ระบบสุริยะสวีเดน

ระบบสุริยะสวีเดน (อังกฤษ: Sweden Solar System) เป็นแบบจำลองระบบสุริยะถาวรอัตราส่วนจริงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดวงอาทิตย์แทนด้วยอะวีชีอะรีนาในสต็อกโฮล์ม ดาวเคราะห์ชั้นในอยู่ในสต็อกโฮล์ม ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกตั้งอยู่ห่างออกไปทางเหนือในเมืองอื่น ๆ ไปตามทะเลบอลติก ระบบสุริยะสวีเดนริเริ่มโดยนีลส์ เบรนนิง (Nils Brenning) ศาสตราจารย์ประจำราชวิทยาลัยเทคโนโลยี ในสต็อกโฮล์ม และ เกิสตา กาห์ม ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์ม[1][2] แบบจำลองระบบสุริยะนี้ใช้อัตราส่วนขนาด 1:20 ล้าน[3]

ระบบสุริยะสวีเดนตั้งอยู่ในประเทศสวีเดน
สวิฟต์-ทัตเทิล
สวิฟต์-ทัตเทิล
ฮัลเลย์
ฮัลเลย์
โลก, อีรอส, ซัลทิส, ดาวอังคาร, ดวงอาทิตย์, ดาวพุธ, ดาวศุกร์
โลก, อีรอส, ซัลทิส, ดาวอังคาร,
ดวงอาทิตย์, ดาวพุธ, ดาวศุกร์
ระบบสุริยะสวีเดน
ระบบสุริยะสวีเดน
ระบบสุริยะสวีเดน
ระบบสุริยะสวีเดน
ระบบสุริยะสวีเดน
ระบบสุริยะสวีเดน
ดาวพฤหัสบดี
ดาวพฤหัสบดี
ระบบสุริยะสวีเดน
ดาวเสาร์ และ 5025 PL
ดาวเสาร์ และ 5025 PL
ยูเรนัส
ยูเรนัส
เนปจูน
เนปจูน
พลูโต และ ชารอน
พลูโต และ ชารอน
Ixion
Ixion
Eris
Eris
Sedna
Sedna
เทอร์มิเนชั่นช็อก
เทอร์มิเนชั่นช็อก
ระบบสุริยะสวีเดนในแผนที่ประเทศสวีเดน

ระบบสุริยะ แก้

ดวงอาทิตย์แทนด้วยอะวีชีอะรีนา (กลอเบิน) ในสต็อกโฮล์ม, ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 110 m (360 ft) โดยขนาดนี้ตามอัตราส่วนขนาดเป็นขนาดที่รวมโคโรนาของดวงอาทิตย์ด้วย

ดาวเคราะห์ชั้นใน แก้

ดาวเคราะห์แก๊ซใหญ่ แก้

  • ดาวพฤหัสบดี (เส้นผ่านศูนย์กลาง 7.3 m (24 ft)) ตั้งอยู่ภายในโครงแรมคลารีออน ภายในสนามบินสต็อกโฮล์มอาร์ลันดา เทศมณฑลซิกทือนา ห่างไป 40 km (25 mi) จากอะวีชีอะรีนา อยู่ในรูปวงไฟเหนือล็อบบีโรงแรม[5]
  • ดาวเสาร์ (เส้นผ่านศูนย์กลาง 6.1 m (20 ft)) ตั้งอยู่ด้านนอกหอดูดาวเก่า อันแดร์ส เซลซิอุส ในจัตุรัสเซลซิอุส ในใจกลางนครอุปซอลา ห่างไป 73 km (45 mi) จากอะวีชีอะรีนา ตั้งขึ้นในช่วงปีดาราศาสตร์สากล[6] ในรูปพรมภาพดาวเสาร์ โรงเรียนอื่น ๆ ในอุปซอลายังตั้งดวงจันทร์ของดาวเสาร์ด้วย โดย เอ็นซีลาดัส (เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ซm หรือ 0.98 in) ที่โรงเรียนควาร์นเกอร์เดส (Kvarngärdesskolan) เป็นชิ้นแรกที่สร้างขึ้น[7]
  • ยูเรนัส (เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.6 m (8 ft 6 in)) ชิ้นเดิมถูกทำลายไป ส่วนชิ้นใหม่ปัจจุบันตั้งอยู่หลังสตอรา มากาซีเนต (Stora magasinet) ในเลิฟสตาบรูค สร้างเสร็จปี 2012 เป็นแบบจำลองตั้งอยู่นอกอาคารทำมาจากเส้นเหล็กกล้าสีน้ำเงิน เส้นสีแดงแทนแกนหมุนของดาวเคราะห์[8]
  • เนปจูน (เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เมตร) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเซอเดอร์ฮัมเซิน (Söderhamnsån) ในเซอเดอร์ฮัมน์ เมืองริมหาดซึ่งมีธรรมเนียมการประมงและเดินเรือ อันเกี่ยวข้องกับเนปจูนในฐานะเทพีแห่งทะเล ตั้งอยู่ห่างไป 229 km (142 mi) จากอะวีชีอะรีนา ทำมาจากอะคริลิก และจะเปล่งแสงสีน้ำเงินในตอนกลางคืน

วัตถุพ้นดาวเนปจูน แก้

  • พลูโต (เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ซm (0.39 ft)) และดวงจันทร์ ชารอน ตั้งอยู่ใลก้กับฝั่งทิศใต้ของทะเลสาบเดลเลิน ในเดลส์เบอ ห่างไป 300 km (190 mi) จากอะวีชีอะรีนา ฝังอยู่ในเสาที่รูปคล้ายป้ายหลุมศพ ตามธรรมเนียมที่ว่าพลูโตเป็นเทพแห่งความตาย และทำมาจากเดลเลินไนต์ แร่หายากจากบริเวณทะเลสาบนี้
  • ฮาอูเมอา (เส้นผ่านศูนย์กลาง 8.5 ซ.ม.) และดวงจันทร์ อยู่ในศูนย์วิทยาศาสตร์ 2047 ในบอร์เลิงเงอ ห่างไป 200 กิโลเมตรจากอะวีชีอะรีนา
  • ควาโออาร์ (เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ซ.ม.) ตั้งอยู่ในหอสมุดกีสลาเวด ห่างไป 340 กิโลเมตรจากอะวีชีอะรีนา
  • อิกเซียน (เส้นผ่านศูนย์กลาง 6.5 ซm (0.21 ft)) ดาวเคราะห์แคระ ตั้งอยู่ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เทกนีกุส ในเฮอร์นอซันด์ ห่างไป 360 กิโลเมตรจากอะวีชีอะรีนา
  • มาเกมาเก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 ซ.ม.) ตั้งอยู่ที่หอดูดาวสล็อตสค็อก (Slottsskogsobservatoriet) ในกอเทนเบิร์ก ห่างไป 400 กิโลเมตรจากอะวีชีอะรีนา
  • อัวมูอามูอา (เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 ม.ม.) ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเพลินนีนเยอ (Plönninge) ในฮัลลันด์ ห่างไป 440 กิโเมตรจากอะวีชีอะรีนา
  • กองกอง (เส้นผ่านศูนย์กลาง 7.5 ซ.ม.) ตั้งอยู่ใกล้กับหอดูดาวตีโชบราเฮ (Tycho Brahe Observatory) ในอ็อกซีย์ มัลเมอ ห่างไป 500 กิโลเมตรจากอะวีชีอะรีนา
  • อีริส (เส้นผ่านศูนย์กลาง 13 ซm (0.43 ft)) ตั้งอยู่ที่ Umestans Företagspark ในอูเมอัว ห่างไป 518 km (322 mi) จากอะวีชีอะรีนา ผลงานโดยเทเรซา แบร์ย ทำมาจากทอง
  • เซดนา (เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ซm (0.33 ft)) ดาวเคราะห์แคระ ตั้งอยู่ในศูย์วิทยาศาสตร์เทคนีเคนส์ ฮูส ในลูเลอัว ห่างไป 734 km (456 mi) จากอะวีชีอะรีนา

อ้างอิง แก้

  1. "Sweden Solar System: Bakgrund" (ภาษาสวาฮีลี). Sweden Solar System. สืบค้นเมื่อ 2009-09-15.
  2. "Contact | Sweden Solar System".
  3. "Sweden Solar System: English summary". Sweden Solar System. สืบค้นเมื่อ 2009-09-15.
  4. Danderyds Kommun: Mars
  5. Karlsson, Lars. "Sweden Solar System - Jupiter ver. 2". www.astrofriend.eu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.
  6. Press release, linked 2009-06-08.
  7. List เก็บถาวร 2010-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of moons of Saturn assigned to schools in Uppsala (in Swedish).
  8. "Uranus landade i Lövsta". 14 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-17. สืบค้นเมื่อ 2024-01-07.