ยุทธการที่กอกามีลา

36°33′36″N 43°26′38″E / 36.56°N 43.444°E / 36.56; 43.444

ยุทธการที่กอกามีลา
ส่วนหนึ่งของ สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

ยุทธการที่กอกามีลาบนพรมผนังเฟลมิช ช่วงต้นศตวรรษที่ 18
วันที่1 ตุลาคม 331 ปีก่อนคริสต์ศักราช
สถานที่
เทลโกเมล (กอกามีลา) ใกล้เออร์บิล อิรักในปัจจุบัน
ผล มาซิดอนชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ครอบครองบาบิโลน ครึ่งหนึ่งของเปอร์เซียและเมโสโปเตเมีย
คู่สงคราม
มาซิดอน
สันนิบาตเฮลเลนิก
จักรวรรดิอะคีเมนิด
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
เฮฟีสเทียน
พาร์มีเนียน
พระเจ้าดาไรอัสที่ 3
เบสซัส
โอรอนทีสที่ 2 
กำลัง
47,000 คน[1]

50,000–100,000[2]
(ประมาณการปัจจุบัน)

250,000–1,000,000 คน (หลักฐานโบราณ)
ความสูญเสีย
ทหารราบ 100 คน
ทหารม้า 1,000 คน
(แอร์เรียน) ;
ทหารราบ 300 คน
(ควินตัส เคอร์เชียส รูฟัส) ;
ทหารราบ 500 คน
(ไดโอโดรัส ซิคุลัส)
40,000 คน
(ควินตัส เคอร์เชียส รูฟัส)
47,000 คน
(เวลแมน)[3]
90,000 คน
(ไดโอโดรัส ซิคุลัส)
ถูกจับ 300,000+ คน
(แอร์เรียน) [4]

ยุทธการที่กอกามีลา (อังกฤษ: Battle of Gaugamela) หรือ ยุทธการที่อาร์เบลา (Battle of Arbela) เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 331 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นการสู้รบระหว่างทัพมาซิดอนร่วมกับสันนิบาตโครินธ์ นำโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชและทัพเปอร์เซีย นำโดยพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ยุทธการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช สนามรบอยู่ใกล้กับเมืองเออร์บิล ประเทศอิรักในปัจจุบัน

เบื้องหลัง แก้

หลังความพ่ายแพ้ที่อิสซัส พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ทรงลี้ภัยไปอยู่ที่บาบิโลน ส่วนพระราชวงศ์ของพระองค์ถูกพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจับตัวไว้ได้ ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้พระองค์สูญเสียพระราชอำนาจในเอเชียน้อยใต้ และความพ่ายแพ้ต่อมาที่กาซาและไทร์ ทำให้พระองค์สูญเสียดินแดนลิแวนต์

พระเจ้าดาไรอัสพยายามเจรจากับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ 3 ครั้ง[5] ครั้งแรกเรียกร้องให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ถอนทัพและปล่อยเชลยศึก แต่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงปฏิเสธ ครั้งที่สองพระเจ้าดาไรอัสเสนอให้มีการอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์กับเจ้าหญิงบาร์ซิน พระธิดาของพระองค์ พร้อมกับยกดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำฮาลีสให้ แต่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ทรงปฏิเสธ[6] ครั้งสุดท้ายพระเจ้าดาไรอัสกล่าวยกย่องพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ปฏิบัติต่อพระราชวงศ์ของพระองค์เป็นอย่างดี และเสนอจะยกดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยูเฟรทีส พร้อมทั้งให้เป็นผู้ปกครองจักรวรรดิอะคีเมนิดร่วมกับพระองค์ รวมถึงทรัพย์สมบัติและบริวารต่าง ๆ แต่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ทรงปฏิเสธอีกครั้ง พระองค์สั่งให้พระเจ้าดาไรอัสยอมแพ้หรือสู้รบกันเพื่อตัดสินว่าใครจะเป็น "เจ้าแห่งเอเชีย"[7]

การสู้รบ แก้

 
การวางกำลังและการบุกในช่วงแรก

พระเจ้าดาไรอัสทรงเลือกที่ราบโล่งเพื่อให้ทัพของพระองค์ได้เปรียบ การประมาณการฝ่ายเปอร์เซียในปัจจุบันอยู่ที่ 52,000[8]-120,000 คน[9] รวมถึงรถศึกติดใบมีดและช้างศึก ในขณะที่ทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มีการประมาณการอยู่ที่ 47,000 คน[1] พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แบ่งทัพออกเป็นสองฝั่ง โดยพระองค์นำทัพฝั่งขวา ส่วนแม่ทัพพาร์มีเนียนนำทัพฝั่งซ้าย ส่วนตรงกลางจัดเป็นรูปขบวนแฟแลงซ์ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์นำทัพฝั่งขวาบุก ทำให้ฝ่ายเปอร์เซียต้องส่งทัพฝั่งซ้ายมาสกัด ส่งผลให้เกิดช่องว่างพอที่จะทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ฝ่าเข้าไปเกือบถึงจุดที่พระเจ้าดาไรอัสประทับอยู่ พระเจ้าดาไรอัสส่งรถศึกติดใบมีดออกมาตอบโต้แต่ไม่ได้ผล การรบมาถึงจุดตัดสินเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สั่งรวมกำลังเจาะเข้าตรงกลางทัพเปอร์เซีย พระเจ้าดาไรอัสตัดสินพระทัยที่จะหนีก่อนทัพมาซิดอนจะบุกมาถึงพระองค์ ด้านพระเจ้าอเล็กซานเดอร์นำทัพกลับไปช่วยทัพของพาร์มีเนียนและขับไล่ทัพเปอร์เซียที่เหลืออยู่ออกไปได้[10]

 
การโจมตีครั้งสำคัญของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์

หลังยุทธการครั้งนี้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงราชาภิเษกขึ้นเป็น "เจ้าแห่งเอเชีย" ด้านพระเจ้าดาไรอัสที่หลบหนีไปตั้งใจจะรวบรวมกำลังเพื่อสู้กับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์อีกครั้ง แต่ถูกเบสซัส แม่ทัพคนหนึ่งของพระองค์ปลงพระชนม์เสียก่อน การสวรรคตของพระองค์นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิอะคีเมนิด[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Green, Peter (2013). Alexander of Macedon, 356–323 B.C.: A Historical Biography. Berkeley and Los Angeles, California: University of California Press. ISBN 978-0-520-95469-4., p.288
  2. Clark, Jessica H.; Turner, Brian (2017). Brill’s Companion to Military Defeat in Ancient Mediterranean Society (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 78. ISBN 9789004355774. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  3. Welman
  4. Arrian 1893.
  5. Diodorus Siculus 1963, footnote 79.
  6. Diodorus Siculus 1963, 17.39.1–2.
  7. Diodorus Siculus 1963, 17.54.1–6.
  8. Delbrück 1990.
  9. Warry (1998) estimates a total size of 91,000, Welman 90,000, Thomas Harbottle 120,000, Engels (1920) and Green (1990) no larger than 100,000.
  10. "Battle of Gaugamela". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "Achaemenid Empire Timeline". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้