ยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกน
ยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกน (อังกฤษ: Battle of Copenhagen) เมื่อกองเรืออังกฤษภายใต้การบัญชาของพลเรือโท เซอร์ ไฮด์ ปาร์เกอร์ และพลเรือโทโฮราชิโอ เนลสัน เข้าต่อสู้กับกองเรืออันมหึมาของเดนมาร์กซึ่งทอดสมออยู่ที่ปากน้ำของกรุงโคเปนเฮเกน ในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1801 กองเรือเดนมาร์กที่ปากน้ำนั้นได้จัดกระบวนเพื่อล้อมท่าเรือโคเปนเฮเกนไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เรือของอังกฤษเข้ามายังท่าเรือได้ ซึ่งเรือส่วนใหญ่ที่ฝ่ายเดนมาร์กใช้นั้นเป็นเรือสภาพเก่าที่ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อล่องในทะเลใหญ่ๆ เดนมาร์กได้ป้องกันกรุงโคเปนเฮเกนด้วยเรือเหล่านี้ตลอดจนด้วยป้อมปืนที่สองฝั่งของปากแม่น้ำ
ยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามประสานมิตรครั้งที่สอง | |||||||
กระบวนเรืออังกฤษกำลังข้ามไปส่วนหน้าเป็นแนวทแยง โดยมีกรุงโคเปนเฮเกนอยู่เบื้องหลังกองเรือเดนมาร์ก | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหราชอาณาจักร | เดนมาร์ก-นอร์เวย์ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เซอร์ ไฮด์ ปาร์เกอร์ ลอร์ดเนลสัน ทอมัส เกรฟส์ |
ออลเฟิร์ท ฟิสเชอร์ ชตีน บิลเลอ | ||||||
กำลัง | |||||||
กองเรือเนลสัน: 12 เรือในกระบวน 5 เรือฟริเกต 7 เรือระเบิด 6 เรือเสากระโดงเดี่ยว |
กองเรือฟิเชอร์: 9 เรือในกระบวน 11 เรือเสากระโดงเดี่ยว กองทหารของบิลเลอ: 17 เรือรบ, 1 ปืนใหญ่ชายฝั่ง, 2,000 ทหารราบ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
1,200 ตายและบาดเจ็บ[1] | 1,600 ตายและบาดเจ็บ[1] |
มูลเหตุ
แก้เดนมาร์ก ถือเปนหนึ่งในประเทศสมาชิกสันนิบาตความเป็นกลางทางอาวุธ (League of Armed Neutrality) ร่วมกับ สวีเดน ปรัสเซีย และรัสเซีย สันนิบาตนี้ได้รับสิทธิการค้าเสรีกับฝรั่งเศส ทำให้อังกฤษมองว่าสันนิบาตนี้เป็นผลประโยชน์มหาศาลของฝรั่งเศส และความแข็งแกร่งของฝรั่งเศสย่อมนำมาซึ่งภัยคุกคามต่ออังกฤษ อังกฤษจึงได้พยายามบ่อนทำลายสันนิบาตการค้าเสรีนี้ โดยการใช้กองเรือของตนเอง ค้นหาและยึดเรือของสันนิบาตที่จะทำการค้าไปยังฝรั่งเศส[2] ยุทธการครั้งนี้ถือเป็นความพยายามครั้งที่สองของอังกฤษเพื่อข่มขู่เดนมาร์ก หลังจากที่อังกฤษได้นำกองเรือของตนฝ่าเข้าไปทอดสมอยังเมืองเออเรซุนด์แล้วในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1800 เพื่อกดดันให้เดนมาร์กยอมลงนามเป็นพันธมิตรกับตนเอง
เหตุการณ์
แก้ฝ่ายอังกฤษแบ่งเรือรบออกเป็นสองกอง คือกองหน้าของพลเรือโทเนลสันนำโดยเรือหลวงเอเลแฟน (HMS Elephant) เป็นเรือธง และกองหลังของพลเรือโทปาร์เกอร์นำโดยเรือหลวงลอนดอน (HMS London) เป็นเรือธง ระหว่างการรบนั้นเอง พลเรือโทปาร์เกอร์ไม่สามารถมองเห็นสถานการณ์รบได้ถนัดเนื่องจากควันปืนใหญ่คละคลุ้งไปหมด ทำให้ไม่รู้ว่าตอนนี้อังกฤษกำลังได้เปรียบหรือกำลังเพลี่ยงพล้ำ แต่ปาร์เกอร์ดันไปเห็นธงสัญญาณบอกว่าไม่สามารถรุดหน้าได้[3] จากเรือรบสามของกองเรือเนลสันได้ ทำให้ปาร์เกอร์คิดว่า เนลสันอาจจะอยากถอนกำลังแต่ติดที่ไม่สามารถทำได้โดยไม่มีคำสั่งจากเขา แต่ด้วยความที่ปาร์เกอร์รู้นิสัยของเนลสัน ในเวลาบ่ายโมงครึ่ง ปาร์เกอร์จึงบอกให้นายธงว่า "ชั้นจะให้สัญญาณตามที่เนลสันต้องการ ถ้าเกิดเขาคิดว่าเขายังสู้ไหว เขาก็คงปล่อยผ่านเอง แต่ถ้าไม่ใช่แบบนั้น เขาจะได้มีข้อแก้ตัวและไม่มีใครตำหนิที่เขาถอนทัพ"[4]
เนลสันสามารถมองเห็นธงสัญญาณถอนทัพของปาร์เกอร์ได้ แต่ก็หันไปบอกกับนายธงของตัวเองว่า "นายก็รู้หนิ ฟอเลย์! ชั้นมีตาแค่ข้างเดียว — ชั้นมีสิทธิที่บางครั้งจะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น" หลังจากนั้น นายพลเรือเนลสันก็ยกกล้องส่องทางไกลขึ้นส่องด้วยตาข้างที่บอด และบอกว่า "ให้ตายสิ ชั้นมองไม่เห็นสัญญาณเลย!" กองเรือแนวหน้าของอังกฤษจึงยังคงสู้ต่อไป มีเพียงเรือหลวงอแมซอน (HMS Amazon) เท่านั้นที่มองไม่เห็นเรือธงของเนลสัน จึงต้องยอมรับคำสั่งถอนกำลังจากเรือปาร์เกอร์ การที่เนลสันเพิกเฉยต่อคำสั่งถอนกำลัง อานุภาพหมู่ปืนใหญ่ของอังกฤษเริ่มเห็นผล การเสียงปืนใหญ่จากกองเรือเดนมาร์กทางทิศใต้เริ่มแผ่วลงจากความเสียหายที่ได้รับ เรือเดนมาร์กจำนวนมากหยุดชะงักการยิงในเวลาบ่ายสอง[5] ทำให้เรืออังกฤษพยายามฝ่าเข้าไปยังท่าเรือ ในไม่ช้า ฝ่ายเดนมาร์กก็ยกธงขาว ตลอดเหตุการณ์นี้ มกุฎราชกุมารเฟรเดริก ผู้สำเร็จราชการแห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ทรงทอดพระเนตรอยู่จากหอบนกำแพงปราสาท[5]
วันต่อมาหลังสิ้นสุดการรบ เนลสันได้ขึ้นฝั่งที่โคเปนเฮเกนและเปิดการเจรจา หลังการเจรจากับมกุฎราชกุมารเฟรเดริกกว่าสองชั่วโมง พลเรือโทเนลสันก็สามารถบรรลุการสงบศึกอย่างไม่มีเงื่อนไขได้ การเจรจาที่เหลือทำผ่านจดหมาย ซึ่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ก็ยอมออกจากสันนิบาตความเป็นกลางทางอาวุธ เนลสันได้รับความดีความชอบที่บรรดาศักดิ์ไวเคานต์ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษ กับเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ยังไม่จบลงเพียงเท่านี้ ความขัดแย้งได้นำไปสู่การโจมตีโคเปนเฮเกนอีกครั้งในปี 1807 เรียกว่ายุทธการที่โคเปนเฮเกน
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 William James (1837). The Naval History of Great Britain. London: Richard Bentley. Retrieved 2012-03-16
- ↑ Pocock, p. 229
- ↑ Clarke and McArthur, p. 607
- ↑ Pocock, p. 236
- ↑ 5.0 5.1 Clarke and McArthur, p. 608