ยูกิโนบุ ทัตสึ
ยูกิโนบุ ทัตสึ (ญี่ปุ่น: 龍 幸伸; โรมาจิ: Tatsu Yukinobu) เป็นนักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง มีชื่อจริงว่า "ยูกิโนบุ ริว" และเกิดที่จังหวัดไซตามะ[1]
ยูกิโนบุ ทัตสึ | |
---|---|
ชื่อท้องถิ่น | 龍 幸伸 |
เกิด | ไม่ทราบ จังหวัดไซตามะ, ญี่ปุ่น |
อาชีพ | |
สัญชาติ | ญี่ปุ่น |
แนว | |
ผลงานที่สำคัญ | |
ช่วงปีที่ทำงาน | 2010-ปัจจุบัน |
ทัตสึถนัดเขียนการ์ตูนแนวแฟนตาชีผสมกับความลึกลับเหนือธรรมชาติและคอมเมดี้ ผลงานที่รู้จักกันดีมีชื่อว่า ดันดาดัน และ Renai Saibaihou เขาเปิดตัวในฐานะนักวาดมังงะครั้งแรกในนิตยสารโชเน็งมังงะรายเดือนชื่อ "Gekkan Shonen Magazin" (げっかんしょうねんマガジン) ของสำนักพิมพ์โคดันชะ ผลงานนี้มีชื่อเรื่องว่า Seigi no Rokugou ต่อมาในปี 2010 จึงได้เขียนซีรีส์ดันดาดัน ซึ่งได้ตีพิมพ์ในนิตยสารของสำนักพิมพ์ชูเอชะ แล้วจึงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งจัมป์+ ตั้งแต่ปี 2021 เขาให้สัมภาษณ์ว่าเขาอยากเขียนเรื่องราวที่ไร้สาระแต่เป็นไปในทางที่ดี[2]
ประวัติ
แก้ชีวิตในวัยเด็ก
แก้ตั้งแต่เด็ก ๆ ริวก็มีพรสวรรค์ในการวาดภาพ แม้ว่าเขาจะไม่ได้เรียนศิลปะในโรงเรียนหรือสถาบันสอนพิเศษใด ๆ ก็ตาม แต่เขาก็ได้รับรางวัลจากการวาดภาพเป็นบางครั้ง อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้คิดจะเป็นนักเขียนการ์ตูนในตอนนั้น[3] แม้ว่าเขาจะอ่านการ์ตูนอยู่บ้าง แต่ก็เพียงวาดรูปเป็นงานอดิเรกเหมือนการขีดเขียนทั่วไปเท่านั้น[4] นอกจากนั้นเขายังเล่นเบสบอลในเวลาว่างด้วย[4] ตั้งแต่ประถม เขาอ่านผลงานของเท็ตสึโระ คามิยามะ เรื่อง LAMPO-THE HYPERSONIC BOY- และมักจะวาดภาพเลียนแบบจากผลงานนั้น[3] ซึ่งถือเป็นผลงานที่ริวชื่นชอบและได้รับอิทธิพลมาจากมาก เขายังยกย่องคามิยามะว่าเป็นนักเขียนที่เขาเคารพนับถือ[5] แต่ในช่วงเวลานั้น เขาไม่ได้สนใจเรื่องลึกลับหรือโอคัลท์เท่าไหร่นัก[4]
เมื่อเข้าสู่ช่วงมัธยมต้น ริวเริ่มสนใจการ์ตูนแนวบู๊หรือแอ็กชันที่มีความเร้าใจ โดยผลงานที่ชื่นชอบประกอบด้วย เบอร์เซิร์ก ของเค็นทาโร่ มิอุระ, อาร์ม หัตถ์เทพมืออสูร และ Spriggan ของเรียวจิ มินางาวะ, รวมถึง AKIRA ของคัตสึฮิโระ โอโตโมะ เขาชื่นชอบการอ่านเรื่องราวเหล่านี้และเชื่อมโยงกับตัวละครที่ปรากฏในเรื่อง อีกทั้งยังชื่นชอบนักวาดที่มีฝีมือและแสดงออกทางศิลปะผ่านภาพวาดได้อย่างชัดเจน[4]
ก่อนที่จะเดบิวต์
แก้ในช่วงยุคน้ำแข็งทางเศรษฐกิจที่ทำให้หางานได้ยาก ริวจึงเริ่มทำงานพิเศษในร้านสะดวกซื้อ[3] เมื่ออายุประมาณ 21 ปี[4] เขาได้รับคำแนะนำจากผู้จัดการร้านที่เห็นว่าเขาวาดรูปเก่ง ว่าควรลองเป็นนักเขียนการ์ตูน นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ริวเริ่มวาดการ์ตูน[3] เนื่องจากเขาชื่นชอบกันดั้ม เขาจึงเขียนการ์ตูนที่ใช้กันดั้มเป็นเนื้อหาโดยวาดด้วยปากกาลูกลื่นเป็นจำนวน 100 หน้า และนำไปเสนอให้กับ Gundam Ace ของสำนักพิมพ์KADOKAWA แม้ว่าผลงานจะถูกวิจารณ์อย่างหนัก แต่ด้วยฝีมือการวาดที่โดดเด่น เขาจึงได้รับการชักชวนให้เป็นผู้ช่วย[3][4]
ริวเริ่มทำงานเป็นผู้ช่วยของโยชิโร ทาเคดะ[4] ในสภาพการทำงานที่หนักหน่วง ต้องวาดภาพตั้งแต่เช้าสิบโมงจนถึงเช้าห้าโมงของวันถัดไป และบางครั้งต้องนอนข้างเครื่องถ่ายเอกสาร[3] สำหรับริวที่ไม่เคยเรียนเกี่ยวกับการเขียนการ์ตูนมาก่อน นี่เป็นโอกาสที่ทำให้เขาได้เรียนรู้จากผู้ที่มีฝีมือในการวาดภาพมากมายในทีม โดยได้เรียนรู้ทุกอย่างตั้งแต่การใช้ปากกาหัวจุ่มไปจนถึงการลงสีทึบในงาน[3][4]
เดบิวต์ครั้งแรก
แก้หลังจากทำงานเป็นผู้ช่วยและนำผลงานไปเสนอเป็นเวลาเกือบ 3 ปี[3] ริวได้รับรางวัลชมเชยในรางวัลนักเขียนการ์ตูนหน้าใหม่ของนิตยสารเก็กกังโชเน็ง (ญี่ปุ่น: 月マガ新人漫画賞グランドチャレンジ) ของนิตยสาร เก็กกังโชเน็ง (สำนักพิมพ์โคดันชะ) [6] ในเดือนกันยายน ปี 2010 ขณะอายุ 25 ปี เขาเริ่มต้นการเดบิวต์ด้วยผลงานการ์ตูนเรื่อง Seigi no Roku-gou ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยในโลกไซเบอร์ของเด็กชายที่เป็นฮิคิโคโมริ (ผู้ที่เก็บตัวไม่ออกจากบ้าน) โดยตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับเดียวกันนี้[7][3][8] อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายน ปี 2011[9] ผลงานเรื่องนี้ถูกยกเลิกการตีพิมพ์ก่อนกำหนด[8]
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2013 ริวเริ่มต้นการตีพิมพ์เรื่องใหม่ชื่อ FIRE BALL! ซึ่งเป็นการ์ตูนเกี่ยวกับเบสบอลระดับมัธยมปลายในนิตยสารเล่มเดียวกัน[10] แต่การ์ตูนเรื่องนี้ก็สิ้นสุดลงในปี 2014 เช่นกัน[11] เมื่อความเห็นไม่ตรงกันกับบรรณาธิการประจำในขณะนั้น ริวเริ่มพิจารณานำผลงานไปเสนอให้กับนิตยสารอื่น[8]
เข้าสู่กลุ่มนิตยสาร "จัมป์"
แก้ในเดือนมกราคม ปี 2015 ริวได้พิจารณานำผลงานไปลงในนิตยสารรายเดือน และคิดว่ากลุ่มนิตยสาร "จัมป์" น่าจะเหมาะสม เขาจึงโทรศัพท์ไปที่ Jump SQ. ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ และได้พบกับบรรณาธิการฮายาชิ ชิเฮอิ ผ่านการนำผลงานไปเสนอ[8][12] หลังจากนั้น ริวได้มีผลงานแบบตอนเดียวจบในนิตยสารเล่มนี้ และแม้ว่า ฮายาชิ จะย้ายไปยัง โชเน็งจัมป์+ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของนิตยสาร จัมป์ แต่ริวยังคงมีเป้าหมายที่จะตีพิมพ์ผลงานเป็นซีรีส์ใน นิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ แม้ว่าจะไม่สำเร็จก็ตาม[12][8]
ในช่วงเวลานั้น ริวได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับยูจิ คากุ และทัตสึกิ ฟูจิโมโตะ ซึ่ง ฮายาชิ กล่าวว่าริวมีบุคลิกที่จริงจังและคิดมากอยู่เสมอ แต่การได้ทำงานร่วมกับทั้งสองคนที่เน้นสร้างผลงานตามความสนุกของตนเอง ทำให้ริวได้รับแรงบันดาลใจและพัฒนาความสามารถให้โดดเด่นขึ้น[12] ในขณะเดียวกัน ริวก็ได้เสนอแนวคิดการ์ตูนสำหรับตีพิมพ์เป็นซีรีส์อยู่บ่อยครั้ง แต่ไม่เคยผ่านการคัดเลือกในที่ประชุม[8]
ช่วงที่ไม่สามารถวาดการ์ตูนได้
แก้หลังจากโปรเจกต์ซีรีส์ใน Jump SQ. ไม่ผ่านการพิจารณา รวมถึงโปรเจกต์ "Kyonshi Mono" ที่ยื่นในช่วงฤดูร้อนปี 2019 ก็ถูกปฏิเสธเช่นกัน[8] แม้ว่าโปรเจกต์ "Kyonshi Mono" จะเป็นผลงานที่ริวทุ่มเททุกอย่างที่มีอยู่ แต่ก็ยังไม่ผ่าน ทำให้เขารู้สึกหมดไฟและไม่สามารถวาดการ์ตูนต่อได้[8]
ในช่วงนี้ ฮายาชิ ได้ให้กำลังใจริวโดยบอกให้เขาลองวาดอะไรก็ได้ตามใจชอบสักหนึ่งหน้า ริวจึงเปิดสมุดบันทึกไอเดียและพบข้อความเกี่ยวกับภาพยนตร์ ซาดาโกะ ปะทะ คายาโกะ ดุ..นรกแตก ที่เขาเขียนไว้ว่า "สนุกดีในแบบไร้สาระ" แม้ว่าเขาจะไม่ถนัดกับแนวสยองขวัญ แต่ริวก็นึกถึงความบันเทิงในหนังเรื่องนี้และคิดว่าน่าจะนำไปใช้ในการ์ตูนได้[3][13] ประโยคในหนังที่ว่า "ต้องใช้สิ่งลี้ลับมาต่อสู้กับสิ่งลี้ลับ" เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการสร้างเนื้อเรื่อง ดันดาดัน ที่ตัวละครใช้พลังของ "Turbo Baba" เพื่อต่อกรกับสิ่งเหนือธรรมชาติ[3]
การตีพิมพ์ซีรีส์ ดันดาดัน
แก้ขณะวางแผนสำหรับ ดันดาดัน นั้น เรื่อง มนุษย์เลื่อยยนต์ ของ ฟูจิโมโตะ และ สุขาวดีอเวจี ของ คากุ กำลังเข้าสู่ช่วงสุดท้าย ซึ่งทำให้ริวต้องการช่วยทั้งสองจนจบงานก่อนเริ่มซีรีส์ใหม่ ดังนั้นเขาจึงใช้เวลาในการเตรียมผลงานนี้สำหรับการนำเสนอในที่ประชุม[8] ภายหลังจากที่ไม่สามารถลงตีพิมพ์ใน Jump SQ. และ นิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ได้ ฮายาชิ จึงนำเสนอผลงานให้ โชเน็งจัมป์+ ซึ่งได้รับการตอบรับจากกองบรรณาธิการที่เล็งเห็นถึงศักยภาพของเขา และตัดสินใจที่จะลองเสี่ยงกับซีรีส์นี้ โดยได้รับการอนุมัติให้ตีพิมพ์ในที่ประชุมฤดูใบไม้ผลิปี 2020[8][14][15]
ในเดือนเมษายน 2021 ซีรีส์ ดันดาดัน ซึ่งมีเนื้อหาต่อสู้แนวลึกลับเหนือธรรมชาติได้เริ่มต้นใน โชเน็งจัมป์+ ซีรีส์นี้ได้รับความสนใจอย่างมากในโซเชียลมีเดียทันที โดยทำสถิติเป็นซีรีส์แรกที่มียอดเข้าชมมากกว่า 1 ล้านครั้งภายในหนึ่งสัปดาห์สำหรับตอนแรก ๆ ต่อเนื่องกันถึง 3 ตอน[3] จนกลายเป็นหนึ่งในซีรีส์หลักของแพลตฟอร์มนี้[16]
ดันดาดัน ยังได้รับรางวัลที่สำคัญอีกหลายรางวัล ได้แก่ รางวัลอันดับสองในสาขาเว็บมังงะจาก Next Manga Awards 2021[17] อันดับหนึ่งใน Recommended Comics by Bookstore Staff 2022[18] และอันดับที่เจ็ดใน Manga Taisho 2022[19] อีกด้วย
ซีรีส์นี้มีกำหนดการสร้างเป็นอนิเมะในปี 2024 โดยมีสตูดิโอ ไซเอินซ์ซารุ เป็นผู้ผลิต[20]
สไตล์การสร้างสรรค์
แก้ดันดาดัน ใช้ธีมเรื่องราวแนวลึกลับและสิ่งเร้นลับ นักเขียน ยูสึเกะ โคบายาชิ กล่าวว่างานนี้เต็มไปด้วยภาพที่สื่อถึงความแปลกประหลาดและความเข้มข้นที่วาดออกมาได้อย่างทรงพลัง รวมถึงบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียดเกินไป ซึ่งช่วยให้เนื้อเรื่องมีความยืดหยุ่นและน่าติดตามมากขึ้น[21] ในคอลัมน์วิจารณ์มังงะของ หนังสือพิมพ์ซันเคอิ ยังได้ชื่นชมในความละเอียดของภาพและการใช้ช่องในการเล่าเรื่องที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะฉากต่อสู้ที่วาดออกมาได้คมชัดและสะท้อนถึงความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียน ที่ทำให้ผู้อ่านประหลาดใจกับการเล่าที่เหนือความคาดหมายในแต่ละตอน[22]
นักเขียน นาการะ เรอิจิ กล่าวว่าสไตล์การเล่าเรื่องของริวเน้นการพัฒนาสถานการณ์ในมุมมองที่ดูเหมือนมีระยะห่างเล็กน้อย ซึ่งช่วยเน้นให้ความสมจริงของเหล่าสัตว์ประหลาดที่มีความซับซ้อนของรายละเอียดในการวาดภาพได้ดี[23] นอกจากนี้ นักวาดภาพ ยามานากะ โคเท็ตสึ ยังได้เปรียบเทียบถึงบทสนทนาในเรื่องว่าเหมือนมีวิญญาณซ่อนอยู่ในคำพูด[24] ขณะที่นิตยสาร Mu ระบุว่าผลงานนี้เต็มไปด้วยองค์ประกอบลึกลับมากมาย เช่น ยูเอฟโอ คำสาป พลังจิต และตำนานเมือง ซึ่งรวมไว้ในเรื่องเดียวอย่างครบถ้วน[25]
การสร้างสรรค์มังงะ
แก้ริวได้รับแรงบันดาลใจจากการจัดแสดง Pixar Exhibition ทำให้เขาเริ่มใช้บอร์ดภาพเพื่อสร้างภาพรวมให้ตัวเองและบรรณาธิการเข้าใจถึงภาพลักษณ์ที่เขาต้องการนำเสนอ อย่างไรก็ตาม ในการสร้าง ดันดาดัน เขาละทิ้งบอร์ดภาพและพล็อต แล้วเริ่มร่างเนื้อเรื่องทันทีตามอารมณ์ โดยทำงานร่วมกับบรรณาธิการ ฮายาชิ อย่างใกล้ชิดผ่านการสนทนาที่ผ่อนคลายเพื่อระดมความคิดกัน[26]
ริวให้ความสำคัญกับความสมจริงของตัวละคร โดยตั้งใจให้คำพูดและการกระทำสะท้อนถึงลักษณะของแต่ละตัวละครอย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้เขายังเน้นการจัดโครงสร้างกรอบภาพเพื่อสร้างอารมณ์ที่กระชับ และเพิ่มความเข้มข้นในบางฉาก เขาใช้ G-pen ของ Zebra เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการแสดงความแข็งแกร่งและละเอียดอ่อนในฉากการเปิดหน้า ซึ่งเขาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญแม้ว่ามังงะจะถูกอ่านบนสมาร์ทโฟน[27]
ริวยังมีแนวคิดว่าความหลอนและความขบขันมีความใกล้เคียงกัน จึงได้สร้าง ดันดาดัน โดยต้องการให้มีความขบขันแบบที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวหลอน ๆ เช่นเดียวกับผลงานของ จุนจิ อิโตะ อย่าง โทมิเอะ และมังงะนี้ยังมีทีมผู้ช่วย 5 คนที่ช่วยสนับสนุนการสร้างสรรค์เรื่องนี้[28]
คำวิจารณ์
แก้ทัตสึกิ ฟูจิโมโตะ นักวาดมังงะชื่อดังชื่นชมฝีมือการวาดของริว โดยในปี 2022 เขาระบุว่า ริวเป็นหนึ่งในนักวาดมังงะที่มีฝีมือดีที่สุดในกลุ่มมังงะโชเน็ง ณ เวลานั้น[29] ยูจิ คากุ ก็ยืนยันเช่นกันว่า เขาคือคนที่มีฝีมือการวาดภาพที่สูงที่สุดเท่าที่เขาเคยพบมา[30]
เคสุเกะ อาโอกิ นักเขียนอิสระกล่าวว่า ริวสามารถถ่ายทอดบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความละเอียดและมิติในระยะไกลได้อย่างยอดเยี่ยม สร้างฉากที่มีพลังและน่าตื่นตาตื่นใจ[31] บรรณาธิการของริวคือ ฮายาชิ กล่าวว่าฝีมือการวาดภาพของเขานั้น "น่าทึ่งอย่างเกินขีดจำกัด" และเป็นที่สนใจในหมู่นักวาดด้วยกัน[32]
นักวิจารณ์คนอื่น ๆ ก็ชื่นชมสไตล์การวาดของริว อากาเนะ คามินาริ บรรณาธิการจากนิตยสาร FEEL YOUNG กล่าวว่างานของริวมีความดึงดูดให้ผู้อ่านรู้สึก "หวาดกลัวแต่ก็น่าอ่าน" ในขณะที่ ชูเฮ ชิโยดะ บรรณาธิการจาก Manga ONE ของ โชงากูกัง ระบุว่า ดันดาดัน มีการวาดที่ "เรียบง่ายแต่น่าดึงดูด" และเป็นงานที่ยอดเยี่ยมในการถ่ายทอดเรื่องราวในแบบที่ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้อ่าน[33]
บุคลิก
แก้ริวมีบุคลิกที่มักวิตกกังวลได้ง่าย เขาเล่าว่ามักอยากรู้ปฏิกิริยาต่อผลงานที่เขาวาด จึงมีการเสิร์ชหาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานของตนเองเป็นประจำ[34]
สิ่งที่เขาชื่นชอบรวมถึงหนังสือภาพโดย โทรุ นาริตะ ผู้ซึ่งออกแบบตัวละครใน อุลตร้าแมน โดยริวระบุว่าชื่นชอบ “ความสมจริง” ในดีไซน์ของ นาริตะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวละคร เอเลี่ยน บัลตัน เป็นตัวโปรดของเขา และยอมรับว่า มนุษย์ดาวเซอร์โป ใน ดันดาดัน ได้รับอิทธิพลจากผลงานของ นาริตะ เป็นอย่างมาก[35]
มังงะที่สร้างความประทับใจให้เขาและสามารถอ่านซ้ำได้หลายครั้งคือ เบอร์เซิร์ก ของ เค็นตาโร มิอูระ โดยเขากล่าวว่า "ไม่มีมังงะเรื่องใดที่ทำให้ผมอ่านซ้ำได้มากขนาดนี้"[36]
ผลงาน
แก้- Seigi no Rokugou สำนักพิมพ์โคดันชะ (เดือนตุลาคม 2010 จนถึงฉบับเดือนพฤษภาคม 2011) [37]
- FIRE BALL! สำนักพิมพ์โคดันชะ (นิตยสารโชเน็งรายเดือนฉบับกุมภาพันธ์ 2013 - สิงหาคม 2014) [38]
- Renai Saibaihou สำนักพิมพ์ชูเอชะ (นิตยสารจัมป์สแควร์ ฉบับซัมเมอร์ปี 2015) [39]
- Kamisama no iru machi เรื่องสั้นตอนเดียวจบ สำนักพิมพ์ชูเอชะ (จัมป์สแควร์ ฉบับเดือนฤดูใบไม้ร่วงปี 2015) [40]
- Yamada Kiki Ippatsu เรื่องสั้นตอนเดียวจบ สำนักพิมพ์ชูเอชะ (โชเน็งจัมป์+ เดือนเมษายน 2019) [41]
- ดันดาดัน นิตยสารโชเน็งจัมป์+ ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ (ฉบับเดือนเมษายน 2021 – ปัจจุบัน) [42]
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
แก้นักเขียนการ์ตูน
แก้- ยูจิ คากุ
- ริวเคยเป็นผู้ช่วยของคากุในช่วงที่คากุกำลังตีพิมพ์ Jigokuroku โดยเขาเป็นผู้ช่วยหลักในตอนนั้น[43]
- ทัตสึกิ ฟูจิโมโตะ
- ริวเริ่มเป็นผู้ช่วยให้ฟูจิโมโตะตั้งแต่ช่วงที่ฟูจิโมโตะยังทำการตีพิมพ์มังงะเรื่อง Fire Punch และยังทำงานกับฟูจิโมโตะใน มนุษย์เลื่อยยนต์ โดยเขาทำงานเป็นผู้ช่วยหลักในทั้งสองเรื่อง[44]
บรรณาธิการที่รับผิดชอบ
แก้- ชิเงฮิโระ ฮายาชิ
- บรรณาธิการที่ดูแล ดันดาดัน[45]
อ้างอิง
แก้- ↑ Amazon.com เว็บบาร์โค้ด B01677ADOC
- ↑ บทสัมภาษณ์ผู้เขียน สืบค้นวันที่ 8 เมษายน 2024
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 "毎週100万閲覧超え『ダンダダン』作者「新しい表現作っていきたい」". 日経クロストレンド. 日経BP社. 2022-05-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-27. สืบค้นเมื่อ 2022-06-21.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcrown2015a
- ↑ "期待の秀英による新連載『正義の禄号』スタート!! - 月刊少年マガジン". 講談社コミックプラス. 講談社. 2010-09-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-01. สืบค้นเมื่อ 2022-03-01.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อnatalie20100906
- ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 "超注目の怪作は、ある一言から生まれた。『ダンダダン』龍幸伸×林士平対談インタビュー". アル. アル. 2021-08-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-17. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อnatalie20110406
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อnatalie20130206
- ↑ "龍幸伸". コミックナタリー. ナターシャ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-17. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ 12.0 12.1 12.2 ダ・ヴィンチ 2021, p. 45, 「現場最前線が語るヒットの舞台裏 マンガ編集者座談会」
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อd202110-44
- ↑ "『ダンダダン』『SPY×FAMILY』『ルックバック』――マンガ誌アプリ「少年ジャンプ+」からヒット作が生まれ続ける理由とは【編集者・林士平インタビュー】 | ダ・ヴィンチWeb". web.archive.org. 2022-03-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-17. สืบค้นเมื่อ 2024-11-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "ジャンプ+の看板作品『ダンダダン』1巻発売 作者は『チェンソーマン』元アシスタント". ORICON NEWS. ORICON. 2021-08-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-16. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ "次にくるマンガ大賞2021、「【推しの子】」「怪獣8号」がコミックス&Web部門で1位に". コミックナタリー. ナターシャ. 2021-08-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ "書店員が選んだおすすめコミック2022、第1位は龍幸伸「ダンダダン」". コミックナタリー. ナターシャ. 2022-01-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ "マンガ大賞2022発表!大賞はうめざわしゅん「ダーウィン事変」". コミックナタリー. ナターシャ. 2022-03-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-22. สืบค้นเมื่อ 2022-03-29.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ "龍幸伸「ダンダダン」2024年にTVアニメ化が決定!アニメ制作はサイエンスSARU". コミックナタリー. ナターシャ. 2023-11-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-16. สืบค้นเมื่อ 2024-02-18.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ 小林優介 (2021-04-13). "『ダンダダン』もう読んだ? 『チェンソーマン』元アシの怪作がやばい". KAI-YOU. カイユウ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ 本間英士 (2021-8-21). "幽霊とUFOと恋の始まりと 龍幸伸著「ダンダダン」". 産経ニュース. 株式会社産経デジタル. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-09.
{{cite news}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 成馬零一 (2021-11-15). "『ダンダダン』は令和の『ゲゲゲの鬼太郎』か 時代を象徴する怪物漫画としての凄味". リアルサウンド. blueprint. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ このマンガ 2021, p. 160, 「各界のマンガ好きに聞く このマンガがすごい!オトコ編」
- ↑ "ムー民ユニバース". ムー. ワン・パブリッシング. 2021年7月号: 159. 2021-06-09. ASIN B095LH5H5C.
{{cite journal}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ 小林聖 (2022-02-28). "「全国書店員が選んだおすすめコミック2022」第1位獲得記念 龍幸伸インタビュー「ダンダダン」を描くうえで譲れないキャラの"マジ感"". コミックナタリー. ナターシャ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-28. สืบค้นเมื่อ 2022-04-10.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ "龍幸伸". コミックナタリー. ナターシャ. 2022-11-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-05. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
{{cite web}}
: ข้อความ "ゼブラのGペン" ถูกละเว้น (help); ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ ダ・ヴィンチWeb編集部 (2022-03-17). "『ダンダダン』『SPY×FAMILY』『ルックバック』――マンガ誌アプリ「少年ジャンプ+」からヒット作が生まれ続ける理由とは【編集者・林士平インタビュー】". ダ・ヴィンチWeb. KADOKAWA. สืบค้นเมื่อ 2022-04-10.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ リアルサウンド編集部 (2022-01-16). "『チェンソーマン』作者、藤本タツキの『ダンダダン』評「いま、少年漫画でトップクラスの画力」". リアルサウンド. blueprint.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ แม่แบบ:Twitter status2
- ↑ 青木圭介 (2021-05-07). "『チェンソーマン』作者も絶賛! 宇宙人と幽霊が共存するバトル漫画『ダンダダン』がスゴい". リアルサウンド. blueprint. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ ダ・ヴィンチWeb編集部 (2022-03-17). "『ダンダダン』『SPY×FAMILY』『ルックバック』――マンガ誌アプリ「少年ジャンプ+」からヒット作が生まれ続ける理由とは【編集者・林士平インタビュー】". ダ・ヴィンチWeb. KADOKAWA. สืบค้นเมื่อ 2022-04-10.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ "大注目マンガ『ダンダダン』 担当編集が語る "漫画の持つポテンシャル"". ダ・ヴィンチWeb. KADOKAWA. 2021-10-15.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ ダ・ヴィンチWeb編集部 (2021-08-05). "『ダンダダン』担当編集インタビュー:龍幸伸". ダ・ヴィンチWeb. KADOKAWA.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ 小林聖 (2022-02-28). "全国書店員が選んだおすすめコミック2022 インタビュー". コミックナタリー. ナターシャ. สืบค้นเมื่อ 2022-04-10.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ "あの人気漫画家に聞く!このマンガがすごい!". 宝島社. 2022. p. 114.
{{cite web}}
:|url=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ นิตยสารโชเน็ง
- ↑ นิตสารตอนเริ่มเขียน FIRE BALL
- ↑ จัมป์สแควร์
- ↑ Kamisama no iru machi
- ↑ Yamada Kiki Ippatsu
- ↑ นิตยสารดันดาดัน
- ↑ ゆうき (2021-09-27). "『ダンダダン』読切がジャンプ本誌でセンターカラー". KAI-YOU. カイユウ. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ ゆうき (2021-09-27). "『ダンダダン』読切がジャンプ本誌でセンターカラー". KAI-YOU. カイユウ. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
{{cite web}}
: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help) - ↑ ダ・ヴィンチ 2021, p. 44, 「現場最前線が語るヒットの舞台裏」
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ยูกิโนบุ ทัตสึ (แอค @TatuYukinobu) บน ทวิตเตอร์ทางการ
- ยูกิโนบุ ทัตสึ รายชื่อสารานุกรมของAnime News Network