อังคณา นีละไพจิตร

อังคณา นีละไพจิตร (สกุลเดิม: วงศ์ราเชนทร์; 23 มีนาคม พ.ศ. 2499) อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเเละประธานกรรมการในคณะอนุกรรมการด้านสิทธิสตรีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[1]รองประธานในคณะอนุกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นักเคลื่อนไหวสตรี ภรรยาของนายสมชาย นีละไพจิตร[2] ปัจจุบันเป็นประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ติดตามความคืบหน้าของคดีการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งวุฒิสภา กลุ่มประชาสังคม

อังคณา นีละไพจิตร
สมาชิกวุฒิสภา กลุ่มประชาสังคม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม พ.ศ. 2550 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อังคณา วงศ์ราเชนทร์

23 มีนาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
เชื้อชาติไทย
ศาสนาอิสลาม
คู่สมรสสมชาย นีละไพจิตร
(สาบสูญ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547)
เป็นที่รู้จักจากนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน
รางวัลรางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชน (พ.ศ. 2549)
รางวัลแมกไซไซ (พ.ศ. 2562)

ประวัติ

แก้

อังคณาเกิดที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พบกับสมชาย นีละไพจิตร ขณะเป็นนายกสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.) และสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 5 คน

การทำงาน

แก้

ในปี พ.ศ. 2567 อังคณาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งวุฒิสภา กลุ่มประชาสังคม และได้รับเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 9 ของกลุ่ม

รางวัล

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "องค์ประกอบคณะอนุกรรมการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-23. สืบค้นเมื่อ 2016-11-28.
  2. "ศาลอาญายกฟ้องจำเลย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-10. สืบค้นเมื่อ 2011-05-03.
  3. อังคณา นีละไพจิตร จาก 'เหยื่อ' สู่นักสู้เพื่อสิทธิ รางวัลแมกไซไซ 2019
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๘๒, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๙, ๗ มกราคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้