ปากีสถานตะวันออก
ปากีสถานตะวันออก (อังกฤษ: East Pakistan; เบงกอล: পূর্ব পাকিস্তান Purbo Pākistān; อูรดู: مشرقی پاکستان Mašriqī Pākistān ออกเสียง: [məʃrɪqiː pɑːkɪst̪ɑːn]) เป็นดินแดนที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน ซึ่งอยู่ในดินแดนเบงกอล ระหว่าง พ.ศ. 2498 - 2514
ปากีสถานตะวันออก পূর্ব পাকিস্তান (เบงกอล) مشرقی پاکستان (อูรดู) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2498–2514 | |||||||||
คำขวัญ: "Unity, Faith, Discipline" (เอกภาพ, ศรัทธา, วินัย) | |||||||||
![]() | |||||||||
เมืองหลวง | ธากา | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาเบงกอล (ภาษาราชการ) ภาษาพิหาร ภาษาอูรดู ภาษาอังกฤษ | ||||||||
ศาสนา | ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู | ||||||||
การปกครอง | ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (1955–1956) ประชาธิปไตยระบบรัฐสภาภายใต้สาธารณรัฐอิสลาม (1956–1958) กฎอัยการศึก (1958–1962) สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี (1962–1970) กฎอัยการศึก (1970–1971) | ||||||||
ผู้บริหาร | |||||||||
• 2503-2505 | อาซัม ข่าน | ||||||||
• 2505-2512 | อับดุล โมเนม ข่าน | ||||||||
• 2512-2514 | ไซเยด โมฮัมหมัด อะห์ซาน | ||||||||
• 2514 | อามีร อัลดุลลอห์ ข่าน เนียซี | ||||||||
ประธานรัฐมนตรี | |||||||||
• 2498-2499, 2501 | อาบู ฮุสเซน สรรกัร | ||||||||
• 2499-2501 | อะตาอุรระห์มาน ข่าน | ||||||||
ผู้ว่าการ | |||||||||
• 2498-2499 | อามีรุดดิน อะห์เหม็ด | ||||||||
• 2499-2501 | เอ เค ฟัซลุล ฮุก | ||||||||
• 2501-2503 | ซากีร ฮูเซน | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | Legislative Assembly | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามเย็น | ||||||||
• การก่อตั้ง | พ.ศ. 2498 | ||||||||
• การสถาปนาสุดท้าย | 22 พฤศจิกายน 2497 | ||||||||
26 มีนาคม 2514 | |||||||||
3 ธันวาคม 2514 | |||||||||
• ประกาศเอกราช | 16 ธันวาคม 2514 | ||||||||
พื้นที่ | |||||||||
147,570 ตารางกิโลเมตร (56,980 ตารางไมล์) | |||||||||
สกุลเงิน | รูปีปากีสถาน | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ![]() |
ใน พ.ศ. 2490 เบงกอลเป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดีย ซึ่งแบ่งเป็นเบงกอลตะวันตกและเบงกอลตะวันออกตามศาสนา[1] การแบ่งแยกนี้เป็นผลจากความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างฮินดูและมุสลิมในอินเดีย [2] ใน พ.ศ. 2490 ชาวเบงกอลที่เป็นมุสลิมเข้าร่วมกับขบวนการปากีสถาน หลังการแบ่งแยกอินเดียและกลายเป็นจังหวัดเบงกอลตะวันออกของปากีสถาน [3] ระหว่าง พ.ศ. 2490 - 2497 เบงกอลตะวันออกมีการบริหารเป็นเอกเทศโดยพันธมิตรมุสลิมปากีสถาน นำโดยนูรุล อามีน[3] ต่อมาใน พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีเบงกอล มูฮัมหมัด อาลี โบกรา ได้ประกาศยุบจังหวัดเบงกอลตะวันออก และจัดตั้งปากีสถานตะวันออก โดยมีเมืองหลักคือธากา ในช่วงนี้พันธมิตรมุสลิมปากีสถานพ่ายแพ้ให้แก่สันนิบาตอวามี[4][5][6] สันนิบาตอวามีเข้ามาบริหารปากีสถานตะวันออก หลังจาก ฮุเซน ชะฮีด ชุระวรรดี ได้เป็นนายกรัฐมนตรี[7][8] ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2501 - 2514 เป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง[9] การสนับสนุนการปกครองตนเองเติบโตขึ้นเมื่อสันนิบาตอวามี จัดตั้งขบวนการหกประการใน พ.ศ. 2509 [10] และเติบโตเต็มที่เมื่อสันนิบาตอวามีชนะการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2513 ในปากีสถานตะวันออก[11][12]
หลังการเลือกตั้งทั่วไป นายกรัฐมนตรีของปากีสถาน นายพลยะห์ยา ข่าน พยายามเจรจากับทั้งพรรคประชาชนปากีสถาน และสันนิบาตอวามีในการแบ่งปันอำนาจจากรัฐบาลกลางแต่ล้มเหลว สันนิบาตอวามีได้ประกาศเอกราชของปากีสถานตะวันออกเมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2514 และเริ่มต้นสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศจากปากีสถาน โดยอินเดียเข้ามาสนับสนุนสันนิบาตอวามี[13] สงครามสิ้นสุดลงเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ปากีสถานตะวันออกได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการในนามบังกลาเทศ[13]
อ้างอิง แก้
- ↑ Story of Pakistan Press. "Partition of Bengal [1905–1911]". Story of Pakistan (Bengali Partition Part I). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-19. สืบค้นเมื่อ 25 March 2012.
- ↑ Story of Pakistan Press Release. "Partition of Bengal [1905–1911]". Partition of Bengal [1905–1911, Part II]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-30. สืบค้นเมื่อ 25 March 2012.
- ↑ 3.0 3.1 "The June 3rd Plan [1947]". Directorate of the Story of Pakistan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-20. สืบค้นเมื่อ 25 March 2012.
- ↑ Rahman, Syedur (2010). Historical Dictionary of Bangladesh. USA: Rowman and Littlefield Publishing Group. p. 300. ISBN 978-08108-6766-6.
- ↑ U.S. Government (2004-06-01). Pakistan, a country study. USA: U.S. Government. pp. 236pp. ISBN 9781419139949.
- ↑ Ali, Tariq (April 2003). The Clash of Fundamentalisms: Crusades, Jihads and Modernity. United Kingdom: Verso Publishing Co. plc. pp. 181–237, 342pp. ISBN 1-85984-457-X.
- ↑ Sop. "H. S. Suhrawardy Becomes Prime Minister [1956]". Story of Pakistan (1956 times). สืบค้นเมื่อ 25 March 2012.
- ↑ Trived, Rabindranath. "The Legacy of the plight of Hindus in Bangladesh". Original date: Sun, 2007-07-22 01:09 pm. Rabindranath Trived, Asian Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-24. สืบค้นเมื่อ 25 March 2012.
- ↑ Jalil, Amar (7 January 2007). "United front against the Bengalis". Dawn Newspapers, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-21. สืบค้นเมื่อ 25 March 2012.
- ↑ Story of Pakistan. "Awami League's Six-Point Program". Story of Pakistan (Awami League's Six-Point Program). สืบค้นเมื่อ 25 March 2012.
- ↑ Press Release. "General Elections 1970". Pakistan Parliamentary Elections, 1970. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 25 March 2012.
- ↑ Story of Pakistan. "Tragedy and Reconstruction:Separation of East Pakistan (Part III)". Separation of East Pakistan (Part III). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-20. สืบค้นเมื่อ 25 March 2012.
- ↑ 13.0 13.1 Website Release. "Tragedy and Reconstruction (The Separation of East Pakistan [1971] )". The Separation of East Pakistan [1971] (Part IV). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-20. สืบค้นเมื่อ 25 March 2012.