การรีดเอาทรัพย์

(เปลี่ยนทางจาก รีดเอาทรัพย์)

การรีดเอาทรัพย์ (อังกฤษ: blackmail) เป็นความผิดอาญาประกอบด้วยการข่มขู่ว่าจะเปิดเผยต่อบุคคลที่สามหรือสาธารณชนซึ่งข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวเนื่องกับบุคคล ครอบครัวของบุคคล หรือสมาคมของบุคคลนั้น เว้นแต่บุคคลนั้นจะยอมตามข้อเรียกร้อง[1][2] ความผิดนี้อาจเรียกว่าเป็นการข่มขืนใจ (coercion) โดยมีการข่มขู่ว่าจะทำร้ายร่างกาย จะดำเนินคดี หรือเพื่อบังคับให้ส่งเงินทรัพย์สินมาให้[1][3][4][5][6][7][8] ทั้งนี้ เป็นชื่อฐานความผิดตามกฎหมายของแคว้นอังกฤษและเวลส์กับแคว้นไอร์แลนด์เหนือของสหราชอาณาจักร ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทย ประเทศเยอรมนี รัฐวิกตอเรียของประเทศออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา กับทั้งใช้เรียกความผิดอื่น ๆ ทำนองเดียวเพื่อความสะดวกปาก แต่ไม่ได้เป็นศัพท์กฎหมายในกฎหมายอังกฤษจนกระทั่งปี 2511

ชื่อความผิดนี้ในภาษาอังกฤษมีที่มาจากชาวอังกฤษซึ่งอาศัยอยู่ตามตะเข็บชายแดนประเทศสกอตแลนด์และมักให้ทรัพย์สินเงินทองแก่หัวหน้าเผ่าชาวสกอต เพื่อแลกกับการคุ้มครองพวกตนจากเหล่าโจรปล้นชิงวิ่งราว[3][4]

การรีดเอาทรัพย์อาจนับว่าเป็นการกรรโชก (extortion) รูปแบบหนึ่ง[1] แม้โดยปรกติแล้ว คำ "รีดเอาทรัพย์" กับ "กรรโชก" เป็นไวพจน์ของกันและกัน แต่ในทางกฎหมาย การกรรโชกมุ่งหมายถึงการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยข่มขู่ว่าจะทำอันตราย[9] อนึ่ง การรีดเอาทรัพย์นั้นยังหมายถึง การข่มขู่บุคคลอื่นมิให้ประกอบอาชีพตามกฎหมาย การเขียนหนังสือว่าร้าย การเขียนหนังสือชี้ชวนให้ละเมิดอาญาบ้านเมือง ตลอดจนการข่มขู่เพื่อเรียกให้ชำระหนี้สินค้าง[4] บางรัฐในสหรัฐอเมริกากำหนดองค์ประกอบความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ว่าต้องเป็นการข่มขู่โดยทำเป็นหนังสือ เพื่อแยกความผิดฐานนี้กับฐานอื่น ๆ[4]

ศัพทมูล แก้

คำ "blackmail" ในภาษาอังกฤษนั้น เดิมเป็นคำหนึ่งในบรรดาคำทั้งหลายที่ใช้เรียก "ส่วย" (tribute) หรือที่ปัจจุบันมักเรียกว่า "ค่าคุ้มครอง" (protection racket) ซึ่งชาวอังกฤษและสกอตที่อยู่อาศัยตามแนวชายแดนต้องจ่ายให้แก่อันธพาลตามชายแดน (Border Reivers) เพื่อแลกกับการคุ้มครองให้พ้นจากการถูกเกะกะระรานและก่อกวนรังแกต่าง ๆ คำ "mail" นั้นมาจากคำในภาษาอังกฤษมัชฌิมยุคว่า "male" หมายความว่า ส่วย หรือค่าเช่า ซึ่งอาจจ่ายเป็นทรัพย์สิ่งของหรือแรงงานก็ได้ ส่วยเช่นนี้จึงเรียกว่า "ส่วยมืด" (reditus nigri ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า black mail) ตรงกันข้ามกับส่วยที่จ่ายเป็นเงิน (silver) หรือเงินตรา (money) เรียก "ส่วยขาว" (reditus albi หรือ blanche firmes ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า white rent)[10]

อนึ่ง ชาลส์ แม็กเคย์ (Charles Mckay) เสนอว่า คำ "blackmail" อาจมาจากคำประสมในภาษาแกลิกแบบสกอตระหว่าง "blathaich" (คุ้มครอง) กับ "mal" (ส่วย) หมายความว่า ค่าคุ้มครอง ซึ่งเป็นธรรมเนียมในที่ราบสูงและชายแดนของสกอตแลนด์[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Merriam-Webster's dictionary of law. Merriam-Webster. 1996. pp. 634 pages. ISBN 0-87779-604-1, 9780877796046. สืบค้นเมื่อ 23 May 2011. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  2. The American Heritage® Dictionary of the English Language, 4th edition. Houghton Mifflin Harcourt Publishing Company. 2010.
  3. 3.0 3.1 "Blackmail". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 23 May 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 West's encyclopedia of American law, Volume 2. West Pub. Co. 1998 (Digitized 22 Aug 2007). pp. 569 pages. ISBN 0-314-20155-6, 9780314201553. สืบค้นเมื่อ 23 May 2011. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  5. Sexual blackmail: a modern history. Harvard University Press. 2002. pp. 332 pages. ISBN 0-674-00924-X, 9780674009240. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  6. Burton's Legal Thesaurus. McGraw-Hill Professional. 2006. pp. 1063 pages. ISBN 0-07-147262-2, 9780071472623. สืบค้นเมื่อ 23 May 2011. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  7. The encyclopedia of American law enforcement. Infobase Publishing. 2007. pp. 424 pages. ISBN 0-8160-6290-0, 9780816062904. สืบค้นเมื่อ 23 May 2011. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  8. Griew, Edward. The Theft Acts 1968 & 1978, Sweet & Maxwell: London. Fifth Edition, paperback, ISBN 0-421-35310-4, paragraph 12-01 at page 183
  9. Frank Schmalleger, Daniel E. Hall, John J. Dolatowski (2009). Criminal Law Today (4th ed.). Prentice Hall. pp. 271–272. ISBN 0-13-504261-5.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Maeve Maddox. "The Difference Between Extortion and Blackmail". สืบค้นเมื่อ 18 Jul 2011.
  11. Charles Mckay, Dictionary of Lowland Scots, 1888 (archive.org)