ยูกิโกะ โอกาดะ

(เปลี่ยนทางจาก ยูกิโกะ โอคาดะ)

ยูกิโกะ โอกาดะ (ญี่ปุ่น: 岡田 有希子โรมาจิOkada Yukiko) หรือชื่อเดิม คาโยะ ซาโต (ญี่ปุ่น: 佐藤佳代โรมาจิSatō Kayo, 22 สิงหาคม พ.ศ. 2510 – 8 เมษายน พ.ศ. 2529) เป็นไอดอลหญิงชาวญี่ปุ่น

ยูกิโกะ โอกาดะ
岡田 有希子
โอกาดะในปี พ.ศ. 2527
โอกาดะในปี พ.ศ. 2527
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดคาโยะ ซาโต
(佐藤佳代)
รู้จักในชื่อยุกโกะ
เกิด22 สิงหาคม พ.ศ. 2510
อิชิโนะมิยะ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต8 เมษายน พ.ศ. 2529 (18 ปี)
ชินจูกุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
อาชีพนักร้อง, นักแสดง, นางแบบ
ช่วงปีพ.ศ. 2526 2529
ค่ายเพลงโพนีแคนยอน
ยูกิโกะ โอกาดะ
ลายมือชื่อ

โอกาดะเป็นศิลปินรุ่นเดียวกันกับมินาโกะ ฮนดะ, โยโกะ มินามิโนะ[1] และ โยโกะ คิกูจิ

ชีวิตในวัยเด็ก แก้

"ยูกิโกะ โอคาดะ" หรือชื่อเกิดคือ "คาโยะ ซาโต" เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ที่เมืองอิชิโนะมิยะ จังหวัดไอจิ ต่อมาครอบครัวของเธอได้ย้ายไปที่เมืองนาโงยะ

ในช่วงชีวิตวัยมัธยมต้นของโอกาดะ ความฝันของเธอคืออยากเป็นนักร้องไอดอลและสมัครเข้าร่วมการออดิชันทุกอย่าง แต่เธอถูกปฏิเสธทุกครั้งจนกระทั่งวันหนึ่งเธอก็ได้เข้าร่วมรายการประกวดร้องเพลงที่มีชื่อว่า "สตาร์ ทังโจ" ทางสถานีโทรทัศน์นิปปงทีวี โดยโอกาดะได้ร้องเพลง "มายบอยเฟรนด์" ของซาวาโกะ คิตาฮาระ และร้องเพลง "สโลว์โมชัน" ของอากินะ นากาโมริ ในรอบสุดท้ายซึ่งเธอได้รับรางวัลขนะเลิศในเดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2526 [2][3]

เข้าสู่วงการบันเทิง แก้

เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2527 โอกาดะได้เปิดตัวผลงานซิงเกิลแรก "เฟิสต์เดท" เพลงนี้เขียนโดย "มาริยะ ทาเกอูจิ" เธอมีชื่อเล่นว่า "ยุกโกะ" (ユッコ) ตั้งโดยแฟนคลับของเธอ ซึ่งเป็นชื่อย่อทั่วไปของชื่อ "ยูกิโกะ" ในภาษาญี่ปุ่น

ในปีนั้น โอกาดะ ได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่แห่งปี และได้รับรางวัล เจแปน เรคคอร์ด อวอร์ด ครั้งที่ 26 สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปี[1] สำหรับซิงเกิลที่ 3 ของเธอ "-ดรีมมิงเกิร์ล- โคอิ, ฮาจิเมมาชิเตะ" ซึ่งเขียนโดย ทาเกอูจิ[4][5]

โอกาดะรับบทนำในละครโทรทัศน์เรื่องแรกของเธอ ในเรื่อง Kinjirareta Mariko ( The Forbidden Mariko ) ในปี 1985 ต่อมาก็ได้ปล่อยซิงเกิลที่ 8 "คูจิบิรุ เน็ตเวิร์ก" ปี 1986 เขียนโดย เซโกะ มัตสึดะ และแต่งโดย รีวอิจิ ซากาโมโตะ ซึ่งซิงเกิลนี้ได้ขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตซิงเกิลรายสัปดาห์ของออริคอน ประจำวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986

การเสียชีวิตและผลกระทบ แก้

 
อาคาร เดอะซัน มิวสิค, ตั้งอยู่ในเขต ชินจุกุ, โตเกียว

วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2529 โอกาดะถูกพบว่ามีบาดแผลที่ข้อมือในห้องอพาร์ตเมนต์ที่เต็มไปด้วยแก๊ส โดยสภาพของเธอนั้นหมอบอยู่ในตู้เสื้อผ้าและร้องไห้ เธอถูกค้นพบโดยทีมกู้ภัยที่เรียกโดยผู้จัดการส่วนตัวของเธอ หลังจากที่ชาวบ้านคนอื่นได้กลิ่นของก๊าซ

ในบทความปี พ.ศ. 2559 จากหนังสือพิมพ์ "อาซาฮีรายสัปดาห์", อดีตกรรมการผู้จัดการซันมิวสิค "โทกิโอะ ฟูกูดะ"[6] ได้เล่าเหตุการณ์นั้นว่า "ฮิเดโยชิ ไอซาวะ" ผู้ก่อตั้งสังกัดซันมิวสิค เรียกให้เขาไปรับตัวโอกาดะจากที่โรงพยาบาล เมื่อเขาพบเธอ เธอก็ร้องไห้เบาๆ จากนั้นเขาก็ถามเธอว่า "เธออยากจะไปไหนเหรอ? ไปบ้านของพ่อแม่ในนาโงยะ, อพาร์ทเมนต์หรือที่ทำงาน?" เธอตอบกลับว่า "ที่ทำงาน" หลังจากนั้น เธอถูกนำตัวส่งไปยังชั้นที่ 6 ของตึก จากนั้นไอซาวะก็เรียกฟูกูดะพาเขาก้าวออกไป[7]

ในขณะที่ผู้จัดการอาคารและทีมงานกำลังคุยกันว่า "เราจะหลีกเลี่ยงเรื่องอื้อฉาวของสื่อมวลชนได้อย่างไร?" โอกาดะก็วิ่งขึ้นไปที่บันไดถอดรองเท้าแล้วกระโดดลงมาจากตึกชั้นที่ 7 ทำให้เสียชีวิตในเวลา 12:15 น.[8][9]

โดยยังไม่ทราบสาเหตุของการฆ่าตัวตายของเธอ ถึงจะมีการคาดเดาว่าเป็นเพราะโอกาดะต้องการมีความสัมพันธ์กับ "โทรุ มิเนกิชิ" ที่เธอกับมิเนกิชิอายุห่างกัน 24 ปี ซึ่งสาเหตุที่ปฏิเสธเธอมาก่อน เนื่องจากโอกาดะได้เขียนในจดหมายว่า "ฉันนึกถึงใครบางคน"[10] เมื่อตอบกลับถึงสาเหตุที่เธอพยายามฆ่าตัวตายที่อพาร์ตเมนต์ของเธอและผู้จัดการของเธอพบบันทึกที่เขียนโดยโอกาดะ ซึ่งอธิบายถึงความปรารถนาที่อยากจะอยู่กับมิเนกิชิ บางส่วนของบันทึกเหล่านี้ลงท้ายด้วย: "ฉันอยากพบเขาอีกครั้ง" และ "หัวใจของฉันไม่มีที่จะไปแล้ว"[11]

แฟนคลับของเธอต่างตกใจและจิตใจแตกสลายกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของเธอ ส่งผลกระทบให้เกิดเหตุการณ์การฆ่าตัวตายเลียนแบบหรือ copycat suiside เป็นจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่น

 
หลุมศพของยูกิโกะ โอกาดะ ในวัดพุทธ โจมันจิ เมืองนาโงยะ, ประเทศญี่ปุ่น

ต่อมาไม่นาน เหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้รับการขนานนามว่า "ยุกโกะ ซินโดรม" (yukko syndrome) โดยมีการคาดว่าเมื่อ 10 วันก่อนหน้านั้นนักแสดงและไอดอลสาวที่มีชื่อว่า "ยาซูโกะ เอนโด" ที่เธอได้กระโดดจากดาดฟ้าเพื่อฆ่าตัวตายด้วยวัยเพียงแค่ 18 ปี[12][13]

ส่วนศพโอกาดะได้ถูกนำไปเผาทำพิธีกรรมทางศาสนา[13] และอัฐิของเธอถูกฝังไว้ในหลุมฝังศพที่วัดพุทธ โจมันจิ, นาโงยะ ประเทศญี่ปุ่น[1]

ผลงานเพลง แก้

ซิงเกิล แก้

  • "First Date" (1984) Glico's Cafe Jelly jingle
  • "Little Princess" (1984)
  • "Dreaming Girl-Koi, Hajimemashite" (1984) Glico's "Special Chocolate" jingle
  • "Futari Dake no Ceremony" (1985) Toshiba's "Let's Chat" jingle
  • "Summer Beach" (1985) Glico's Cafe Jelly jingle
  • "Kanashii Yokan" (1985)
  • "Love Fair" (1985) Glico's Cecil Chocolate jingle
  • "Kuchibiru Network" (1986) Kanebo's lipstick commercial
  • "Hana no Image" (1986) [released posthumously]
  • "Believe in You" (strings version 2002) [released posthumously]

อัลบั้ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "岡田有希子、没後30年 南野陽子が「"ゴミ箱"が私だった」と思い出語る" [Yukiko Okada, 30 years after her death; Yoko Minamino recalls, "Trash can was me"] (ภาษาญี่ปุ่น). Weekly Asahi (ตีพิมพ์ 15 April 2016). 8 April 2016. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
  2. Yukiko Okada | ไอดอลชื่อดังผู้จบชีวิตในวัยเพียง 18 เพราะความรัก ! (ประวัติศาสตร์ Jpop) Youtube สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2022
  3. Childhood Yukiko Okada pantip.com
  4. "伝説のアイドル・岡田有希子のソングブックアルバムが異例のヒット! 在りし日の姿が甦るトレーラー映像も大好評" [The songbook album of the legendary idol Yukiko Okada is an exceptional hit! The trailer video that revives the appearance of the past day is also very popular] (ภาษาญี่ปุ่น). M-ON! MUSIC. 24 October 2019. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
  5. "岡田有希子さん×竹内まりやコンピ盤10・16発売「心から嬉しく思います」" [Yukiko Okada x Mariya Takeuchi compilation album 10/16 released "I'm really happy"] (ภาษาญี่ปุ่น). ORICON MUSIC. 28 October 2019. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
  6. "サンミュージック波乱の50年 引きずった岡田有希子の死「お父さんの一言に救われた」" [50 years of Sun Music upheaval, Yukiko Okada's death, "I was saved by a word from her father"] (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon News. 11 November 2018. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
  7. "「愛情をください」と訴えた岡田有希子 死の直前、シクシク泣いて「事務所へ行きたい」" [Yukiko Okada who complained "Please love me" Just before her death, she cried and "I want to go to the office"] (ภาษาญี่ปุ่น). Weekly Asahi (ตีพิมพ์ 19 August 2016). 12 August 2016. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
  8. "Yukiko Okada"[ลิงก์เสีย]. ACA Music. Retrieved May 23, 2015.
  9. Yosha Research [ลิงก์เสีย]
  10. Okada Yukiko เก็บถาวร กรกฎาคม 22, 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. John Greenless, Paradox ò Japan Epidemic of suicides among young people, The Glasgow Herald – 11. Apr. 1987, trang 37
  12. Japanese Society Since 1945 by Edward R. Beauchamp, Taylor & Francis, 1998, ISBN 0-8153-2732-3, trang 97
  13. 13.0 13.1 William Wetherall, "Japanese youth and the Yukko Syndrome", Far Eastern Economic Review, July 17, 1986, available at The suicide of Okada Yukiko

แหล่งข้อมูลอื่น แก้