รัฐบาลเฉพาะกาลสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (อังกฤษ: Provisional Government of the People's Republic of Bangladesh; เบงกอล: গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ অস্থায়ী সরকার, Gônoprojatontri Bangladesh Asthayi Shorkar) หรือนิยมเรียก รัฐบาลมูชิบนคร เป็นรัฐบาลที่ตั้งขึ้นหลังการประกาศอิสรภาพปากีสถานตะวันออกเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2514 มีตายุดดิน อะห์หมัดเป็นนายกรัฐมนตรี และถือเป็นหัวหน้าสูงสุดในขบวนการปลดปล่อยบังกลาเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี คณะทูตานุทูต สมัชชา กองทัพและราชการวิทยุ

รัฐบาลเฉพาะกาลสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ

গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ অস্থায়ী সরকার
Gônoprojatontri Bangladesh Asthayi Shorkar
2514–2515
ที่ตั้งของรัฐบาลมูชิบนคร
สถานะพลัดถิ่น
เมืองหลวงมูชิบนคร
เมืองหลวงพลัดถิ่นกัลกัตตา
ภาษาทั่วไปภาษาเบงกอล
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
การปกครองสาธารณรัฐเปลี่ยนผ่าน
ประธานาธิบดีบังกลาเทศ 
• 2514-2515
เชค มูจิบูร ระห์มาน
• 2514-2515
ไซเย็ด นัซรุล อิสลาม (พฤตินัย)
นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ 
• 2514-2515
ตายุดดิน อะห์หมัด
ยุคประวัติศาสตร์สงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ
• ก่อตั้ง
17 เมษายน 2514
• สิ้นสุด
12 มกราคม 2515
สกุลเงินรูปีปากีสถาน
ก่อนหน้า
ถัดไป
ปากีสถานตะวันออก
บังกลาเทศ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ บังกลาเทศ

หลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2513 คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองปากีสถานไม่ยอมส่งมอบอำนาจให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติจากการเลือกตั้ง และกองทัพปากีสถานปราบปรามประชาชนปากีสถานตะวันออก บรรดาผู้นำการเมืองจากการเลือกตั้งของปากีสถานตะวันออกจึงประกาศเอกราชและก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราวด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลอินเดีย คณะรัฐมนตรีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 17 เมษายน 2514 ในเมืองมูชิบนคร รัฐบาลมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในโกลกาตา (เมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดีย) ซึ่งเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น รัฐบาลนี้ได้ดึงดูดผู้แปรพักตร์จากราชการพลเรือนและทหารของปากีสถาน ตลอดจนปัญญาชนและบุคคลสำคัญทางวัฒนธรรมจากปากีสถานตะวันออกเป็นอันมาก

รัฐบาลนี้ประสานงานกับรัฐบาลอินเดียในการต่อสู้ด้วยอาวุธต่อกองทัพปากีสถาน และจัดการกับวิกฤตผู้ลี้ภัย นอกจากนี้ยังรณรงค์ในระดับนานาชาติเพื่อหาเสียงสนับสนุนสำหรับเอกราชของบังกลาเทศ

อ้างอิง

แก้
  1. Farooq, AKM (2012). "National Anthem". ใน Sirajul Islam and Ahmed A. Jamal (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2018. สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.