รถไฟหุ้มเกราะ (อังกฤษ: armoured train) เป็นรถไฟที่มีเกราะป้องกัน รถไฟหุ้มเกราะมักประกอบด้วยรถรางที่ติดอาวุธด้วยปืนใหญ่กองทหารปืนใหญ่, ปืนกล และปืนใหญ่อัตโนมัติ บางขบวนมีร่องที่ใช้ยิงอาวุธขนาดเล็ก เช่น ปืนสั้น และปืนเล็กยาวจากด้านในของรถไฟ คุณลักษณะนี้แพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถไฟหุ้มเกราะรุ่นก่อน ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อพวกมันมอบวิธีการใหม่ในการเคลื่อนย้ายกำลังยิงจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ทว่า ประเทศส่วนใหญ่ยุติการใช้งาน เนื่องด้วยยานพาหนะบนท้องถนนมีประสิทธิภาพมากกว่าและมีความยืดหยุ่นมากกว่า รวมถึงรางรถไฟก็เสี่ยงเกินไปที่จะมีการก่อวินาศกรรมและการโจมตีจากทางอากาศ อย่างไรก็ตาม สหพันธรัฐรัสเซียได้ใช้รถไฟหุ้มเกราะชั่วคราวในสงครามเชชเนียครั้งที่สองเมื่อ ค.ศ. 1999–2009 และการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียใน ค.ศ. 2022[1][2][3]

รถไฟหุ้มเกราะ 'เฮอร์เบน' ที่ตั้งอยู่ในซวอเลน ประเทศสโลวาเกีย ขบวนนี้ไม่ใช่ตัวจริง แต่เป็นแบบจำลองที่ใช้ในภาพยนตร์ ซึ่งมีเพียงสองคันที่เก็บรักษาไว้จากรถไฟขบวนอื่นเท่านั้น โดยมีการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์การก่อการกำเริบชาติสโลวาเกียที่บันสกาบิสตรีตซา

รถไฟหุ้มเกราะมักเป็นระบบต่อสู้, ติดตั้งอาวุธหนัก เช่น ปืนใหญ่กองทหารปืนใหญ่ ยกเว้น "รถไฟสีขาว" ของสหรัฐ ที่เป็นรถไฟขนส่งอาวุธนิวเคลียร์ของกระทรวงพลังงาน ซึ่งหุ้มเกราะและคุ้มกันโดยกำลังพลที่ติดอาวุธส่วนบุคคล[4]

การออกแบบและอุปกรณ์

แก้
 
ดานูตาซึ่งเป็นรถไฟหุ้มเกราะของโปแลนด์เมื่อ ค.ศ. 1939 จากซ้าย: ตู้ปืนใหญ่กองทหารปืนใหญ่, ตู้ทหารราบจู่โจม, หัวรถจักรหุ้มเกราะ, ตู้ปืนใหญ่กองทหารปืนใหญ่
 
แทงเกตต์เทคาเอสที่ใช้เป็นสายการลาดตระเวนหุ้มเกราะ ซึ่งเป็นความพยายามในการเอาชนะหนึ่งในความไม่ยืดหยุ่นของรถไฟหุ้มเกราะ – ที่ถูกจำกัดให้อยู่บนราง

รถเดินรางติดรถไฟหุ้มเกราะได้รับการออกแบบสำหรับภารกิจหลายอย่าง โดยบทบาททั่วไป ได้แก่:

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :2
  3. "Russia has released video of an armoured train moving through Ukraine". Sky News. 23 June 2022.
  4. "White Train". Amarillo Railroad Museum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-22. สืบค้นเมื่อ 2022-09-07.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Zaloga, Steven J; Bryan, Tony (2008). Armored Trains. Oxford, UK: Osprey Publishing. ISBN 978-1-84603-242-4.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้