ร้านกาแฟอิรานี
ร้านกาแฟอิรานี (อังกฤษ: Irani cafés) เป็นร้านกาแฟแบบอิหร่านในอนุทวีปอินเดีย[1][2] เดิมทีเป็นกิจการของชาวอิรานีโซโรอัสเตอร์ที่อพยพมายังบริติชอินเดียในศตวรรษที่ 19 เพื่อหลีกหนีการเบียดเบียนศาสนาจากจักรวรรดิซาฟาวิด และเพื่อออกมาหาโอกาสทางธุรกิจที่ดีกว่า[3] เมืองใหญ่อย่างมุมไบ, ปูเณ และ ไฮเดอราบาด มีจำนวนร้านกาแฟอิรานีจำนวนมาก โดยมีสินค้ายอดนิยมคือ อิรานีจาย (Irani chai) หรือชาอิหร่าน[4][5] ข้อมูลจากคริสต์ทศวรรษ 1950 ระบุว่ามีร้านกาแฟอิรานีจำนวน 350 แห่ง ในขณะที่ในปัจจุบันเหลือจำนวนเพียง 25 แห่งเท่านั้น[1] เมืองใหญ่ที่ในอดีตมีร้านกาแฟอิรานีจำนวนมากคือการาจี ที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน[6][7]
ในบทความบน Hindu Business Line ของสาริกา เมห์ตา (Sarika Mehta) เขียนถึงร้านกาแฟอิรานีในมุมไบว่ามีลักษณะคลาสสิกคือ "ความเป็นอาณานิคมจาง ๆ" (subtle colonial touch) ด้วยเพดานสูง เก้าอี้โค้งสีดำ โต๊ะไม้ที่ท็อปเป็นหินอ่อน และโหลแก้วใส่ของที่ขาย นอกจากนี้ "ผนังเป็นกระจกขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดความรู้สึกกว้างขวาง ลูกค้าที่เดินเข้ามาในร้านจะเจอกับกลิ่นอบขนมปัง" และมี "ความเร็วในการบริการรวดเร็วอย่างไม่สะดุด"[8]
ของกินที่จำหน่ายในร้านกาแฟอิรานี เช่น บุนมัสกา (bun maska; ขนมปังและเนย)[9] หรือ บรุนมัสกา (brun-maska; ครัวซองเนยแบบแข็ง)[10][11] บิสกิตทั้งคาวและหวาน[12] และ ปานิกัมจาย (paani kam chai; "ชาน้ำน้อย" ซึ่งหมายถึงชาอิหร่านแบบเข้มข้น) หรือ คารีจาย (khari chai; ชาอย่างเข้ม), ซาโมซ่าเนื้อแกะ และ คีมาปาว (kheema pav; เนื้อสับเสิร์ฟในโรลขนมปัง), อากูรี (ไข่คนใส่ผัก), ปูเลาเบอร์รี, พัฟฟ์ผัก, ธานซัก กับ บิรยานี, คัสตาร์ดครีมเชอร์รี, บิสกิตเนยแข็ง, แยม และเครื่องดื่มอื่น ๆ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Jayshree Bajoria (27 เมษายน 2005). "India's Iranian cafes fading out". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2007.
- ↑ "Parsi Cafes, A Centuries-Old Tradition In India, Are Vanishing". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-14.
- ↑ Masashi, Haneda. "Emigration of Iranian Elites to India during the 16-18th centuries". สืบค้นเมื่อ 2013-12-17.
- ↑ "Quintessentially Hyderabadi—Irani Tea". New Indian Express. 6 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-09. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
- ↑ Naomi Lobo (พฤษภาคม 20, 2007). "Irani cafés: Inheritance of loss". India Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 6, 2012. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 25, 2007.
- ↑ "Where have the Iranian restaurants gone?". Dawn. 26 July 2015. สืบค้นเมื่อ 26 July 2015.
- ↑ Noorani, Asif (10 September 2016). "Looking back at Karachi's Irani cafe culture". Dawn. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016.
- ↑ "The Hindu Business Line : Mumbai's Irani hotspots". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-02. สืบค้นเมื่อ 2007-12-24.
- ↑ Miguel, H.S. (2012). Mumbai. Intellect Books - World Film Locations Series (ภาษาอินโดนีเซีย). Intellect Books. p. 58. ISBN 978-1-84150-632-6. สืบค้นเมื่อ 21 February 2018.
- ↑ Koppikar, Smruti (28 March 2005). "Alvida, Brun-Maska | Outlook India Magazine". Outlook India. สืบค้นเมื่อ 2020-03-14.
- ↑ Noronha, Paul (2012-10-27). "Bye-bye to Brun maska?". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 2020-03-14.
- ↑ Damle, J.Y. (2011). Pune: Tradition to Market: a Study of Changing Trends in Consumption with Special Reference to Service Sector in Hotel Industry. Kalpaz Publications. p. 117. ISBN 978-81-7835-895-6. สืบค้นเมื่อ 21 February 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- India's Iranian cafes fading out by Jayshree Bajoria for BBC News, Mumbai[ลิงก์เสีย]
- Mumbai's Irani hotspots – Sarika Mehta in Hindu Business line
- AOL News Blog - Sunanda Sudhir เก็บถาวร 2008-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน