ยุงเคิร์ส จู 87 (เยอรมัน: Junkers Ju 87) หรือชื่อเล่น ชตูคา (Stuka) ซึ่งย่อมาจาก ชตวทซ์คัมพฟ์ฟลูคท์ซ็อยค์ (Sturzkampfflugzeug) ที่แปลว่าเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด เป็นเครื่องบินรบในการโจมตีภาคพื้นดินและเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดของเยอรมนี ได้รับการออกแบบโดยแฮร์มัน โพลมัน มันได้ออกบินเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1935 ยู 87 ได้เปิดตัวในการรบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1937 ด้วยกองพันนกแร้งแห่งกองทัพอากาศลุฟท์วัฟเฟอในช่วงสงครามกลางเมืองสเปนและได้ทำหน้าที่เป็นกองกำลังฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง

ยุงเคิร์ส จู 87
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด
ชาติกำเนิด ไรช์เยอรมัน
บริษัทผู้ผลิตยุงเคิร์ส
ผู้ออกแบบ
แฮร์มัน โพลมัน
ผู้ใช้งานหลัก ลุฟท์วัฟเฟอ
จำนวนที่ผลิตราว 6,500 ลำ
ประวัติ
เริ่มใช้งานค.ศ. 1936
เที่ยวบินแรก17 กันยายน ค.ศ. 1935
ปลดประจำการค.ศ. 1945

เครื่องบินนี้เป็นที่จดจำได้ง่ายโดยปีกนกนางนวลกลับหัวและล้อเครื่องบินที่พับไม่ได้ซึ่งติดอยู่ใต้ปีกทั้งสองข้าง บนขอบชั้นนำของขาเกียร์หลักถูกติดตั้งด้วย Jericho-Trompete ("แตรแห่งเยริโค") ไซเรนที่ส่งเสียงดังกึกก้อง กลายเป็นสัญลักษณ์โฆษณาชวนเชื่อของอำนาจน่านฟ้าของเยอรมนีและชัยชนะด้วยบลิทซ์ครีก ปี ค.ศ. 1939–1942 การออกแบบของชตูคาได้รวมถึงจุดเด่นใหม่ ๆ หลายอย่าง รวมทั้งระบบเบรกดำดิ่งแบบดึง-ขึ้นอัตโนมัติภายใต้ปีกทั้งสองข้างเพื่อให้แน่ใจว่า เครื่องบินได้ฟื้นตัวจากการโจมตีแบบดิ่งของมัน แม้ว่านักบินจะหมดสติลงจากแรงจีสูง

การออกปฏิบัติการของชตูคาด้วยความประสบความสำเร็จอย่างล้มหลามในการสนับสนุนทางอากาศระยะใกล้ (close air support) และต่อต้านเรือ (anti-shipping) ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกำลังสำคัญในการโจมตีทางอากาศในการบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ชตูคาได้มีบทบาทสำคัญในการโจมตีแบบสายฟ้าแลบซึ่งทำให้เยอรมนีพิชิตนอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1940 ด้วยความแข็งแกร่ง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากต่อเป้าหมายทางภาคพื้นดิน สตูคานั้นเหมือนกับเครื่องบินทิ้งระเบิดดำดิ่งอื่น ๆ จำนวนมากในสมัยนั้น มีความอ่อนแอต่อเครื่องบินขับไล่ ระหว่างยุทธการที่บริเตน มันได้ขาดความคล่องแคล่ว ความเร็ว และอาวุธสำหรับการป้องกันตัวซึ่งหมายความว่าจะต้องใช้เครื่องบินขับไล่คอยคุ้มกันอย่างหนักเพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังยุทธการที่บริเตน ชตูคาได้ถูกใช้งานในการทัพบอลข่าน, เขตสงครามแอฟริกาและเมดิเตอร์เรเนียน และช่วงแรกของแนวรบด้านตะวันออกซึ่งได้ถูกใช้สำหรับการสนับสนุนทางภาคพื้นดินทั่วไป เช่นเดียวกับที่พิเศษสำหรับเครื่องบินต่อต้านรถถังที่มีประสิทธิภาพและบทบาทสำหรับการต่อต้านการเดินเรือ เมื่อลุฟท์วัฟเฟอได้สูญเสียอำนาจเหนือน่านฟ้า ชตูคาได้กลายเป็นเป้าหมายที่ง่ายสำหรับเครื่องบินรบฝ่ายข้าศึกในทุกแนวรบ มันได้ถูกผลิตจนกระทั่งปี ค.ศ. 1944 จากการขาดแคลนในการทดแทนที่ดีกว่า เมื่อเครื่องบินรุ่นโจมตีภาคพื้นดิน Focke-Wulf Fw 190 ได้ถูกมาแทนที่ชตูคาเป็นส่วนใหญ่ แต่ชตูคายังคงใช้งานจนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม

เครื่องบินยู 48 ประมาณ 6,500 ลำในทุกรุ่นได้ถูกสร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1936 และเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944

พันเอก ฮันส์-อุลริช รูเดิล เป็นเสืออากาศที่ได้ขับชตูคาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดและเป็นนักบินชาวเยอรมันที่ได้รับเหรียญเกียรติยศที่ดีที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สอง

คุณลักษณะ (ยู 87บี-1)

แก้
 
ยู 87 ชตูคา
  • ผู้สร้าง: ยุงเคิร์ส (ประเทศเยอรมนี)
  • ประเภท: เครื่องบินดำทิ้งระเบิด
  • เครื่องยนต์: 1 × Junkers Jumo 211Da
  • กางปีก: 13.805 เมตร
  • ยาว: 11.10 เมตร
  • สูง: 4.01 เมตร
  • พื้นที่ปีก: 31.900 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 2,712 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 4,336 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด: 339.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราไต่: 2.3 เมตร/ วินาที
  • รัศมีทำการรบ: 595.5 กิโลเมตร
  • พิสัยบินไกลสุด: 789 กิโลเมตร
  • อาวุธ: ปืนกลหน้า MG 17 ขนาด 7.92 มม. 2 กระบอก / ปืนกลหลัง MG 15 ขนาด 7.92 มม. 1 กระบอก
    • ลูกระเบิดขนาด 250 กก. 1 ลูก