ริค วชิรปิลันธิ์
วชิรปิลันธิ์ โชคเจริญรัตน์ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ริค วชิรปิลันธิ์ หรือ วชิรปิลันธิ์ เจ.อิศวเรศ์ เป็นนักร้องหญิงที่มีผลงานการร้องและแต่งเพลง ในแนวดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อทางศาสนาที่นับถืออยู่ มีเสียงเครื่องดนตรีอินเดียอยู่ทั่วไป ที่เห็นได้ชัดคือเครื่องเคาะ และซีต้าร์ ปะปนกับเครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีสมัยใหม่ ทั้งกีต้าร์ไฟฟ้า เปียโน ไปจนถึงเสียงสังเคราะห์ ภาพโดยรวมเป็น World music ที่นำ Rock, Blues, Trance และแม้แต่วิธีการอ่านทำนองร้อยแก้วแบบไทยเดิมเข้ามาผสมได้อย่างลงตัว เนื้อหามักจะกล่าวถึงวัฏฏะสงสาร การเกิด การตาย การเสพสังวาส และการบูชาเทพต่าง ๆ ในคติฮินดู ไปจนถึงพระศรีศากยมุณีของคติพุทธ เขียนเพลงโดยใช้ชื่อแฝงสามชื่อ คือ "วชิรปิลันธิ์", "จันกาลี" และ "ธุมา" แทนบุคลิกภาพแห่งการ สร้างสรรค์ ทำลาย และ เศร้าสร้อย ของตนตามลำดับ
ริค วชิรปิลันธิ์ | |
---|---|
![]() | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | วชิรปิลันธิ์ โชคเจริญรัตน์ |
เกิด | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 |
อาชีพ | นักร้อง นักแต่งเพลง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน |
สังกัด | เบเกอรี่มิวสิก หัวลำโพงริดดิม |
รางวัล | |
ออสการ์ | คมชัดลึก 2547 - Fat Radio 2547 - 2548 |
ประวัติ แก้
ริค วชิรปิลันธิ์ เธอเคยศึกษาโรงเรียนนารีวิทยา[1] โรงเรียนประจำในจังหวัดราชบุรี[2] ส่วนตัวเธอนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน[3] [4] ทั้งนี้เธอกล่าวว่าเธอเพียงแค่เชื่อในพลังของเทพสตรี[3] เธอมีบุตรเพียงคนเดียว ชื่อ รัศมิลักษณ์ อิศวเรศ์ (ชื่อเล่น เลลิณ) ปัจจุบันพอใจกับสถานะเพียงลำพังของตนเอง
ริคเข้าสู่วงการจากการเข้าประกวดเป๊ปซี่มิวสิคอะวอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2536 กับวงดนตรีชื่อ Mad Hot โดยร้องนำในแนวเดธเมตัล[4] เป็นที่สะดุดตาของกมล สุโกศล แคลปป์ ซึ่งชักชวนให้มาเข้าสังกัดเบเกอรี่มิวสิกในปี พ.ศ. 2538 [5]
ริค มีผลงานร้องเพลงร่วมกับศิลปินหลายคนเช่น เพลง "กัด" "แหก" และ "เฉย" [6] ร่วมกับโจอี้ บอย เพลง "รามซิงค์เรดิโอ" ร่วมกับโยคีเพลย์บอย อัลบั้ม Vision ของ Pixyl [7] มีผลงานเดี่ยวชุดแรกชื่อชุด "ปฐม" ในปี พ.ศ. 2542 (ใช้เวลาทำ 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2537) โดยดนตรีของริค วชิรปิลันธิ์ มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมอินเดีย[4]
หลังจากหมดสัญญากับเบเกอรี ริคย้ายมาสังกัดหัวลำโพงริดดิม ได้ร่วมงานกับ นรเศรษฐ์ หมัดคง ในอัลบั้ม "สุนทราภรณ์อีเคลกติก" ซึ่งนำเพลงของสุนทราภรณ์มาเรียบเรียงใหม่แบบร่วมสมัย ร้องเพลง "ทะเยอทะยาน" ของ Day Tripper ทำเพลงประกอบโฆษณา และเพลงประกอบภาพยนตร์ "บุปผาราตรี" และ "วิญญาณโลกคนตาย" [8] มีงานแสดงสดชื่อ "เหนืออาณาจักรแห่งสายเสียง" ในปี พ.ศ. 2549 [9][10]
ผลงาน แก้
ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางจำหน่าย | รายชื่อเพลง | ค่าย |
---|---|---|---|
ปฐม[11] | 2542 |
|
|
Rasmalai Chapter 1 ราสมาลัย ภาค ๑ |
พ.ศ. 2547 |
|
หัวลำโพงริดดิม |
Rasmalai Chapter 2 ราสมาลัย ภาค ๒ |
พ.ศ. 2548 |
|
หัวลำโพงริดดิม |
Trois ทรัว |
พ.ศ. 2549[12] |
|
หัวลำโพงริดดิม |
Pandora แพนโดร่า |
พ.ศ. 2551[13] |
|
หัวลำโพงริดดิม |
Mandala Marionette 777 | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 |
|
หัวลำโพงริดดิม |
Single
- ปฐม Single (2542)
- Devi (เด-วี) Radio Edit
- Devi (เด-วี) Album Edit
- ดงดาร
- นางเศียรขาด
| width="16.66%" align="left" valign="top" |
- Thi Chi La Single (2547)
- ติชิลา
- ติชิลา
- ติขิลา--
- ติชิลา4
- ติชิลา5
| width="14.28%" align="left" valign="top" |
- Single/Radio Edit (2649)
- ห่วงใย (วงตาวัน cover)
- Venus is Moaning (2557)
- เสียงครางของวีนัส (Venus is Moaning)
|
เพลงประกอบละคร แก้
- เพลง ฉันยังอยู่ตรงนี้ ละคร ทายาทอสูร (2559)
ผลงานอื่นๆ แก้
- รวมเรื่องสั้น : Erotica เสียงครางของวีนัส
หนังสือรวมเรื่องสั้นแนว Erotic โดยนักเขียน 6 ท่าน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Symphony Of Voice (BookArea) เรื่องสั้นของริคอยู่ในลำดับที่ 6 (Erotica NO.6) ในชื่อเรื่อง "วงหน้าที่ 2 ราชินีพระจันทร์" ใช้นามปากกาว่า "Rik W.Sindongma" และยังประพันธ์เพลงประกอบหนังสือเล่มนี้ในชื่อ "เสียงครางของวีนัส" เป็นรูปแบบ Digital mp.3
อ้างอิง แก้
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
- ↑ มารู้จัก นักร้องชื่อ ริค กันเถอะ
- ↑ 3.0 3.1 "'เห็ดหวน' ริค วชิรปิลันธิ์ ธิดาปิศาจแห่งเสียงผู้พบความงามของความมืดมิด". Fungjai Zine. 5 ตุลาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 4.0 4.1 4.2 กมล สุโกศล แคลปป์. Bakery & I : ชีวิต ดนตรี และเบเกอรี่ ผ่านสายตาของสุกี้. กรุงเทพฯ : a book, 2550. 320 หน้า. ISBN 978-974-7291-19-3
- ↑ "ตัวตนและหนทางของ "ริค วชิรปิลันธ์ โชคเจริญรัตน์" : เพลงบ้า - คนเพี้ยน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-19. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
- ↑ "โจอี้ บอย"ขอโทษชาวมุสลิมเพลงเฉยหมิ่น[ลิงก์เสีย]
- ↑ สัมภาษณ์ ริค วชิรปิลันธิ์
- ↑ ผู้กำกับ “วิญญาณโลกคนตาย” เจาะจง “ริค วชิรปิลันธิ์”
- ↑ เหนืออาณาจักรแห่งสายเสียง ริค วชิรปิลันธิ์ [ลิงก์เสีย]
- ↑ "CONCERT : ริค วชิรปิลันธิ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
- ↑ อัลบั้มเพลงไทยแห่งตำนานกับ ริค วชิรปิลันธิ์ ::: ปฐม
- ↑ รีวิว ริค วชิรปิลันธิ์ ::: Trois งานคัฟเวอร์เพลงเก่าที่ทำได้ดีเหลือเกิน
- ↑ ริค วชิรปิลันธิ์ ::: Pandara มนุษย์คือกล่องบรรจุความชั่วร้ายกาจชนิดหนึ่ง