ยาวีด คาริม (อังกฤษ: Jawed Karim; เกิด 28 ตุลาคม ค.ศ. 1979) เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์และผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ตชาวอเมริกันเชื้อสายบังกลาเทศและเยอรมัน เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งยูทูบและเป็นบุคคลแรกที่อัปโหลดวิดีโอลงในนั้น วิดีโอเปิดตัวนี้มีชื่อว่า "มีแอตเดอะซู" อัปโหลดในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2005 ข้อมูลเมื่อ 16 มีนาคม ค.ศ. 2023 (2023 -03-16) มีผู้เข้าชมมากกว่า 260 ล้านครั้ง[1][2] ในช่วงที่คาริมทำงานที่PayPal ซึ่งเป็นที่ที่เขาพบกับผู้ร่วมก่อตั้งยูทูบอย่างสตีเวน เชนกับแชด เฮอร์ลีย์ เขาได้ออกแบบองค์ประกอบหลักหลายอย่าง รวมถึงระบบต่อต้านการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์

ยาวีด คาริม
คาริมในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008
เกิด (1979-10-28) 28 ตุลาคม ค.ศ. 1979 (44 ปี)
แมร์เซอบวร์ก รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์ ประเทศเยอรมนีตะวันออก
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ (BS)
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (MS)
อาชีพวิศวกรซอฟต์แวร์
มีชื่อเสียงจาก
ข้อมูลยูทูบ
ปีที่มีการเคลื่อนไหว
  • 2005–2007
  • 2010 (วิดีโอ)
ประเภทการศึกษา
จำนวนผู้ติดตาม3.38 ล้าน
จำนวนผู้เข้าชม258.86 ล้าน
ผู้ติดตาม 100,000 คน 2015
ผู้ติดตาม 1,000,000 คน 2020
ยอดผู้ติดตามและผู้เข้าชม ณ วันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 2023
เว็บไซต์www.jawed.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

ชีวิตช่วงต้น แก้

ยาวีด คาริมเกิดในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1979 ที่แมร์เซอบวร์ก ประเทศเยอรมนีตะวันออก จากพ่อชาวบังกลาเทศกับแม่ชาวเยอรมัน[3] Naimul Karim (เบงกอล: নাইমুল করিম) พ่อของเขา เป็นมุสลิมชาวบังกลาเทศที่ทำงานเป็นนักวิจัยที่ 3M ส่วน Christine แม่ของเขา เป็นนักวิทยาศาสตร์ชีวเคมีชาวเยอรมันที่มหาวิทยาลัยมินนิโซตา[4] ยาวีดเป็นลูกคนแรกจากลูกชายสองคน[5] เขากับครอบครัวข้ามชายแดนเยอรมันภายในในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เนื่องจากความเกลียดกลัวต่างชาติ[6] แล้วเติบโตที่น็อยส์ ประเทศเยอรมนีตะวันตก[note 1] แต่เนื่องจากประสบกับความเกลียดกลัวต่างชาติที่นั่งเช่นกัน[6] ยาวีดกับครอบครัวจึงย้ายไปที่เซนต์พอล รัฐมินนิโซตาใน ค.ศ. 1992[7] เขาจบการศึกษาจากเซนทรัลไฮสกูลเซนต์พอลใน ค.ศ. 1997[8][9] และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์[8] ยาวีดออกจากมหาวิทยาลัยก่อนที่จะจบการศึกษาเพื่อเป็นพนักงานก่อนกำหนดที่ PayPal อย่างไรก็ตาม เขายังคงเรียนต่อ[7] โดยได้รับปริญญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์[10] ภายหลังเขาได้รับปริญญาโทสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด[11] นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ยาวีดสามารถพูดภาษาเยอรมันและเบงกอลได้[12]

หมายเหตุ แก้

  1. ข้อมูลหลายแหล่งระบุต่างกันว่าครอบครัวของเขาย้ายจากเยอรมนีตะวันออกไปตะวันตกตอนปีใด The New York Times ระบุเป็นปี 1980[7] Star Weekend Magazine sระบุเป็นช่วงสิ้นสุดฤดุร้อน ค.ศ. 1981[8] Die Welt ระบุเป็นปี 1982[6]

อ้างอิง แก้

  1. Asmelash, Leah (April 23, 2020). "The first ever YouTube video was uploaded 15 years ago today. Here it is". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2020. สืบค้นเมื่อ March 16, 2023.
  2. Karim, Jawed (April 23, 2005). "Me at the zoo" (ภาษาอังกฤษ). YouTube. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
  3. "Big data company Palantir is now officially a public company — and it's one of nearly a dozen major tech firms that can trace its roots to PayPal". Business Insider.
  4. "Jawed Karim, Co-founder of Youtube". Real Leaders (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). April 14, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2021. สืบค้นเมื่อ January 26, 2021.
  5. "Surprise! There's a third YouTube co-founder". USA Today. สืบค้นเมื่อ July 22, 2017.
  6. 6.0 6.1 6.2 Keese, Christoph (October 22, 2006). "Sergey Brin und Jawed Karim – zwei Karierren". Die Welt (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ August 20, 2017. Der andere heißt Jawed Karim und wurde 1979 in Merseburg/DDR geboren. Sein Vater kam aus Bangladesch, seine Mutter aus dem Harz. Die Karims waren als Ausländer verpönt und wanderten deswegen 1982 in den Westen aus. In Neuss schlug ihnen wieder Fremdenhass entgegen; deshalb zogen sie in die USA
  7. 7.0 7.1 7.2 Helft, Miguel (October 12, 2006). "With YouTube, Student Hits Jackpot Again". The New York Times.
  8. 8.0 8.1 8.2 Rahman, Muhit (December 8, 2006). "The Greatest Possibilities: The Jawed Karim Story". Star Weekend Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-29. สืบค้นเมื่อ August 20, 2017.
  9. Christensen, Tesha M. (September 5, 2016). "Year-long events mark Central High School 150th anniversary". Monitor St. Paul. สืบค้นเมื่อ August 20, 2017.
  10. "YouTube co-founder to be commencement speaker at Illinois" (Press release). University of Illinois Urbana-Champaign. March 27, 2007. สืบค้นเมื่อ August 20, 2017.
  11. "Planet Cardinal". Stanford Magazine. January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-14. สืบค้นเมื่อ 2023-05-17.
  12. "::: Star Weekend Magazine :::". archive.thedailystar.net. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้