รางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชน
รางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: Gwangju Prize for Human Rights) เป็นรางวัลที่มอบให้โดยมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึกของเกาหลีใต้ เพื่อยกย่อง "บุคคลกลุ่มหรือสถาบันในเกาหลีและต่างประเทศที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพผ่านงานของพวกเขา"[1] รางวัลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การก่อการกำเริบควังจู เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1980 ซึ่งประชาชนผู้สนับสนุนประชาธิปไตยได้ออกมาต่อต้านรัฐบาลเผด็จการของ ช็อน ดู-ฮวัน[1][2] ตามที่เว็บไซต์ของมูลนิธิอธิบายว่า "ควังจูได้รับความช่วยเหลืออันมีค่าจากผู้อื่นในขณะที่เราพยายามต่อสู้เพื่อตรวจสอบข้อเท็จต่อเบื้องหลังการลุกฮือเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม และมุ่งมั่นพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง เพื่อเป็นการตอบแทน เราจึงต้องการมอบรางวัลแก่ผู้สนับสนุนการสร้างสันติภาพและประชาธิปไตยของเรา"[1] ใน ค.ศ. 2011 รางวันนี้จะได้รับเงินสด 50,000 ดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย[3]
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2018 มูลนิธิประกาศยกเลิกรางวัลของอองซานซูจี เนื่องจากเธอเพิกเฉยในการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม และการทารุณกรรมสิทธิมนุษยชนต่อชาวโรฮีนจา
รายชื่อผู้ได้รับรางวัล
แก้ปี[1] | ผู้รับรางวัล[1] | ประเทศ[1] |
---|---|---|
2000 | ชานานา กุฌเมา | ติมอร์ตะวันออก |
2001 | Basil Fernando | ศรีลังกา |
2002 | สมาคมญาติประชาชนเกาหลีผู้ถูกคร่าชีวิตเพื่อประชาธิปไตย | เกาหลีใต้ |
2003 | Dandeniya Gamage Jayanthi | ศรีลังกา |
2004 | อองซานซูจี (ยกเลิก) | พม่า |
2005 | วาร์ดะฮ์ ฮาฟิดซ์ | อินโดนีเซีย |
2006 | Malalai Joya | อัฟกานิสถาน |
อังคณา นีละไพจิตร | ไทย | |
2007 | Irom Chanu Sharmila | อินเดีย |
Lenin Raghuvanshi | อินเดีย | |
2008 | Muneer A. Malik | ปากีสถาน |
2009 | Min Ko Naing | พม่า |
2010 | Sushil Pyakurel | เนปาล |
2011 | Binayak Sen | อินเดีย |
2012 | มุน จ็อง-ฮย็อน | เกาหลีใต้ |
2013 | H.I.J.O.S | อาร์เจนตินา |
2014 | Adilur Rahman Khan | บังกลาเทศ |
Mothers of Khavaran | อิหร่าน | |
2015 | ลาตีฟะฮ์ อานุม ซีเรการ์ | อินโดนีเซีย |
2016 | เหงียน ดัน เกว | เวียดนาม |
Bersih | มาเลเซีย | |
2017 | จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา | ไทย |
2018 | Fr. Nandana Manatunga | ศรีลังกา |
2019 | Joanna Cariño | ฟิลิปปินส์ |
2021 | อานนท์ นำภา[4] | ไทย |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Gwangju Prize for Human Rights". May 18 Memorial Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
- ↑ Becky Branford (18 May 2005). "Lingering legacy of Korean massacre". BBC News. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
- ↑ "Binayak Sen awarded human rights prize". IANS. 22 April 2011. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
- ↑ ‘อานนท์ นำภา’ คว้ารางวัล ‘กวางจูสิทธิมนุษยชน 2021’ จากประเทศเกาหลีใต้