Congress, 1989.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Deletant, p.204
- ↑ "An A to Z of the Personality Cult in Romania", Radio Free Europe SK/1 (2 February 1989).
- ↑ Alex. Ştefănescu, "Un portret neretuşat al lui Ceauşescu" เก็บถาวร 2009-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, România literară, 2/2009
- ↑ Caterina Preda, Dictators and Dictatorships: Artistic Expressions of the Political in Romania and Chile (1970s-1989): No Paso Nada...?, Universal-Publishers, 2010, p.284
บรรณานุกรมแก้ไข
- Dennis Deletant. Ceauşescu and the Securitate: Coercion and Dissent in Romania, 1965-1989, p. 229. M.E. Sharpe, 1995, ISBN 1-56324-633-3.
- Steven D. Roper, Romania: The Unfinished Revolution, Routledge, 2000, ISBN 90-5823-027-9
- William E. Crowther, The Political Economy of Romanian Socialism. New York: Praeger, 1988, ISBN 0275928403